นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหาร นักวิจัย วว. ประชุมร่วมกับ นายเทวัญ หุตะเสวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร และสภาเกษตรกรจังหวัดฯ ในกรอบการดำเนินงาน “โครงการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (InnoAgri) เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรภาคเหนือ (กล้วยไข่)” เพื่อสร้างความยั่งยืนในการปลูกกล้วยไข่ ด้วยการทำให้กล้วยไข่ต้นเตี้ย ขยายขนาดผล และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม สร้างมูลค่าใหม่จากใบกล้วยเป็นอาหารสัตว์ และจากต้นกล้วยเป็นปุ๋ย ตรงตามหลัก BCG ของกระทรวง อว. โดยมีวัตถุประสงค์โครงการฯ เพื่อสร้างชุมชนนวัตกรรมต้นแบบ 3 ชุมชน ได้แก่ 1.ยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่เป็นเกษตรกรไฮเทค (InnoAgri farmer) สามารถนำ วทน. ที่เหมาะสมกับยุคสมัยมาใช้สำหรับลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ 2.ยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (InnoAgri Entrepreneur) ด้วย วทน. สำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตผล และ 3.สนับสนุนการสร้างเกษตรนวัตกรรมยั่งยืน (InnoAgri Sustainability) ด้วยการสร้างชุมชนเกษตรนวัตกรรม (InnoAgri village) สู่ความยั่งยืนของคุณภาพชีวิตเกษตรกร ผู้ประกอบการ และเศรษฐกิจของประเทศต่อไป (วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องประชุม สภาเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร)
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากกล้วยไข่ โดย วว. ได้แก่
1. น้ำกล้วยไข่ 7. โดนัทจากแป้งกล้วยไข่
2. แยมกล้วยไข่ 8. เส้นสปาเก็ตตี้จากแป้งกล้วยไข่
3. ชาเกสรดอกกล้วยไข่ 9. สังขยาจากแป้งกล้วยไข่
4. ชาหัวปลีกล้วยไข่ 10. ซอสพริกจากแป้งกล้วยไข่
5. ข้าวเกรียบจากแป้งกล้วยไข่ 11. น้ำพริกเผาจากปลีกล้วยไข่
6. คุกกี้ธัญพืชจากแป้งกล้วยไข่ 12. น้ำพริกนรกจากปลีกล้วยไข่
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับกล้วยไข่ผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูป โดย วว. ได้แก่
1. บรรจุภัณฑ์กล้วยไข่ผลสด
2. บรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบจากแป้งกล้วยไข่
3. บรรจุภัณฑ์ชาหัวปลีกล้วยไข่
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (กล้วยไข่) โดย วว. ได้แก่ อาหารสัตว์จากใบกล้วยไข่ (เพื่อเลี้ยงแพะ) เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้ประมาณ 30 %
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (กล้วยไข่) โดย วว. ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากลำต้นกล้วยไข่ เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ประมาณ 30-40 %
นอกจากนี้ วว. ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับกล้วยไข่ ดังนี้
1. การใช้เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตกล้วยไข่ : ผ่านการทำแปลง ทดลองสาธิตใน 3 พื้นที่ คือ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง และอำเภอคลองลาน ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรนวัตกรรมที่คัดเลือกไว้ โดยได้ดำเนินงาน ดังนี้ คือ
1.1 การลดความสูงของต้นกล้วยไข่ (กล้วยเตี้ย) จากสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
1.2 การเพิ่มขนาดและน้ำหนักผลกล้วยไข่จากสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
2. การขยายพันธุ์กล้วยไข่
2.1 เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2.2 เทคนิคการชำเหง้า
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.