GISTDA เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมง ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” เมื่อเวลา 09.00 น. ของวันที่ 17 ธันวาคม 2566 พบ 48 เขตในพื้นที่ กทม. มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ ระดับสีส้ม สูงสุดที่ราชเทวี ตามด้วย หนองแขม บางบอน บางขุนเทียน ยานนาวา ดินแดง ธนบุรี บางกอกใหญ่ บางแค เป็นต้น ในขณะที่อีก 2 เขตมีค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ภาพรวมทั้งประเทศมีเกินมาตรฐาน 23 จังหวัด โดยมี 2 จังหวัดสูงระดับแดง ได้แก่ สมุทรสาคร 103.5 ไมโครกรัม และสมุทรสงคราม 96.2 ไมโครกรัม
แอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” ยังคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่ยังมีค่าคุณภาพอากาศที่เกินค่ามาตรฐานในระดับสีส้ม และระดับปานกลางสีเหลือง ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM 2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลจุดความร้อนที่รายงานโดย GISTDA เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2566 พบจุดความร้อนทั้งประเทศ 142 จุด ส่วนใหญ่พบในพื้นที่การเกษตร 71 จุด ตามด้วยพื้นที่สปก. 39 จุด ชุมชนและอื่นๆ 18 จุด ป่าสงวนแห่งชาติ 8 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 4 จุด และป่าอนุรักษ์ 2 จุด จังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ #นครสวรรค์ 14 จุด ตามด้วย #พิจิตร 10 จุด และ #ตาก 10 จุด
นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านที่พบจุดความร้อน 3 อันดับแรกได้แก่ พม่า 259 ตามด้วย ไทย 142 จุด กัมพูชา 98 จุด เวียดนาม 74 จุด และลาว 32 จุด
ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูล PM2.5 แบบรายชั่วโมงเพิ่มเติมผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"
ข้อมูลโดย : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) :GISTDA
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 02 141 4444 , 02 141 4674
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.