เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าเยี่ยมสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มรภ.นครราชสีมา) 1 ใน 8 แห่งของโลก ซึ่งเป็นที่ตั้งของสํานักงาน อุทยานธรณีโคราช หรือ โคราชจีโอพาร์ค 1 ใน 39 แหล่งธรณีวิทยา (Geosite) ของอุทยานธรณีโลกโคราช (Khorat Global Geopark) โดยมี รศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ การวิจัย และนวัตกรรม ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราช และ ผศ.ดร.ณัฏฐินี ทองดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ร่วมให้การต้อนรับ นำชม และหารือแนวทางการพัฒนา
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน เปิดอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2551 มีพันธกิจ คือ การสำรวจ ศึกษาวิจัย ด้านซากบรรพชีวิน และการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ด้วยฐานทรัพยากร และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างองค์ความรู้และจินตนาการด้านการอนุรักษ์และ รักษาทรัพยากรธรณี ฟอสซิล รวมถึงการส่งเสริมการดูแลสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ (climate change) ทำให้มรภ.นครราชสีมา มีความโดดเด่นด้านบรรพชีวินเป็นแห่งเดียวใน 38 มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ทั้งยังเป็นสถาบันที่มีงานวิจัย งานตีพิมพ์ ด้านบรรพชีวิน และความร่วมมือในการขุดค้นศึกษา วิจัยด้านฟอสซิลกับนานาประเทศ อาทิ พิพิธภัณฑ์ ฟูกุอิ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งเป็นแหล่งสะสมรักษาฟอสซิลสำคัญ ให้กับนักวิจัยจากทั่วโลกมาเทียบเคียงตัวอย่าง หลังเยี่ยมชม รองปลัดกระทรวง อว. ได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ควรมีการบูรณาการและการลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวง อว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อขับเคลื่อนการทํางานด้านอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ให้เกิดประโยชน์กับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
2. ให้ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยด้านบรรพชีวิน และอุทยานธรณี
3. พัฒนาท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานภายในพื้นที่ โดยอาศัยฐานองค์ความรู้ด้านบรรพชีวิน และทรัพยากรท้องถิ่น ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก 3 มิติ คือ การอนุรักษ์ ทรัพยากร การศึกษา และการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. สร้างความร่วมมือทางวิชาการเพื่อผลักดันให้จังหวัดนครราชสีมา เป็นมหานครแห่งบรรพชีวิน World Paleontopolis และ
5. ผลักดันการพลิกโฉม มรภ.นครราชสีมา (Univeristy Reinventing) ตามแนวทาง การพัฒนาที่ยั่งยืนของ UNESCO Global Geopark เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาหลักสูตรด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์การผลิตไดโนเสาร์, Dinosaur Toy Geotourism, นวัตกรรมการจัดการพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ด้านบรรพชีวิน และอุทยานธรณี (Geopark), นวัตกรรมอาหารเชิงสร้างสรรค์จากฐานทรัพยากรฟอสซิล สื่อเทคโนโลยีเพื่อการจัดแสดงสำหรับพิพิธภัณฑ์ฟอสซิล เป็นต้น
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.