กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

สอวช. ถกกลุ่มนโยบายรัฐ เอกชน หาคานงัดสำคัญสร้างระบบนิเวศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นในไทย

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
09 ก.ย. 2564

1

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) หรือ Thai SCP Network จัดกิจกรรมสัมมนาผ่านระบบออนไลน์ ภายใต้โครงการบูรณาการและขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน CE Innovation Policy Forum กลุ่มนโยบายและแผน หัวข้อ “เสนอแนะแนวทางในการขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และนโยบายในการสร้างนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน” เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นความต้องการด้านการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และร่วมหาแนวทางในการขับเคลื่อนภาคส่วนของไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และนโยบายในการสร้างนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนหลังจากที่ได้ถกประเด็นสถานภาพปัจจุบันและอุปสรรคการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในการสัมมนาครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อวันที่ 2 และ 16 สิงหาคม 2564 และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 120 ท่านที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวต้อนรับ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้กว่า 50 คน

2

         ดร.กาญจนา กล่าวว่า เวทีนี้ สอวช. ได้ริเริ่มขึ้นมาสำหรับผู้สนใจและเครือข่ายที่จะร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความสนใจเป็นอย่างดี โดยได้จัดเป็นซีรี่ส์ที่มีความต่อเนื่อง เป็นพื้นที่ระดมสมองหารือกันในลักษณะกึ่งทางการจากผู้ที่เข้าร่วมล้วนมีการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีบทบาท สาขา (sector) และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ข้อมูลจากเวทีที่ได้ สอวช. จะรวบรวมไปผลักดันเป็นนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อไป ซึ่งขณะนี้มีช่องทางในการผลักดันหลายช่องทาง เช่น คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว อนุกรรมการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น ที่ผ่านมาภายใต้เวที CE Innovation Policy Forum มีการแบ่งเวทีออกเป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรอาหาร กลุ่มการเงินและตลาดทุน กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กลุ่มการศึกษา และกลุ่มท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งความคิดเห็นที่ได้จากทุกกลุ่ม สอวช. จะรวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำเป็นสมุดปกขาว และหยิบข้อเสนอที่น่าสนใจไปผลักดันในเวทีที่เหมาะสมต่อไป

         สำหรับกลุ่มนโยบายฯ ครั้งนี้มีความสำคัญมากเพราะเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งเริ่มเห็นประเด็นที่ชัดเจนที่จะเป็นจุดคานงัดสำคัญทางนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่จะนำไปสู่การวางกรอบที่เหมาะสมในการสร้างตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงแนวทางที่แต่ละภาคส่วนต้องจัดเตรียมรองรับ การปลดล็อกกลไกที่จะช่วยให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility : EPR) ซึ่งเป็นอีกจุดคานงัดสำคัญที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับปฏิบัติเชิงระบบได้ รวมถึงการเตรียมความพร้อมกลไกด้านกฎหมาย เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งหลายประเทศในอาเซียนเริ่มมีการขยับในการดำเนินการ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และในยุโรปมีมาตรการ EU Green Deal ทำให้มีการขับเคลื่อนเข้มข้นยิ่งขึ้น จึงอยากชวนมองกลับมาที่ประเทศไทยว่าเราจะมีแนวทางการขับเคลื่อนอย่างไรให้เท่าทันต่อสถานการณ์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกระทบการค้าของประเทศต่อไปได้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีการขับเคลื่อนบ้างแล้วโดยภาคเอกชนได้ดำเนินการในลักษณะ EPR ตามความสมัครใจ แต่แท้จริงแล้วต้องมองให้ครบทั้งระบบนิเวศที่ไม่ได้มีแค่ผู้ผลิต แต่มีทั้งส่วนภาครัฐและผู้บริโภคด้วย ต้องดูว่าสำหรับบริบทประเทศไทยแล้วแบบใดเป็นแบบที่เหมาะสมและเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาแบบองค์รวม

         “เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่ต้องมีการปรับโครงสร้าง วิธีคิด ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับระบบ ดูนโยบายที่จะมาสนับสนุนทั้งด้าน Demand Supply อย่างสอดคล้อง และวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นคานงัดสำคัญ สำหรับ สอวช. เอง ถือเป็นหน่วยงานต้นน้ำในกำกับของรัฐ จึงได้อาสามาสร้างแพลตฟอร์มกลางให้ได้พูดคุยเพื่อให้ได้กรอบการทำงาน ดูว่าผู้เล่นสำคัญคือใคร และจะทำให้เกิดการส่งต่อเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร โดย สอวช. จะมีการขึ้นรูปเป็นสมุดปกขาวกรอบการทำงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนเชิงระบบนิเวศ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จ 2 เดือนหลังจากนี้ ซึ่งความเห็นจากทุกฟอรั่มที่จัดขึ้นจะถูกหยิบยกมาเป็นข้อมูลประกอบสมุดปกขาวด้วย นอกจากนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอยู่ระหว่างทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งจะมีการนำข้อเสนอที่เป็นประโยชน์จากเวทีนี้เสนอเข้าไปผนวกรวมกับแผนดังกล่าว โดย สอวช. เองจะร่วมบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเต็มที่ ซึ่งภาครัฐเองมีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างปัจจัยเอื้อเพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ดร.กาญจนา กล่าว

         สำหรับระบบนิเวศเพื่อสร้างให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน สอวช. ได้ศึกษาและทบทวนกรณีศึกษาจากต่างประเทศ พบว่ามีการจัดการขยะที่เป็นระบบเป็นฐานเดิม พอมีการยกระดับทำเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว สำหรับประเทศไทย จากการศึกษา หากเรากำหนดให้มีการแก้ไขจุดหนึ่งอาจจะช่วยแก้ไขได้เพียงปัญหาเดียวและอาจนำไปสู่ปัญหาอย่างอื่นต่อ เราจึงพยายามมองเชิงระบบ โดยมองระบบนิเวศของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านนโยบาย ด้านปัจจัยเอื้อ ด้านผู้ประกอบการและด้านประชาชน โดยมองว่าผู้ประกอบการเป็นผู้เล่นสำคัญในการทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเองก็ต้องสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ เช่น เปลี่ยนจากการผลิตผลิตภัณฑ์มาเป็นการบริการในบางเรื่อง สร้างวงจรผลิตภัณฑ์ใหม่ เนื่องจากต้องมีการออกแบบหมุนเวียน รวมไปถึงเรื่องของ New Feed Stock โดยสร้างผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบรอบสอง (Secondary Material) ให้มากขึ้น เพราะฉะนั้นพวกวัสดุเหลือใช้หรือของเสียต้องสร้างวงจรให้กลับคืนมาเพื่อเป็นวัตถุดิบเข้าระบบต่อไป ในส่วนนี้กลไก EPR เป็นกลไกส่วนใหญ่ที่ต่างประเทศใช้กัน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเอื้อจะต้องมีความสอดรับกับระบบนิเวศที่ออกแบบและการปฏิบัติของผู้ประกอบการ ซึ่งภาคนโยบายมีส่วนสำคัญในส่วนนี้ และในขณะนี้ได้มีการกำหนดเป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับประเทศแล้ว นอกจากภาคนโยบายที่มีส่วนสำคัญแล้ว ต้องมีการสร้างให้เกิดระบบในภาคประชาชนด้วย ซึ่งก็สอดคล้องกับการจัดฟอรั่มในวันนี้ ที่จะทำให้เกิดระบบนิเวศจากมุมมอง ข้อมูลที่ได้รับ เพื่อส่งต่อเข้าไปเป็นหนึ่งในรายละเอียดของนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนต่อไป

3

         เริ่มการเสวนา นายนภดล ศิวะบุตร ประธานคณะทำงานด้านพัฒนากลไกการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้แลกเปลี่ยน 6 มุมมองจากภาคเอกชนเกี่ยวกับข้อเสนอด้านความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต หรือ EPR เพื่อการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ ว่า 1. EPR ควรบริหารโดยภาคเอกชนเป็นหลัก 2. ภาครัฐสนับสนุนนโยบาย มาตรการและบังคับใช้ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม 3. ท้องถิ่น เป็นผู้สนับสนุนระบบรองรับการจัดเก็บและแยกประเภท 4. ประชาชนมีบทบาทในการคัดแยกใช้กฎหมายเข้ามาบังคับ 5. มีมาตรการจูงใจ ระบบ EPR ในช่วงแรก (Voluntary) และ 6. มีมาสเตอร์แพลนกำหนดทิศและลดทอนความไม่แน่นอนของนโยบาย

4

         ด้านนายสุพจน์ ชัยวิไล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยแทฟฟิต้า จำกัด ผู้ประกอบการด้านการผลิตสิ่งทอจากรีไซเคิล PET เล่าถึงการดำเนินงานของบริษัทในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ตอนนี้บริษัทมีการผลิต PPE ค่อนข้างเยอะ ซึ่งปกติทำผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ จากรีไซเคิล PET ด้วย ข้อดีของ PPE ที่บริษัทดำเนินการคือสามารถ Reuse ได้ ซึ่งปกติในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปใช้ PPE ในลักษณะนี้อยู่แล้ว ซึ่งประโยชน์ของการ Reuse คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะใช้งานได้ยาวนานขึ้น โดยสามารถซักได้มากกว่า 100 ครั้ง สามารถเข้าถึงโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณได้ และด้วยสถานการณ์โควิด-19 ขณะนี้ทำให้การผลิต PPE ไปช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานเพื่อให้สามารถผลิตชุด PPE ได้ทันต่อความต้องการอีกด้วย ทั้งนี้ยังมีข้อจำกัดและอยากให้ภาครัฐสนับสนุนจากการนำขวด PET กลับมารีไซเคิลและขายตลาดบนได้ ซึ่งจะทำให้มีการสนับสนุนซาเล้งและการเก็บของเก่ากลับมาเพื่อรีไซเคิลได้จากกลไกราคาที่เพิ่มขึ้น 

         “สำหรับข้อเสนอแนะในด้านการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ รวมถึงด้านการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ CE มองว่าในระยะสั้นคือต้องทำให้เกิดกระแสอย่างในปัจจุบันที่โครงการเก็บขวดช่วยหมอ ที่ทำให้ภาคเอกชนเกิดความร่วมมือภายใต้เป้าหมายเดียวกัน อย่างไรก็ตามในรูปแบบนี้จะไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืนจึงต้องมีการพัฒนาในส่วนระยะยาวคือการปลูกฝังผ่านการจัดหลักสูตรภาคบังคับทั่วประเทศทุกโรงเรียน มีการสร้างแรงจูงใจผ่านการให้ค่าตอบแทนจากการคืนขวด ผลักดันให้เกิดกฎหมายมาบังคับใช้ซึ่งต้องปรับให้เหมาะสมกับประเทศไทย เพิ่มแต้มต่อในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับการรีไซเคิลและอัพไซเคิล ตั้งศูนย์รวมของที่ยังใช้ได้แต่ต้องการทิ้ง ช่วยเหลือในเรื่องมาตรฐานและสิทธิพิเศษต่างๆ ระหว่างประเทศให้สามารถเข้าถึงได้ทุกภาคส่วน เพิ่มโอกาสในการขายและแข่งขันในผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงสนับสนุนให้มีการทำเรื่องการรีไซเคิลและอัพไซเคิลในชุมชนเพื่อลดปัญหาจากการขนส่ง โดยให้สามารถดำเนินการได้ในพื้นที่และสร้างรายได้ให้ชุมชนไปในตัว ตลอดจนผลักดันให้มีการคัดแยกของเหลือใช้จากแห่งหนึ่งไปจับคู่กับอีกแห่งหนึ่งที่มีความต้องการวัสดุเหลือใช้นั้นๆ เป็นต้น” นายสุพจน์ กล่าว

         ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยชำนาญการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจากการศึกษาการจัดการบรรจุภัณฑ์ว่า จากสถานการณ์โลกหลังโควิด-19 พบว่าปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติก ในปี 2564 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากก่อนช่วงโควิด-19 (ปี 2562) ถึง 29% จึงทำให้แนวโน้มขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพิ่มมากขึ้นด้วย อีกทั้งยังมีปัญหาขยะบกตกทะเลทำให้กระทบแหล่งท่องเที่ยว ปัญหาอัตราการรีไซเคิลที่ขยะพลาสติกประมาณ 2 ล้านตันต่อปี มีอัตราการรีไซเคิลเฉลี่ยอยู่ที่ 17-25% โดยขวด PET มีอัตราการรีไซเคิลกว่า 60% ที่น่าเป็นห่วงคือพลาสติกในกลุ่มที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ยากต่อการรีไซเคิล ซึ่งมองว่าแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการขยะคือ แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ต้องอาศัยการเปลี่ยน 3 ส่วนไปพร้อมกันคือ 1. กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย 2. เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ และ 3. มาตรการทางสังคม เช่น การสร้างบรรทัดฐานทางสังคม หรือจิตสำนึก เป็นต้น โดยที่ผ่านมาตนได้มีการศึกษาข้อมูลเฉพาะกลุ่มจากทั้งภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการผลักดันเชิงนโยบาย โดยในระยะสั้น ไม่เกิน 3 ปี มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างให้เกิดการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ผลักดันให้ อปท. พัฒนาระบบเก็บขยะแยกประเภท ผลักดันให้เกิด EPR ภาคสมัครใจ ใช้มาตรการทางการคลังในการเก็บภาษีพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง รวมถึงออกกฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเรื่องนี้คาดว่าอาจใช้เวลาถึง 5 ปี

5

         “ปัญหาขยะวิกฤตเกินกว่าจะแก้ไขโดย อปท. เพียงหน่วยเดียว เศรษฐกิจหมุนเวียนและ EPR จะช่วยให้เกิดการแก้ไขในลักษณะ Value Chain ซึ่งต้องมีการร่วมมือกัน ถึงเวลาที่ภาคเอกชนจะต้องยกระดับการดำเนินการด้าน CSR หรือ PR มาเป็น EPR แบบร่วมแรงร่วมใจ สำหรับผู้บริโภคก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องช่วยแยกขยะอย่างจริงจัง และภาครัฐเองต้องปฏิรูประบบบริหารจัดการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การเกิดระบบนิเวศเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกในประเทศไทย” ดร.สุจิตรา กล่าว

6

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมการประเมินศักยภาพองค์กรเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านแพลตฟอร์ม “NCAP” หรือ National Capability Platform ใบยา ไฟโตฟาร์ม สตาร์ทอัพสัญชาติไทย เผยความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนโควิด-19 พร้อมทดสอบในมนุษย์เฟส 1 สิ้นเดือนกันยายนนี้ ชี้ไทยมีศักยภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เห็นโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตยาในอนาคต
  • วศ.อว. เชิญร่วมกิจกรรม “Dss Ed ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วศ.อว. เชิญร่วมกิจกรรม “Dss Edu-care Station : สถานีสุขภาพ”ภายในงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ 2564
    12 พ.ย. 2564
    จับมือพันธมิตร Kick-off นวัตกร ...
    COVID Research | ข่าวสารหน่วยงาน
    จับมือพันธมิตร Kick-off นวัตกรรมกู้วิกฤต COVID-19 เปิด Application ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเ...
    13 มี.ค. 2563
    ข่าวสารหน่วยงาน
    มีธุรกิจ SMEs หรือ Startup เจ๋งๆ อยู่ในมือ อย่าลุยคนเดียว! เพราะโอกาสการขยายตลาดและธุรกิจให้ไปได้ไกล...
    28 มี.ค. 2565
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025 ...
ข่าวสารหน่วยงาน
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025" วันแรก ตลาดงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปี อว.ยกทัพผู้ประกอบการทั้งในและต่างประ...
09 พ.ค. 2568
สวทช. วช. SCB ผนึกกำลังพัฒนานั ...
ข่าวสารหน่วยงาน
สวทช. วช. SCB ผนึกกำลังพัฒนานักวิทย์รุ่นเยาว์ (YSC) ต่อเนื่อง ส่งเยาวชนไทยแสดงศักยภาพ 3 เวทีวิทยาศา...
08 พ.ค. 2568
สศอ. มว. และบ.อินทรอนิคส์ ร่วม ...
ข่าวสารหน่วยงาน
สศอ. มว. และบ.อินทรอนิคส์ ร่วมแถลงความสำเร็จ “เครื่องวิเคราะห์การทำงานเครื่องช่วยหายใจ รุ่น VA-01” ...
08 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.