กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • โครงการกระทรวง
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • บริการ
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • ข่าวและประกาศ
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • คลังข้อมูล
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • อินโฟกราฟิก
    • วีดิทัศน์
    • โมไบล์แอปพลิเคชัน
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • ค้นหา
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • ติดต่อกระทรวง
  • แผนผังเว็บไซต์
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • หน้าแรก
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวรัฐมนตรี

รมว.อว. แนะดึงจุลินทรีย์ เป็นจุดแข็งความหลากหลายทางชีวภาพไทยแข่งขันเศรษฐกิจหมุนเวียนกับต่างชาติ ด้านบอร์ด สอวช. ชี้ควรให้ความสำคัญเรื่องกฎหมายและมาตรการจูงใจผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
09 มี.ค. 2564

1

         (8 มีนาคม 2564) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรแห่งชาติ (สอวช.) จัดประชุมคณะกรรมการอํานวยการ สอวช. ครั้งที่ 2/2564 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมี ศาสตราจารยพิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานการประชุม

         ระเบียบวาระที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือการเสนอที่ประชุม เพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อหลักการและแนวทางการดำเนินงานของ “แพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนานโยบายนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Innovation Policy Platform)” ที่ สอวช. จัดทำขึ้น โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว และให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนไทย เช่น ทำให้คนไทยทิ้งขยะ แยกขยะแบบในสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดี ที่ควรทำ แต่จะไม่ใช่จุดที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ควรหันมามองว่าอะไรเป็นจุดที่เราทำไม่กี่เรื่องแต่มันขยับ เช่น การให้จุลินทรีย์ทำงานแทนเรา เหมือนคนขายหุ้น ที่ให้เงินทำงานแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยมีจุดเด่นที่ความหลากหลายทางชีวภาพสูง (Biodiversity) เป็นอันดับ 6 ของโลก และจุลินทรีย์เป็นตัวช่วยในการย่อยได้ดี มีงานวิจัยทางด้านจุลินทรีย์หลายงานที่น่าสนใจ ถ้าหากทำเรื่องจุลินทรีย์ ทำให้รู้ว่าจะนำจุลินทรีย์มาใช้เกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างไร ใช้ความเข้มแข็งที่เรามี จะเป็นแนวทางให้สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ และเนื่องจากการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ หากประเทศไทยต้องการจะขับเคลื่อนในด้านนี้โดยใช้แบบอย่างจากต่างประเทศ อาจไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ เพราะเราเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มเดินแต่คนอื่นเดินมานานแล้ว ถ้าคิดว่าจะไปเลียนแบบประเทศที่พัฒนาแล้วเราจะตามไม่ทัน ในส่วนการแก้กฎหมายเป็นเรื่องที่ดีแต่ก็ต้องใช้เวลา 2-3 ปี ดังนั้นต้องทำสิ่งที่ทำได้ไปก่อน

“ถ้าจะรบกับใครต้องเอาจุดแข็งไปรบ เพื่อไปรบกับจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้าม เราต้องรบจากจุดแข็ง ถ้าเป็นเรื่องความเป็นอยู่จะต้องใช้เวลา ถือเป็นจุดอ่อน การเข้าไปทำความเข้าใจต้องใช้ความรู้ ว่าอะไรที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจหมุนเวียน ต้องไปคุยกับนักเศรษฐกิจหมุนเวียน ต้องคิดว่าอะไรที่เราทำแล้วลดข้อเสียเปรียบต่างชาติ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเรา ” รมว.อว. กล่าว

3

         ด้าน ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) นำเสนอการดำเนินการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของ สอวช. โดยการตั้งเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs), สร้างมูลค่าจากเศรษฐกิจหมุนเวียน 3% ของ GDP, ลดการใช้ทรัพยากรลง 1 ใน 3, ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 25% และปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติที่ดีของการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในต่างประเทศเป็นตัวอย่าง เช่น สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เยอรมัน, จีน, เนเธอร์แลนด์, ฟินแลนด์ เป็นต้น

         ส่วนการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทยปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในกลไกการปฏิบัติที่ยังเป็นโครงสร้างแบบ Linear Model “ผลิต ใช้ กำจัด” หากต้องการให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทยต้องตั้งวงให้มีการหารือด้านการวางนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางเศรษฐกิจหมุนเวียนร่วมกัน ต้องมีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจน ให้เกิดมาตรการต่างๆ มารองรับ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ในการเกิดระบบหมุนเวียนปิดของทรัพยากร (Close Loop) และเพิ่มมูลค่าจากของเสีย/วัสดุเหลือใช้ เกิดแรงจูงใจ เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้ผลิตและบริการ การลดใช้ทรัพยากร และรูปแบบธุรกิจที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

25 6

         นอกจากนี้ สอวช. ยังได้วางแนวทางการทำ Intervention Models ให้สอดคล้องไปกับเป้าหมายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ 1.การแลกเปลี่ยนของเสีย/วัสดุเหลือใช้ซึ่งกันและกัน (Waste Symbiosis) 2.การขนส่งสินค้าคืนสู่ผู้ขายและรีไซเคิล (Reverse Logistic & Recycle) 3.การหมุนเวียนอาหารถูกทิ้ง (Circular Food Waste) และ 4.CE Platform for Green Construction & Smart City ซึ่งการดำเนินงานตามแผนทั้งหมด ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ การมียุทธศาสตร์และเป้าหมายด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศร่วมกัน รวมทั้งกำจัดอุปสรรคเชิงโครงสร้าง (Infrastructure) และปัจจัยเอื้อ (Enabling), การทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนเพื่อกำหนดแนวทางการขับเคลื่อน, ดำเนินโปรแกรม ที่มีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจหมุนเวียน อาทิ CE Sandbox, ข้อเสนอร่างกฎหมายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น, และการนำเสนอในเวทีนานาชาติ APEC-PPSTI เพื่อประกาศทิศทางด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคต่อไป

4

         ในส่วนความเห็นโดยรวมของที่ประชุมมองว่า การขับเคลื่อนเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน สิ่งที่สำคัญคือเรื่องกฎหมาย ในประเทศไทยต้องมีการสำรวจว่ามีกฎหมายใดบ้าง ที่ต้องปรับปรุงแก้ไข กฎหมายใดที่เป็นข้อส่งเสริม และข้อจำกัดในการพัฒนา ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันคือมาตรการในเรื่องแรงจูงใจ เช่น มาตรการด้านภาษี สิทธิประโยชน์อื่นๆ หรือการลงโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามในการจัดการปัญหาขยะ ควบคู่ไปกับการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนในประเทศ และการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนโดยสมบูรณ์ โดยอาจมีการวางเป้าหมายการดำเนินงานทั้งในระยะสั้น และระยะยาว หรือเริ่มนำไปปฏิบัติกับกลุ่มคนในบางกลุ่มนำร่อง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรม บริษัท ผู้ประกอบการ ก่อนจะมุ่งไปที่ประชาชนทั่วไป อีกประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ คือการสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้กับประชาชน การจะทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนขับเคลื่อนไปได้ ต้องเริ่มจากการกระตุ้นให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สร้างผลกระทบโดยรวมที่ใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของประชาชน สัมพันธ์กับการประกอบอาชีพ และทำให้เกิดรายได้กลับไปสู่ประชาชน รวมถึงสร้างประโยชน์ให้เศรษฐกิจชุมชนฐานราก เพราะคนกลุ่มนี้มีผลกับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วยเช่นกัน

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพนิ่ง : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
วีดิโอ : นายสุเมธ บุญเอื้อ
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
มูลนิธิ ณภาฯ ลงนามความร่วมมือกับ 4 หน่วยงาน อว. พัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วย วทน. จากพืช ทำต้นแบบผลิตภัณฑ์บํารุงผิวและผิวหน้า ชู “ไทยแบรนด์” สร้างงาน อาชีพและรายได้ รมว.อว. นำทัพตรวจเยี่ยม U2T บึงกาฬ

เรื่องล่าสุด

“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยา ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” รับลูกนโยบายนายกฯ ขยายผลการใช้งาน Traffy Fondue แพลตฟอร์มร้องทุกข์ผ่านปลายนิ้วไปทั่วประเทศ ...
10 พ.ค. 2568
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025 ...
ข่าวสารหน่วยงาน
เริ่มแล้ว ! "อว. Job Fair 2025" วันแรก ตลาดงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปี อว.ยกทัพผู้ประกอบการทั้งในและต่างประ...
09 พ.ค. 2568
สวทช. วช. SCB ผนึกกำลังพัฒนานั ...
ข่าวสารหน่วยงาน
สวทช. วช. SCB ผนึกกำลังพัฒนานักวิทย์รุ่นเยาว์ (YSC) ต่อเนื่อง ส่งเยาวชนไทยแสดงศักยภาพ 3 เวทีวิทยาศา...
08 พ.ค. 2568

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • หน้าหลัก
    • แนะนำหน่วยงาน
      • ความเป็นมา
      • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
      • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
      • ผู้บริหารกระทรวง
      • การแบ่งส่วนราชการ
      • ลิงก์หน่วยงาน
      • ​กฎหมาย/กฎเกณฑ์
      • เกี่ยวกับซีไอโอ
    • โครงการกระทรวง
    • ทุนกระทรวง
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • บริการ
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • ข่าวและประกาศ
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • คลังข้อมูล
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • อินโฟกราฟิก
      • วีดิทัศน์
      • โมไบล์แอปพลิเคชัน
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • ค้นหา
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • ติดต่อกระทรวง
    • แผนผังเว็บไซต์
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.