เมื่อวานนี้ (อาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 63) รมว.อว. ร่วมประชุมด่วนกับผู้บริหารกระทรวง อว. เพื่อเตรียมมาตรการรับมือภาวะวิกฤต โรคโควิด-19 โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันถึงมาตรการ 6 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับสุขภาพและสวัสดิภาพของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ และขอให้มหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย แล้วปรับไปสู่การเรียนออนไลน์ทั้งหมด ภายในวันที่ 1 เมษายน 2563
2. ให้บุคลากรในกระทรวง อว. สามารถทำงานจากที่บ้านได้ (Work at Home) โดยพิจารณาให้ไม่มีผลกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชน
3. เตรียมความพร้อมของเครือข่ายโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ (University Hospital Network) ให้บริการประชาชนและผู้ป่วยได้ในภาวะวิกฤต ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเตรียมพร้อมพื้นที่ เช่น โรงยิมหรือหอประชุมในมหาวิทยาลัย ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามหากจำเป็น
4. จัดทำระบบริหารความเสี่ยงด้วยนวัตกรรม พร้อมพัฒนาต่อยอดเป็นระบบปฏิบัติการถาวรในการเชื่อมกับทุกภาคส่วน เพื่อรองรับสถานการณ์ในระยะยาวและเพื่อประโยชน์กับประชาชนในช่วงวิกฤติ เช่น รวมรวบ Applications ที่ใช้รับมือโรคโควิด-19 จากกลุ่ม Startups
5. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เตรียมงบประมาณ 250 ล้านบาท เพื่อทำการวิจัยเร่งด่วน ใน 4 ประเด็น ได้แก่ การศึกษาตัวไวรัส, การศึกษาแนวทางการะบาด, การพัฒนาชุดตรวจที่มีราคาถูกและวินิจฉัยได้แม่นยำ และ การวิจัยอื่นๆ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
6. การสนับสนุนด้านอื่นๆ เช่น การผลิตหน้ากากผ้าแบบซักได้, หุ่นยนต์ช่วยประเมินผู้ป่วย และแนวทางการใช้ข้อมูลแผนที่กลางของประเทศเพื่อสนับสนุนการติดตามผู้ป่วย เป็นต้น
ผมจะออกประกาศเพื่อเป็นระเบียบปฏิบัติอย่างเป็นทางการอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ครับ ผมขอให้ทุกท่านเชื่อมั่นว่า กระทรวง อว. พร้อมดำเนินการเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนในการรับมือวิกฤตระดับโลกอย่างโรคโควิด-19 ครับ
{youtube jXF4IPh4Ns4}
#เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน #covid #covid19 #coronavirus #MHESI #suvitmaesincee
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.