วันที่ 2 ตุลาคม 2566 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะนักวิจัยเข้าร่วมงาน Science and Technology in Society forum 2023 โดยเข้าร่วมประชุมในหัวข้อที่เป็นประเด็นท้าทายใน S&T ระหว่าง STS forum 2023 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 มีประเด็นอภิปรายของนักวิจัยนานาประเทศในหัวข้อสำคัญ ดังนี้
- หัวข้อ Biodiversity and Ecosystem Services กล่าวถึงประเด็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการรับผิดชอบของมนุษย์ ที่ประชุมมีการสรุปประเด็นมุ่งเน้นเกี่ยวกับ กิจวัตรประจำวันของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อาทิ การปฏิบัติทางการเกษตร อุตสาหกรรม และครัวเรือน เน้นการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการเชื่อมโยงกับ Gene bank การส่งเสริมการวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการนำไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ เพื่อการสร้างสังคมที่รับผิดชอบต่อระบบนิเวศไปด้วยกัน นำไปสู่การบริหารจัดการที่เหมาะสม รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการจัดคอร์สฝึกอบรมคนรุ่นใหม่ให้มีความใส่ใจและเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งประเทศไทยมีนักวิจัยที่มีความสามารถและประสบการณ์การวิจัยในประเด็นต่างๆ ในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยในระดับโลก ตั้งแต่นโยบายสู่แนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศและโลก เข้าร่วมประชุมโดย รศ.ดร. ดุสิต อธินุวัฒน์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- หัวข้อ New Frontiers in Biotechnology กล่าวถึงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ไปอย่างก้าวกระโดด แต่ยังมีความท้าทายในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงเนื่องจากหลายสาเหตุ อาทิ ราคาที่ยังสูงเนื่องจากขั้นตอนบางอย่างที่ยังมีการผลิตเฉพาะผู้ประกอบการ การเข้าถึงเทคโนโลยีที่ไม่เท่าเทียมของประชากร หรือการยังไม่ประสบความสำเร็จของเทคโนโลยีจำนวนมากในขั้นตอน Trial และการนำ AI มาใช้เพื่อช่วยลดต้นทุนในการศึกษาวิจัยและเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีให้เร็วขึ้น เข้าร่วมประชุมโดย ดร. ณัฐชิต ลิมป์จรรยาวงศ์ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- หัวข้อ Quantum Science and Technologies กล่าวถึงความก้าวหน้าของ Quantum computing ที่เป็นวิทยาการขั้นสูงของคอมพิวเตอร์ในอนาคต เปรียบเทียบกับ Classical computer ที่ใช้ในปัจจุบัน โดยมีการแลกเปลี่ยนกันในหลายมิติ เช่น มิติด้านวิทยาศาสตร์ควอนตัม มิติด้านการลงทุนวิจัย มิติมุมมองจากภาคเอกชน เช่น IBM และมิติด้านความปลอดภัยของข้อมูล และได้เชื่อมโยงความสามารถของมนุษย์ตั้งแต่ทฤษฎีของไอน์สไตน์ และแพลงค์ ความรู้ในเรื่องของอะตอมของวัสดุ สารตัวนำยิ่งยวด ทำให้มนุษย์สามารถมีความก้าวหน้ามาถึงจุดนี้ได้ เข้าร่วมประชุมโดย รศ.ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- หัวข้อ Collaboration among Academia, Industry and Government กล่าวถึง ความสำคัญของความร่วมมือทั้ง 4 ภาคส่วน คือ วงการวิชาการ ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐบาล และยังรวมไปถึงภาคสังคมอีกด้วย โดยเราสร้างความร่วมมือและพัฒนาทางด้ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ความต้องการของภาคสังคมเป็นหลัก ซึ่งสิ่งที่สำคัญในการสร้างความร่วมมือในระยาวของทั้ง 4 ภาคส่วนคือ ความเชื่อใจ (Trust) ดังนั้นคำถามหลักในการอภิปรายในครั้งนี้จึงเป็น วิธีการในการสร้างความเชื่อใจระหว่าง 4 ภาคส่วนดังกล่าว โดยมีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ให้วิธีการต่างๆที่หลากหลาย เช่น การสร้าง Human Resources Section ขององค์กรที่แข็งแรง และสามารถสื่อสารในภาษาที่แต่ละภาคส่วนเข้าใจได้ง่าย เข้าร่วมประชุมโดย ดร. อดิศักดิ์ สีเสน่ห์ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- หัวข้อ AI in Education กล่าวถึง เทคโนโลยีด้าน AI เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตและการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการติดตามสุขภาพจิตของนักศึกษา หรือ personalized education/learning โดยใช้ AI และการปรับตัวของสถาบันการศึกษาเพื่อรับมือกับเทคโนโลยีนี้ ซึ่งในกลุ่มมีการอภิปรายเกี่ยวกับ issues ที่เกี่ยวกับการใช้ AI ด้านการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น Ethical issues, data privacy and security เป็นต้น ซึ่งต้องมีนโยบายทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ในการติดตามการใช้ AI และการเตรียมความพร้อมของคุณครู อาจารย์ ในการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ และการพัฒนาทักษะของนักเรียนทางด้าน cognitive และ non-cognitive skills อาทิ creativity, critical thinking, decision making เป็นต้น เข้าร่วมประชุมโดย ดร. กัตติกา กะอาจ จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- หัวข้อ Quest for Digital Equity กล่าวถึง การแสวงหาความเท่าเทียมทางดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญในสังคมปัจจุบัน โดยต้องทำการมุ่งเน้นไปที่การศึกษาความรู้ดิจิทัล การอบรมครู และโปรแกรมการฝึกฝนผู้สอน (Training the trainers) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดระยะห่างระหว่างดิจิทัลกับผู้คน โดยควรให้การเข้าถึงดิจิทัลกับผู้คนอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ในเมืองหรือชนบท ควรมีการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ การร่วมมือระดับโลก และการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ๆทั้งระดับชาติและนานาชาติ นอกจากนี้ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคในแต่ละองค์กรให้มากขึ้น สิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งในเรื่องของความเท่าเทียมทางดิจิทัล คือการเน้นการสร้างความไว้วางใจในข้อมูลและภาพลักษณ์ของการใช้ข้อมูลต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความไว้วางใจในเทคโนโลยีว่ามีความปลอดภัย เข้าร่วมประชุมโดย ดร. ฐิตาภรณ์ กนกรัตน จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- หัวข้อ New Technologies for Low Emission Transportation กล่าวถึงประเด็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานของการขนส่งที่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนา Circular battery สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ การอภิปรายยังรวมไปถึง การส่งเสริมการสร้างสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่มีจำนวนที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ และมีมาตรฐานที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เข้าร่วมประชุมโดย น.ส. ขวัญศิริ วันวิเวก ผู้อำนวยการกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ วช.
- หัวข้อ Sustainable and Resilient Urban Environments กล่าวถึงจำนวนประชากรในเขตเมืองที่เพิ่มมากขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อการมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน การดำเนินในปัจจุบันของประเทศต่างๆในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ต้องพึ่งพามาตรการทางการเงินในระดับโลก ซึ่งแต่ละประเทศก็กำลังเชิญสภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ วิธีการที่คุ้มค่าในระยะยาว เช่น การลงทุนด้านการศึกษา Upskill Reskill การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การใช้วิธีการแบบ Transdisciplinary การแก้ไขระเบียบ การพัฒนามาตรการทางภาษี เป็นต้น เข้าร่วมประชุมโดย น.ส. กันต์ฤทัย รอดอิ้ว นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
ในการเข้าร่วมประชุม ในหัวข้อสำคัญในประเด็นท้าทายระดับโลก ระหว่าง STS forum 2023 ถือเป็นโอกาสอันดีของนักวิจัยไทย ที่จะสร้างการเรียนรู้ เพื่อนำมาพัฒนางานวิจัยของไทย ให้สามารถก้าวทันวิทยาการและเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.