GISTDA เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมง ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” เมื่อเวลา 09.00 น. ของวันที่ 16 ธันวาคม 2566 พบทุกพื้นที่ กทม. มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน โดยมี 28 เขตที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพระดับสีแดง สูงสุดที่บางกอกใหญ่ ธนบุรี หนองแขม คลองสาน ภาษีเจริญ สัมพันธวงศ์ บางกอกน้อย เป็นต้น ในขณะที่อีก 22 เขตที่เกินค่ามาตรฐานระดับสีส้มที่เริ่มส่งผลต่อสุขภาพ ในขณะที่ภาพรวมทั้งประเทศยังเกินมาตรฐาน 42 จังหวัด โดยมี 4 จังหวัดสูงระดับแดง ได้แก่ สมุทรสาคร นนทบุรี อ่างทอง อยุธยา
แอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” ยังคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่ยังคงมีค่าคุณภาพอากาศที่เกินค่ามาตรฐานในระดับสีส้มถึงแดง ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM 2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลจุดความร้อนที่รายงานโดย GISTDA เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 พบจุดความร้อนทั้งประเทศ 90 จุด ส่วนใหญ่พบในพื้นที่การเกษตร 49 จุด ตามด้วยพื้นที่สปก. 21 จุด ชุมชนและอื่นๆ 13 จุด ป่าสงวนแห่งชาติ 4 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 2 จุด และป่าอนุรักษ์ 1 จุด จังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ #สระบุรี 12 จุด #อุตรดิตถ์ 7 จุด และ #ขอนแก่น 5 จุด
นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านที่พบจุดความร้อน 3 อันดับแรกได้แก่ พม่า 154 จุด ตามด้วย กัมพูชา 107 จุด และเวียดนาม 104 จุด ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับ 4 พบ 90 จุด
ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูล PM2.5 แบบรายชั่วโมงเพิ่มเติมผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"
ข้อมูลโดย : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) :GISTDA
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 02 141 4444 , 02 141 4674
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.