กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

แปรรูปเพิ่มมูลค่า ‘เปลือกจักจั่นทะเล’ สู่อาหารเลี้ยงปลาช่อนทะเล

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
06 ส.ค. 2564

1.

          ชุมชนบ้านไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต นับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ “จักจั่นทะเล” สัตว์ทะเลเฉพาะถิ่นที่อยู่คู่กับหาดไม้ขาวมายาวนาน มีลักษณะคล้ายแมลงจักจั่นแต่อาศัยอยู่ในทะเล เป็นสัตว์ที่อยู่กลุ่มเดียวกับกุ้ง ปู ซึ่งชาวบ้านนิยมจับนำไปประกอบอาหาร โดยขายสดหรือนำไปนึ่งสุกและจะแกะส่วนของกระดองหรือเปลือกทิ้ง เนื่องจากเป็นส่วนที่ค่อนข้างแข็งและมีทรายปน ทำให้มีเปลือกจักจั่นเหลือทิ้งจำนวนมาก ขณะเดียวกันในพื้นที่ยังมี “ผักลิ้นห่าน” ผักพื้นเมืองหายาก พบตามชายฝั่ง เป็นพืชอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีรสชาติอร่อย โดยมีจุดเด่นที่ความกรอบและรสชาติขม ทั้งนี้เวลาที่ชาวบ้านเก็บขายจะเหลือเศษผักจากการตัดแต่งเกือบครึ่งเช่นเดียวกัน

2

จักจั่นทะเล

3

ผักลิ้นห่าน

         เพื่อนำทรัพยากรเหลือทิ้งในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า ผศ.กรรนิการ์ กาญจนชาตรี คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้จัดทำโครงการนำวัสดุเหลือใช้จากเมนูอาหารยอดฮิตจักจั่นทะเลสู่การแปรรูปเป็นอาหารเลี้ยงปลาช่อนทะเล ภายใต้การสนับสนุนโปรแกรมการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

4

ผศ.กรรนิการ์ กาญจนชาตรี คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

         ผศ.กรรนิการ์ กล่าวว่า เดิมทีคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีการทำงานเป็นเครือข่ายระหว่างวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลาช่อนทะเลและประมงพื้นบ้านแหลมทราย วิสาหกิจชุมชนจักจั่นทะเล และวิสาหกิจชุมชนผักลิ้นห่านในพื้นที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเห็นถึงปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพยายามเชื่อมโยงทรัพยากรที่มีในชุมชนมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้จุดเริ่มต้นการทำโครงการฯ มาจากทางกลุ่มผู้เลี้ยงปลาช่อนทะเลพบอุปสรรคในเรื่องของต้นทุนอาหารปลาที่มีราคาแพงมาก จึงพยายามหาวิธีช่วยลดค่าอาหารปลาช่อนทะเล และพบว่าบ้านไม้ขาวชุมชนส่-วนหนึ่งประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรรม ในขณะที่ชุมชนบ้านแหลมทรายประกอบอาชีพประมง

5

ปลาช่อนทะเล

6

ปลาช่อนทะเล

         “ปลาช่อนทะเลกินอาหารเม็ดลอยน้ำได้ โดยสูตรอาหารเดิมจะมีส่วนผสมของปลาป่นกับหญ้าเนเปียซึ่งปลาป่นต้นทุนค่อนข้างสูง ส่วนหญ้าเนเปียหายากในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เราเห็นว่าบ้านไม้ขาวมีหยวกกล้วยและแกลบที่ชาวบ้านทิ้ง รวมทั้งยังมีเศษผักลิ้นห่านเหลือจำนวนมาก เพราะปกติเวลาชาวบ้านเก็บผักลิ้นห่านจะตัดส่วนที่ไม่ได้ใช้ทิ้ง คือถ้าเก็บผัก 5 กิโลกรัม จะมีการตัดแต่งผักส่งขายได้เพียง 3 กิโลกรัม และจะเหลือเศษผักมากถึง 2 กิโลกรัม ขณะเดียวกันก็ยังมีเปลือกจักจั่นทะเลที่ถูกทิ้งอย่างสูญเปล่าจำนวนมาก เราจึงมีแนวคิดนำมาทดลองพัฒนาสูตรอาหารปลาช่อนทะเลด้วยการใช้ผักลิ้นห่านบดแทนหญ้าเนเปีย และนำเครื่องในปลามาผสมกับรำที่สีจากแกลบหมักทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อให้เกิดกลิ่นดึงดูดปลาแทนปลาป่น จากนั้นนำมาผสมกับเปลือกจักจั่นทะเลบดแห้ง และส่วนผสมอื่นๆ”

7

อาหารปลาช่อนทะเล

วัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในสูตรอาหารไม่ได้เพียงมีคุณสมบัติที่ช่วยสร้างอาหารเม็ดลอยน้ำที่ลดต้นทุนได้เท่านั้น แต่ทั้งผักลิ้นห่านและเปลือกจักจั่นทะเลล้วนมีคุณค่าทางสารอาหารสูง

         “เศษผักลิ้นห่านพบคุณประโยชน์ทั้ง วิตามินเอ โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 วิตามินบี 3 และวิตามินบี 9 ส่วนเปลือกของจักจั่นทะเลเมื่อส่งไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบว่าเปลือกจักจั่นทะเลมีคุณค่าทางสารอาหารมากกว่าส่วนที่เป็นตัวของจักจั่นที่ใช้รับประทานเสียอีก โดยเฉพาะมีไขมันสูงมาก อีกทั้งยังมีแคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส เหล็ก และสารอาหารอื่นๆ การนำของเหลือใช้ในชุมชนมาบดผสมเป็นอาหารเม็ด ทำให้มีต้นทุนของอาหารปลาเพียง 7 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่สูตรทั่วไปต้นทุน 12 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบันมีการนำอาหารเม็ดจากเปลือกจักจั่นทะเลและผักลิ้นห่านไปใช้เลี้ยงปลาช่อนทะเลที่ชุมชนบ้านแหลมทราย จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งยังใช้เลี้ยงปลาดุกที่ชุมชนไม้ขาวด้วย หากแต่ว่าแม้ปลาช่อนทะเลจะสามารถกินอาหารเม็ดได้ปกติ แต่ก็ยังต้องมีการปรับปรุงพัฒนาสูตรอาหารเพิ่มเติม เพื่อให้ได้อัตราแลกเนื้อของปลาที่เหมาะสมมากขึ้น”

         ความพยายามของ ผศ.กรรนิการ์ กาญจนชาตรี ในการนำทรัพยากรเหลือทิ้งมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาลดต้นทุนการเพาะเลี้ยงปลาให้แก่เกษตรกร แต่ยังช่วยลดปริมาณขยะ และที่สำคัญคือการสร้างโอกาสในการสร้างอาชีพและรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชน ยิ่งเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19

         ผศ.กรรนิการ์ กล่าวว่า ตอนนี้เปลือกจักจั่นทะเลที่ถูกทิ้งอยู่ตามต้นไม้เพื่อรอการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ชาวบ้านก็สามารถนำมาขายได้ โดยเรารับซื้อเปลือกจักจั่นทะเลตากแห้งกิโลกรัมละ 30 บาท ขณะที่หยวกกล้วย แกลบ รวมถึงเศษผักลิ้นห่านที่ถูกทิ้งอย่างไร้ค่าก็นำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการพัฒนาอาหารปลาได้

         ด้าน นายวิโรจน์  ประเสริฐ ตัวแทนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักจั่นทะเล เล่าว่า รู้สึกดีใจที่มีโครงการฯ นี้เพราะทำให้ชาวบ้านมีความรู้ในการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ ช่วยให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้าน และนายสุพรรณ  แพทย์ปฐม ตัวแทนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจหมุนเวียน กล่าวว่า โครงการฯ ช่วยกระจายรายได้ให้กับชุมชน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมที่นอกเหนือจากการทำเกษตรตามวิถีชีวิตเดิม

         ขณะที่ นางสาวชุติมา เพ็ชรรณรงค์ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักลิ้นห่าน เล่าว่า การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างผลกระทบกับคนในพื้นที่อย่างมาก แต่เดิมตนทำงานในโรงแรม พอมีการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยว โรงแรมถูกปิด ขาดรายได้ เมื่อมีโครงการฯ นี้เข้ามา ทำให้เราสนใจเข้าร่วมวิสาหกิจชุมชนเพื่อปลูกผักลิ้นห่าน ซึ่งทำให้มีอาชีพและรายได้สำหรับนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ตอนนี้มีรายได้ 3,000-5,000 บาท อีกทั้งยังช่วยเปลี่ยนวิถีชุมชนจากเดิมที่เคยต่างคนต่างอยู่ก็เกิดเป็นเครือข่าย มีความสามัคคีกันภายในชุมชนมากขึ้น

         อย่างไรก็ดี การนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าทรัพยากรเหลือทิ้งให้นำกลับมาใช้ใหม่ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นับเป็นหนทางที่ช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังนำมาสู่การสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน สอดคล้องกับแผนพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy Model) ที่มุ่งเพิ่มคุณภาพชีวิตคนไทยให้ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง และสามารถใช้ทรัพยากรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
อบรมออนไลน์ การบริหารการสื่อสารสำหรับผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง (3-4 สิงหาคม 2564) เจาะลึก AMED Telehealth แพลตฟอร์มหลังบ้าน ‘Home Isolation’ ‘เตียงเสมือน’ แนวรับใหม่ของบุคลากรทางการแพทย์
  • อว. จัดพิธียกป้ายกระทรวงอย่างเ ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    อว. จัดพิธียกป้ายกระทรวงอย่างเป็นทางการ
    23 ส.ค. 2564
    “ทีเซลส์” ผนึกราชวิทยาลัยรังสี ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    “ทีเซลส์” ผนึกราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมพัฒนางานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้านรังสีวิทยา  ...
    07 เม.ย. 2564
    ผู้บริหาร อว. ร่วมบันทึกเทปถวา ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    ผู้บริหาร อว. ร่วมบันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัช...
    03 พ.ค. 2566
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เดินเกมรุกจัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยน...
10 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยา ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยายผลการใช้งาน Traffy Fondue แพลตฟอร์มร้องทุกข์ผ่านปลายนิ้วไปทั่วประเทศ ...
10 พ.ค. 2568
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025 ...
ข่าวสารหน่วยงาน
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025" วันแรก ตลาดงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปี อว.ยกทัพผู้ประกอบการทั้งในและต่างประ...
09 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.