(11 มีนาคม 2563) ณ ห้องประชุม ชั้น 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี/ ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ โฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยคณบดีวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมสภาคณบดีวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย สมัยที่ 42 ครั้งที่ 3 (1/2563) ในหัวข้อ ประชุมความร่วมมือระหว่างสมาชิกสภาคณบดี เพื่อดำเนินการตามนโยบาย AI ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยกระดับการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศไทยสู่ระดับโลกและการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศ ตามนโยบาย Reinvent Universities.
ดร.อภิชัย โฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์มทางด้านการศึกษาอย่างที่ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็นการปรับแพลตฟอร์มการเรียนการสอน ที่ไม่ใช่มีแค่เฉพาะการเรียนการสอนในหลักสูตร แต่เป็นการเรียนการสอนแบบเฉพาะ และก้าวทันตามเทคโนโลยี
ตามนโยบายของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) สิ่งที่สำคัญในการที่จะ Reinvent Universities หรือการปรับปรุงแบบก้าวกระโดดให้เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงนั้น คือ การพัฒนา Manpower และ Bainpower ให้เป็นผู้ที่มี Skill For The Future เป็นบุคลากรที่พร้อมจะเป็นผู้ขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งในการสร้าง Manpower จำเป็นต้องมี coacher หรือ Trainer ที่มีบริบทและทราบถึงสภาพการเปลี่ยนแปลง จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงฯ กับ IBM ขึ้น โดยที่กระทรวงมีความมุ่งหวังจะ Up-Skill ของ Instructor หรือว่า Trainer ให้สอดรับกับความต้องการในด้าน Skill Set บุคลากร คณาจารย์ ผู้สอน จะต้องเป็นผู้ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่นักศึกษาต่อไปได้
สำหรับกระบวนการเทคโนโลยีที่นำสมัยของ IMB อาทิ Blockchain หรือเทคโนโลยีที่นำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม Smart Technology ซึ่งกระบวนการนี้ไม่ใช่แค่การผลิตบัณฑิต หรือผู้ที่มีความรู้ไปปฏิบัติงานเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาเริ่มต้มจากแม่ปู คือ ในส่วนของผู้สอน คณาจารย์ ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ IBM จึงเป็นองค์กรที่สำคัญที่เป็น partnership กับทั้งองค์กรที่อยู่ในมหาวิทยาลัย ทั้งทางด้านวิศวกรรม หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.