กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

ไบโอเทค เปิดบ้าน TBRC คลังจุลินทรีย์ชั้นนำระดับอาเซียน ที่มีมากเกือบ 1 แสนสายพันธุ์ ชี้เป็นต้นน้ำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อตอบโจทย์วิจัย-อุตสาหกรรม หนุน BCG เศรษฐกิจฐานชีวภาพ

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
22 ก.พ. 2567

01 ไบโอเทค เปิดบ้าน TBRC คลังจุลินทรีย์ชั้นนำร

          (22 กุมภาพันธ์ 2567) ณ อาคารไบโอเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) ให้สื่อมวลชนเยี่ยมชมคลังเก็บรักษาจุลินทรีย์และชีววัสดุ ซึ่งมีมากเกือบ 1 แสนสายพันธุ์ ใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาคอาเซียน พร้อมโชว์จุดแข็งของ TBRC ในด้านการรับฝากและให้บริการจุลินทรีย์และชีววัสดุ รวมถึงงานบริการเทคนิคที่เกี่ยวข้องได้แก่ การคัดแยกจุลินทรีย์ การจำแนกชนิดจุลินทรีย์ การวิเคราะห์ประชากรจุลินทรีย์ การเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ รวมถึงการอบรบด้านการเก็บรักษาและจัดการคลังจุลินทรีย์ให้กับผู้สนใจ ทำให้ประเทศเกิดความเข้มแข็งในการนำทรัพยากรจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านวิจัยและด้านอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านอาหาร สุขภาพ เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการนำเข้าจุลินทรีย์จากต่างประเทศ สร้างศักยภาพผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งมีส่วนอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย โดยปัจจุบัน TBRC เก็บรักษาจุลินทรีย์ไว้มากกว่า 4,300 สปีชีส์ ทั้งหมดนี้ช่วยสนับสนุนนโยบายด้านเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาลในการช่วยสร้างความเข้มแข็งด้วยฐานชีวภาพจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

02 ดร.เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ รองผู้อำนวยการไบ 0

          ดร.เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ รองผู้อำนวยการไบโอเทค สวทช. กล่าวว่า ไบโอเทคจัดตั้งศูนย์จุลินทรีย์ตั้งแต่ปี 2539 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนเกิดเป็นศูนย์ชีววัสดุประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อเป็นศูนย์ชีววัสดุชั้นนำในอาเซียนที่เชื่อมโยงระบบการบริหารจัดการชีววัสดุที่ทันสมัยและเป็นไปตามกฎระเบียบนานาชาติเข้ากับการวิจัยและนวัตกรรม ด้วยภารกิจในการเป็นศูนย์กลางการรวบรวมชีววัสดุและข้อมูลโดยใช้ระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติเพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ชีววัสดุอย่างสูงสุด พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ชีววัสดุอย่างยั่งยืนเป็นไปตามกฎระเบียบนานาชาติ รวมถึงสร้างความร่วมมือระดับประเทศและนานาชาติด้านการวิจัยเกี่ยวกับชีววัสดุ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรด้านการเก็บรักษาและบริหารจัดการชีววัสดุ ทำให้ TBRC มีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางจัดการชีววัสดุของประเทศที่มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

03 ดร.ชาญวิทย์ สุริยฉัตรกุล หัวหน้าทีมวิจัย 0

          ดร.ชาญวิทย์ สุริยฉัตรกุล หัวหน้าทีมวิจัยความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ ศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) ไบโอเทค กล่าวว่า TBRC เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บรักษา ให้บริการและบริหารจัดการทรัพยากรจุลินทรีย์ ชีววัสดุ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้เกิดการใช้ประโยชน์ โดยจุลินทรีย์และชีววัสดุที่เก็บรักษาประกอบด้วย แบคทีเรีย รา ยีสต์ ไวรัส และโปรโตซัว ซึ่งมีมากถึงเกือบ 1 แสนสายพันธุ์ ที่พร้อมนำมาวิจัยต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ถือเป็นคลังชีววัสดุชั้นนำระดับภูมิภาคอาเซียน โดย TBRC มีบริการหลัก ได้แก่ รับฝากและให้บริการจุลินทรีย์และชีววัสดุ คัดแยกจุลินทรีย์ จำแนกชนิดจุลินทรีย์ วิเคราะห์ประชากรจุลินทรีย์ การเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ รวมถึงให้การอบรบด้านการเก็บรักษาและจัดการคลังจุลินทรีย์ ซึ่ง TBRC มีระบบการเก็บรักษาจุลินทรีย์ตามมาตรฐานระดับสากล ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9001:2015 โดยมีการเก็บรักษาในสภาพแช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -80 องศาเซลเซียส และในถังไนโตรเจนเหลว และการเก็บรักษาแบบแห้งในหลอดแก้วสุญญากาศ ที่สามารถเก็บรักษาจุลินทรีย์ให้มีชีวิตรอดได้นานกว่า 20 ปี โดยผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์กลุ่มต่าง ๆ จะกำหนดขั้นตอน วิธีการจัดเก็บ วิธีการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่จัดเก็บและให้บริการมีความถูกต้อง รอดชีวิต และปราศจากการปนเปื้อน ซึ่งบริการเหล่านี้จะช่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้บริการไปยังกลุ่มนักวิจัย หน่วยงานวิจัย และภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้านการใช้ประโยชน์จุลินทรีย์และชีววัสดุ เพื่อตอบโจทย์งานวิจัยและความต้องการของภาคอุตสาหกรรมต่อไป

04 ดร.สุภาวดี อิงศรีสว่าง นักวิจัยอาวุโส ทีม 0

             ด้าน ดร.สุภาวดี อิงศรีสว่าง นักวิจัยอาวุโส ทีมวิจัยระบบจุลินทรีย์และชีวสารสนเทศ กล่าวเสริมว่า TBRC มีการดำเนินงานโครงการวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อค้นหาจุลินทรีย์ชนิดใหม่ ๆ ของโลกและสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน โดย TBRC ร่วมงานกับพันธมิตรในการทำวิจัยร่วมกัน โดยเน้น 1) การตรวจหาติดตามดีเอ็นเอชุมชนจุลินทรีย์ (Microbiome Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายของชุมชนจุลินทรีย์และบทบาทของจุลินทรีย์ ในการประเมินสถานภาพสิ่งแวดล้อมหรือผลิตภัณฑ์จากภาคอุตสาหกรรม 2) ชีวสารสนเทศและฐานข้อมูลจุลินทรีย์ เพื่อการวิเคราะห์บ่งชี้ชนิดจุลินทรีย์และความสัมพันธ์เชิงหน้าที่ของจุลินทรีย์ระดับยีนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมทั้ง 3) การค้นหาและปลดล็อกศักยภาพของจุลินทรีย์จากคลัง TBRC เพื่อให้จุลินทรีย์ที่อยู่ในคลัง TBRC มีความพร้อมและตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมได้มากที่สุด

06 ทีมวิจัย TBRC 0

             นอกจากนี้ TBRC ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) บนโลกนี้ด้วย โดย TBRC ดูแลทรัพยากรจุลินทรีย์ในระดับสกุลมากกว่า 1,500 สกุล (genus) และระดับชนิดมากกว่า 4,300 ชนิด (species) รวมถึง TBRC ยังนับเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในด้านสนับสนุนการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ การขึ้นทะเบียนจุลินทรีย์เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้กับภาคอุตสาหกรรม และยังเป็นแหล่ง Bioresources หรือแหล่งรวมข้อมูลพันธุกรรมที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีภาคเอกชนและผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการและประโยชน์เพื่อต่อยอดในอุตสาหกรรมจำนวนมาก เป็นหนึ่งในฟันเฟืองช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของไทย โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสุขภาพและยารักษาโรค อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

05 ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา ผู้อำนวยการกลุ่มว 0  07 ห้องเก็บเชื้อจุลินทรีย์ โดยการแช่แข็งใน

08 ห้องเก็บเชื้อจุลินทรีย์ โดยการแช่แข็งใน   09 ห้องเก็บเชื้อจุลินทรีย์ โดยการแช่แข็งใน

              ทั้งนี้ สัดส่วนการใช้ประโยชน์คลังจุลินทรีย์ TBRC ที่ผ่านมา มีทั้งผู้ใช้บริการ คือนักวิจัยของไบโอเทค สวทช. และหน่วยงานภายนอก เช่น องค์กรรัฐและภาคเอกชน ตัวอย่างการศึกษาวิจัยที่ทำโดยนักวิจัยไบโอเทคเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น จุลินทรีย์ที่ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในอาหารสัตว์ อาทิ เชื้อราสายพันธุ์แอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus spp.) หรือจุลินทรีย์สำหรับควบคุมศัตรูพืช อาทิ เชื้อราสายพันธุ์ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) ขณะที่หน่วยงานภายนอกมีการใช้บริการงานบริการเทคนิคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น คัดแยกจุลินทรีย์ จำแนกชนิดจุลินทรีย์ อย่างไรก็ตาม สวทช. มีบริการที่จะช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมในการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในกลุ่มที่ต้องการให้มากขึ้นในระดับกึ่งอุตสาหกรรมในโรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (BIOTEC Bioprocessing Facility) หรือ BBF เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง

10 ห้องเก็บเชื้อจุลินทรีย์ โดยวิธีแช่แข็งท   11 วิธีระเหยแห้งเพื่อเก็บจุลินทรีย์ 0

12 สาธิตเก็บรักษาจุลินทรีย์ด้วยวิธีทำแห้ง   13 Liquid drying 0 

 

              หนึ่งในนักวิจัยไบโอเทคที่สะท้อนมุมมองถึงการนำจุลินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยคือ ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค ซึ่งมีการนำจุลินทรีย์จาก TBRC มาใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น เอนไซม์ ENZEase ซึ่งใช้ในการลอกแป้ง (desizing) และกำจัดแว็กซ์ (scouring) ในขั้นตอนเดียวซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานและสารเคมีในกระบวนการผลิตสิ่งทอ การใช้เทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ในการปรับปรุงยีสต์ผลิตเอทานอลให้สามารถผลิตสารคาโรทีนอยด์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ การใช้จุลินทรีย์และเอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาการผลิตน้ำตาลฟังก์ชั่น ในกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ไซลิทอล ซึ่งใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และโอลิโกแซคคาไรด์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารพรีไบโอติก จากชีวมวลทางการเกษตร และการใช้จุลินทรีย์ในกลุ่มรา เช่น บิววาเรีย และเมตาไรเซียม เป็นสารชีวภัณฑ์ควบคุมแมลงศัตรูพืช รวมถึงการผลิตสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีโครงสร้างเฉพาะจากจุลินทรีย์ ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดสิทธิ์ให้ภาคเอกชนแล้ว หรืออยู่ระหว่างขยายขนาดการผลิตร่วมกับภาคเอกชนชั้นนำ เพื่อผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อไป

19 ตัวอย่างการนำจุลินทรีย์จาก TBRC มาใช้ เอนไ 0  18 การใช้จุลินทรีย์และเอนไซม์ในการเร่งปฏิ 0

17 การใช้จุลินทรีย์ในกลุ่มราควบคุมแมลงศัต 0  16 ตัวอย่างจุลินทรีย์ในห้องนิทรรศการ TBRC Exhibition

             หน่วยงานหรือผู้สนใจใช้ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีของ TBRC ในการตอบโจทย์ด้านจุลินทรีย์ รวมถึงหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือวิจัย สามารถติดต่อได้ที่ TBRC อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 ตึก B ชั้น 8 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี โทร. 0 2117 8000-1 อีเมล tbrcservice@biotec.or.th แฟนเพจ www.facebook.com/tbrcnetwork/ และเว็บไซต์ www.tbrcnetwork.org/

 

เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วช.หนุน “ศูนย์กลางองค์ความรู้ต้นแบบด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โรงเรียนนายร้อยตำรวจ” บูรณาการความรู้และเครือข่ายการทำงาน ด้วยวิจัยและนวตกรรม ปส. เจ้าภาพระดับอาเซียน Kick off - Workshop เสริมแกร่งเตรียมพร้อมตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินทางรังสี

เรื่องล่าสุด

สำนักงานปลัดกระทรวง อว. มอบราง ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
สำนักงานปลัดกระทรวง อว. มอบรางวัลให้นักกีฬา ที่เข้าร่วมกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 41 “ตุมปังเกม...
20 พ.ค. 2568
“สุชาดา” เลขานุการ รมว.อว. เปิ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“สุชาดา” เลขานุการ รมว.อว. เปิดงานเฉลิมฉลอง 150 ปี สนธิสัญญาเมตริกและปีสากลแห่งควอนตัม ชี้ สนธิสัญญา...
20 พ.ค. 2568
“ศุภมาส” โชว์วิสัยทัศน์ใช้ AI  ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” โชว์วิสัยทัศน์ใช้ AI ยกระดับคุณภาพ - ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในไทย บนเวทีการประชุมรัฐมน...
20 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.