(23 มิถุนายน 2564) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ครั้งที่ 3/2564 พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ และโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาฯ และคณะผู้บริหารกระทรวง อว. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำหรับเรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ได้แก่ 1. ร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 สาขาการพัฒนาคน/บุคลากร 2. ร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 ส่วนเรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ คือ ความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
1. ร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 สาขาพัฒนาคน/บุคลากร โดยมีเป้าหมายที่จะให้ประเทศไทยเป็นแหล่งจ้างงานทักษะสูง และรายได้สูงในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ BCG และสามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่ (1) สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม (2) สร้างและพัฒนากำลังคนที่ สนับสนุนการนำความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้าน BCG ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับพื้นที่ (3) ส่งเสริมให้มีการเพิ่มจำนวน นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร นักเทคนิค เพื่อพัฒนาหรือต่อยอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมด้าน BCG (4) ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้ทันสมัย รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของธุรกิจและอุตสาหกรรม
2. ร่างแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 คือ การที่เศรษฐกิจเติบโอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ประชาชนมีรายได้ดี คุณภาพชีวิตดี รักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมี 4 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ 1. การสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ 2. การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง ด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3. ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน 4. เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
อย่างไรก็ตามมาตรการส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ
1. พัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลของทุนความหลากหลายทางชีวภาพ ทุนวัฒนธรรมและทุนทางปัญญา
2. เพิ่มพูนทรัพยากรชาติด้วยการผสานพลังของรัฐ เอกชน ชุมชน และหน่วยงานวิจัย
3. พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ BCG
4. ปรับระบบการเกษตรสู่ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูงและมูลค่าสูง
5. พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารริมทางและอาหารท้องถิ่น
6. สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ด้วยการส่งเสริม การแปรรูปสินค้าจากฐานชีวภาพให้มีขั้นนวัตกรรมที่สูงขึ้น
7. สร้างตลาดเพื่อรองรับนวัตกรรมของสินค้าและบริการ BCG
8. ส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนและการท่องเที่ยวสีเขียว
9. ยกระดับสินค้าและบริการ BCG สู่มาตรฐานการผลิตยั่งยืน
10. ยกระดับสินค้าและบริการ BCG สู่มาตรฐานสากลด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบ
11. ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) การประกอบการรูปแบบใหม่บนฐานเศรษฐกิจ BCG
12. สร้างและพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับเศรษฐกิจ BCG ในทุกระดับ
13. เชื่อมโยงกับสากลในทุกมิติ ทั้งการพัฒนาองค์ความรู้ การดึงดูดบุคลากร การค้า การลงทุน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.