(3 กุมภาพันธ์ 2566) ณ ศูนย์ประชุมวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกริก - ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ จีน-อาเซียน ครั้งที่ 1 โดยมี ดร.นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก คุณจ้าว เยี่ยนชิง ผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ ดร.วิชิต ลอลือเลิศ ประธานสมาคมครูจีน (ประเทศไทย) และ รศ.สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมให้การต้อนรับ
ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ กล่าวตอนหนึ่งในพิธีเปิดชี้ให้เห็นว่า “ประเทศจีนและไทยมีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันจีนกำลังบุกเบิกเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเชื่อมโยงสู่การลงทุนในภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิดริเริ่มนโยบาย ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักในการเชื่อมโยงจีนเข้ากับประเทศต่างๆ โดยอาเซียนถือเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในแผนการ และประเทศไทยเองถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพมากที่สุดในการลงทุน เนื่องจากมีความพร้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ ที่ตั้งภูมิศาสตร์ เครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเหมาะจะเป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างจีนกับอาเซียน ฉะนั้น ภาษาจีนจึงมีบทบาทอย่างมากสำหรับความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ และการที่จะแลกเปลี่ยนร่วมมือกันได้อย่างราบรื่นจำเป็นต้องอาศัยผู้มีความสามารถทั้งทางด้านภาษาจีนและภาษาไทยเพื่อทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ดังกล่าว
ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาภาษาจีน นานาชาติจีน-อาเซียน จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการได้นําเสนอผลงานวิจัยที่ดีเยี่ยม ด้านการศึกษาภาษาจีนนานาชาติ และนำผลวิจัยที่ได้มาพัฒนา ทำให้สามารถจับทิศด้านวิชาการของการพัฒนาภาษาจีนนานาชาติของประเทศไทย ประเทศจีน และประเทศสมาชิกอาเซียนได้เป็นอย่างดี
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.