กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

เจาะลึก AMED Telehealth แพลตฟอร์มหลังบ้าน ‘Home Isolation’ ‘เตียงเสมือน’ แนวรับใหม่ของบุคลากรทางการแพทย์

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
06 ส.ค. 2564

1

          สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา ที่แพร่เชื้อได้เร็วจนจำนวนผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ทำให้บุคลากรการแพทย์ด่านหน้าที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดภาวะงานล้นมือเกินจะต้านทานกับไวรัสมรณะ

         ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ออกมาตรการเรื่องแนวทางการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยระหว่างรอเตียง (Home Isolation : HI) อย่างเป็นทางการ ซึ่งแน่นอนว่าการกำหนดให้คนไข้กลุ่มสีเขียวรักษาตัวที่บ้านนั้น ระบบหลังบ้านในการสื่อสารระหว่าง ‘แพทย์’ กับ ‘คนไข้’ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะใช้เป็นฐานข้อมูลในการรรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ตามอาการ

         ดังนั้นในเวลานี้ แพลตฟอร์มชื่อว่า AMED Telehealth ถือเป็น ‘ปฏิบัติการระบบหลังบ้าน’ ที่สำคัญของ Home Isolation ซึ่งออกแบบโดยนักวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีระบบตรวจสุขภาพทางไกล (AMED Telehealth) มาประยุกต์ใช้ โดยมีการเซททั้งระบบใช้งานที่แรกคือ โรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ (เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน) เพื่อดูแลคนพิการที่เป็นผู้ป่วยโควิด-19 ก่อนจะนำมาต่อยอดกับแอปพลิเคชันไลน์ของแต่ละโรงพยาบาล และเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานที่ต้องแก้ไขปัญหาเรื่องนี้นำไปใช้งานได้

2

         นายวัชรากร หนูทอง นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. กล่าวว่า ทีมวิจัยได้รับการติดต่อขอใช้แพลตฟอร์มดังกล่าว ให้เป็นระบบหลังบ้าน ‘Home Isolation’ ของ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวรับใหม่ของบุคลากรทางการแพทย์ ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการ (กลุ่มสีเขียว) ให้ได้กักตัวอยู่กับบ้านและสังเกตอาการตนเองแยกกับคนในครอบครัว โดยมีทีมแพทย์พยาบาลในระบบ HI ของ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ดูแลผ่านระบบไลน์แอปพลิเคชันอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถติดตามอาการผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวได้อย่างใกล้ชิดได้จนถึงปัจจุบัน     

@ ‘เตียงเสมือน’ แม้อยู่บ้าน แต่ใกล้หมอ

         นายวัชรากร อธิบายว่า AMED Telehealth เป็นแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ที่แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) โดยผู้ที่ใช้แพลตฟอร์มนี้จะเป็นหน่วยที่ให้บริการทางการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลของ รัฐ/เอกชน คลินิก ที่มีแพทย์ พยาบาลหรือสหวิชาชีพ ที่สนใจ ใช้ติดตามอาการ รักษา ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดผ่านระบบ Telemonitoring, Telehealth, Teleconsultation ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

         “จุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มนี้มาจากระบบตรวจสุขภาพทางไกล ซึ่งทีมวิจัยนวัตกรรมและข้อมูลเพื่อสุขภาพ (HII) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. ได้เคยมีการนำไปใช้กับสถานที่กักตัวที่ จ.นราธิวาส ช่วงโรคโควิด-19 ระบาดครั้งแรก ซึ่งขณะนั้นใช้ตู้คอนเทรนเนอร์เป็นห้องปลอดเชื้อและมอนิเตอร์อุณหภูมิร่างกายผู้ป่วย กับค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด วันละ 1-2 ครั้ง โดยผู้ป่วยสามารถแชทกับแพทย์หรือพยาบาลผ่านระบบวิดีโอคอลทางไกล เสมือนอยู่ใกล้ชิดกับแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแล

         จากนั้นได้มีการนำเสนอแพลตฟอร์มให้แพทย์ โรงพยาบาลสนาม จ.เชียงใหม่ ซึ่งที่นั่นแพทย์มีความประสงค์อยากให้เพิ่มระบบ การวินิจฉัยโรค การรักษาทางไกล ทำให้เพิ่มระบบการรักษาทางไกลและสิ่งจำเป็นที่แพทย์ต้องใช้งานในลักษณะคำสั่งแพทย์ เช่น การสั่งเอกซเรย์ การสั่งยา นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอแพลตฟอร์มให้กับคณะผู้บริหารโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน กทม. ได้รับทราบ และที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะการเพิ่มฟังก์ชัน เช่น ให้เจ้าหน้าที่พยาบาลสามารถช่วยลงทะเบียนให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบ IT ได้ เช่น ผู้สูงอายุแนะนำให้มีระบบกรองข้อมูลสัญญาณชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานของแพทย์และพยาบาล และล่าสุดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ติดต่อขอใช้กับระบบ Home Isolation ของโรงพยาบาล” นักวิจัย A-MED ระบุ

@ แอดLINE เพิ่มเพื่อน พร้อม‘กักตัวที่บ้าน’

         หลักเกณฑ์และข้อควรปฏิบัติการกักตัวที่บ้านใครเข้าข่ายบ้างนั้น กรมการแพทย์ ระบุข้อมูลว่า ไม่มีอาการ อายุน้อยกว่า 60 ปี สุขภาพแข็งแรง อยู่คนเดียวหรือมีคนอยู่ร่วมไม่เกิน 1 คน ไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคร่วม เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ที่สำคัญ ต้องยินยอมกักตัวและอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ เป็นต้น โดยหากผู้ที่เข้าเกณฑ์เบื้องต้นและสมัครใจเข้ากักตัวที่บ้าน ให้ทำการติดต่อสายด่วน สปสช. โทร. 1330 ทุกวัน 24 ชั่วโมง เมื่อโรงพยาบาลใกล้บ้านของท่านรับเรื่องจากระบบ 1330 และพร้อมดูแลท่านแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะให้ทำการเพิ่มเพื่อน ผ่าน LINE Official Account (Line OA) ของโรงพยาบาลที่แพลตฟอร์มสร้างขึ้นให้ใช้งาน โดยที่แพลตฟอร์มจะซ่อนอยู่เบื้องหลังของระบบ Line OA ทำให้ผู้ป่วย รู้สึกคุ้นเคยกับการใช้งานแพลตฟอร์มได้ง่ายและรวดเร็ว

3

         ภายหลังจากผู้ป่วยแอดเพิ่มเพื่อนกับไลน์ OA ของโรงพยาบาลแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยยืนยันตัวตนสำหรับเปิดใช้งานครั้งแรกด้วยระบบ One-Time-Password (OTP) ส่งผ่าน SMS มายังโทรศัพท์มือถือที่ทำการลงทะเบียนในนามผู้ป่วย เมื่อทำการยืนยัน OTP สำเร็จ ผู้ป่วยสามารถเข้าใช้งาน โดยใช้รหัสผู้ใช้งานใช้เป็นเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ถือเป็นการเข้าสู่ระบบ Home Isolation อย่างสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ป่วย กับบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลต่อไป

         “แอปพลิเคชันไลน์ ของแต่ละโรงพยาบาลจะเป็นเหมือนหน้ากาก เป็นช่องทางเพื่อเข้าถึงระบบหลังบ้านของ Home Isolation ซึ่งระบบหลังบ้านในที่นี้ คือ แพลตฟอร์มที่ชื่อว่า AMED Telehealth ของทีมวิจัย A-MED สวทช.ที่ได้ออกแบบและพัฒนาระบบหลังบ้านให้สามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็นของผู้ป่วย ให้กับบุคลากรทางการแพทย์นำไปใช้ในการติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 ใช้งานง่ายผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์พีซี ครอบคลุมทั้งระบบปฏิบัติการวินโดว์ แอนดรอยด์ และไอโอเอส

4

         โดยผู้ป่วย มีหน้าที่รายงานสัญญาณชีพจากเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อุณหภูมิร่างกาย ความดัน สื่อสารไลน์แอปพลิเคชันในรูปแบบ วิดีโอคอล แชท รวมถึงการถ่ายภาพรายงานอาการสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดพิมพ์ เพื่อส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้ประเมินและให้คำปรึกษาในการรักษารายวัน หากกรณีผู้ป่วยมีอาการไม่พึงประสงค์ ก็มีฟังก์ชันให้สามารถติ๊กเครื่องหมายรายงานอาการได้ เช่น มีอาการเหนื่อย มีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะและเจ็บคอ โดยระบบทั้งหมดนี้ทีมวิจัย A-MED สวทช. ออกแบบระบบบริหารข้อมูลเพื่อรองรับการทำงานของแพทย์พยาบาลเป็นลักษณะโรงพยาบาลเสมือนให้กับผู้กักตัวอยู่บ้าน เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาลในช่วงวิกฤตการระบาดโรคโควิด-19”

@ ระบบหลังบ้าน ลดภาระบุคลากรด่านหน้า 

         สำหรับแพทย์และพยาบาลที่เข้ามาในระบบหลังบ้านของ Home Isolation จะสามารถเห็นจำนวนเตียง จำนวนผู้ป่วย ว่าอยู่ในระบบมาแล้วกี่วัน มีการรายงานอาการไว้อย่างไรบ้าง และสามารถเปิดการคัดกรองเคสที่น่ากังวลได้ว่าแบ่งเป็นกลุ่มอะไรบ้าง เช่น กลุ่มสีเขียวป่วยโควิดแต่ไม่มีอาการ กลุ่มสีเหลืองสีส้ม คือ เริ่มมีอาการบางอย่างก็อาจจะติดตามอาการใกล้ชิดมากขึ้น แต่ถ้าสีแดงเป็นเคสฉุกเฉินที่ต้องการเตียงรองรับในโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการเสียชีวิต หากกรณีคนไข้เริ่มมีอาการเป็นสีแดงต้องมีการจำหน่ายคนไข้ (ส่งต่อ) มายังโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาใกล้ชิด หรือบางเคสที่อยู่ในกลุ่มสีเขียวและรักษาตัวที่บ้านจนหายดี ก็สามารถจำหน่ายออกจากระบบ HI ได้เช่นกัน

5

         “จุดเด่นของระบบหลังบ้านของ Home Isolation นี้ ทีมวิจัยได้สร้างแดชบอร์ด (Dashboard) ที่เพิ่มออเดอร์สำหรับแพทย์ เพื่อช่วยให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์และพยาบาลอย่างเป็นระบบ ซึ่งยังไม่มีระบบใดทำมาก่อน เช่น แพทย์มีคำสั่งให้พยาบาลแบบวันเดียว (One Day) หรือสั่งการแบบต่อเนื่องทุกวัน (Continuous) โดยหากแพทย์สั่งแบบต่อเนื่อง พยาบาลจะต้องติดตามคนไข้รายนั้นๆ ใกล้ชิด เช่น สั่งให้ยา สั่งเอกซเรย์ สั่งอาหาร สั่งแล็บ สั่งให้คำปรึกษาพิเศษ เป็นต้น ซึ่งเป็นระบบที่แพทย์และพยาบาลใช้งานได้ง่ายผ่านมือถือเพื่อติดตามและสั่งการได้ตลอด 24 ชั่วโมง”

         ทั้งนี้แพลตฟอร์ม AMED Telehealth จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแล และวิเคราะห์อาการคนไข้ในระบบ HI ร่วมกันอย่างใกล้ชิดและแม่นยำบนฐานข้อมูลชุดเดียวกัน ที่สำคัญคือการลดการเดินทางมายังโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการลดภาระให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า

@ เล็งดึง ‘นักสังคมสงเคราะห์’ ดูแลเชิงสังคม

         แน่นอนว่าการกักตัวที่บ้านของผู้ป่วยโควิด-19 นอกจากสภาพแวดล้อมและความเข้าใจของคนในครอบครัวแล้ว เพื่อนบ้านและชุมชนนั้นๆ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องสร้างความเข้าใจ ไม่ให้เกิดการรังเกียจและสร้างปัญหาจนกระทบสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่กักตัวในระบบ HI ด้วย

6

         “ขณะนี้เริ่มมีปัญหาส่งผลกระทบทางสังคม เช่น ความวิตกกังวลในการกักตัวของคนป่วยที่เป็นผู้นำครอบครัว เกิดมีความกังวลว่าเขาไม่สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้ หรือ กรณีคนละแวกชุมชนไม่เข้าใจอาการของโรค เกิดการไม่ยอมรับการกักตัวที่บ้าน ซึ่งทีมวิจัยอาจจะต้องมีการพัฒนาระบบเพิ่มเติม เพื่อดึงนักสังคมสงเคราะห์เข้ามาช่วยสร้างความเข้าใจ และรับทราบความวิตกกังวลของผู้ป่วย โดยมีแนวคำถามจากทีมสหวิชาชีพมาช่วยเหลือ เช่น คำถามว่าผู้ป่วยรู้สึกกดดันเรื่องอะไร ต้องการจะให้ใครเข้ามาช่วยเหลือเรื่องอะไรบ้าง เพื่อทำการส่งข้อมูลให้นักสังคมสงเคราะห์ได้วิเคราะห์และประสานการช่วยเหลือไปยังพื้นที่ ท้องถิ่นหรือระดับจังหวัดต่อไป”

         นักวิจัย A-MED สวทช. บอกด้วยว่า อย่างไรก็ดีอยากฝากว่า หากโรงพยาบาลใดที่อยากทำระบบ HI อย่างแรกคือต้องมีใจและมีความพร้อมที่อยากจะทำเพิ่มเติม เพราะเข้าใจดีว่าทีมแพทย์และพยาบาลมีภาระงานหนักที่ต้องดูแลผู้ติดเชื้อในสถานการณ์นี้ ซึ่งทีมวิจัย A-MED สวทช. พร้อมสนับสนุนระบบอย่างเต็มความสามารถ โดยติดต่อทีมวิจัยเพื่อใช้แพลตฟอร์มได้ที่ อีเมล a-med@nstda.or.th เพื่อเป็นอีกกองหนุนด้านการบริหารจัดการคนป่วยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าผ่านพ้นวิกฤตโรคโควิด-19 ไปด้วยกัน

         แม้ ‘เตียงเสมือน’ ในระบบ Home Isolation เป็นแนวรับใหม่ของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ช่วยบรรเทาสถานการณ์เตียงในโรงพยาบาลเต็ม แต่ระบบหลังบ้าน AMED Telehealth กลับช่วยเติมเต็มระยะห่างของคนไข้กลุ่มสีเขียว ให้รู้สึกอุ่นใจและใกล้หมอในสถานการณ์แบบนี้มากยิ่งขึ้น

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
แปรรูปเพิ่มมูลค่า ‘เปลือกจักจั่นทะเล’ สู่อาหารเลี้ยงปลาช่อนทะเล วศ.อว. ห่วงใยบุคลากร “มอบเงินช่วยเหลือ”ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากโควิด-19
  • วว. /พันธมิตรฝึกอบรมออนไลน์ จั ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วว. /พันธมิตรฝึกอบรมออนไลน์ จัดการขยะชุมชน/ของเหลือทิ้งภาคเกษตร มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตามหลัก...
    11 มิ.ย. 2564
    มว. อบรม เครื่องอัลตร้าซาวด์กา ...
    ข่าวประชุม/อบรม/สัมมนา | ข่าวสารหน่วยงาน
    มว. อบรม เครื่องอัลตร้าซาวด์กายภาพบำบัด และเครื่องอัลตร้าซาวด์วินิจฉัย
    27 ส.ค. 2563
    อพวช. ร่วมกับ สมาคมวิทย์ฯ เปิด ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    อพวช. ร่วมกับ สมาคมวิทย์ฯ เปิดค่ายประกวดโครงงานวิทย์ ASPC 2019
    22 ก.ค. 2562
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยน...
10 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยา ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยายผลการใช้งาน Traffy Fondue แพลตฟอร์มร้องทุกข์ผ่านปลายนิ้วไปทั่วประเทศ ...
10 พ.ค. 2568
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025 ...
ข่าวสารหน่วยงาน
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025" วันแรก ตลาดงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปี อว.ยกทัพผู้ประกอบการทั้งในและต่างประ...
09 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.