(4 ตุลาคม 2564) ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การแข่งขันและการขับเคี่ยวระหว่างจีน และสหรัฐอเมริกา : ประเทศไทยภายใต้ดุลย์อำนาจทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เนื่องในโอกาสครบรอบ 87 ปี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต : พัฒนาการโรงเรียนกฎหมายและการเมือง ปีที่ 4 พร้อมด้วย ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. และ ดร.ดนุช ตันเทิดทิตย์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง อว. เข้าร่วมงาน และผ่านระบบ Zoom ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า เอเชียอาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งปัจจุบันรวมตัวกันอยู่หลวมๆ เป็นอาเซียน ที่ตั้งเป็นเวทีการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในระดับโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ที่จีนมาพบกับอินเดีย แลกเปลี่ยน ส่งมอบวัฒนธรรมกันและกัน เอเชียอาคเนย์เป็นที่ที่ฝรั่งมหาอำนาจพบกัน มาประชันกัน ในที่สุดอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ก็แบ่งเอเชียอาคเนย์ไปอยู่ใต้การปกครองของแต่ละฝ่าย ในยุคสงครามโลกเอเชียอาคเนย์ก็เป็นที่ที่ถูกขับเคี่ยวแช่งชิงระหว่างญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกา ซึ่งประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของสนามรบนี้ และในยุคสงครามเย็น เมื่อไม่กี่ 10 ปีที่ผ่านมานี้ สหรัฐ และตะวันตกต้องมาต่อสู้ชิงสหภาพโซเวียต ครั้นต่อมาไม่นานโซเวียตและเวียดนามก็มาต่อสู้กับจีน กล่าวถึงปัจจุบันเอเชียอาคเนย์ก็เป็นที่ที่จีนกับสหรัฐ 2 อภิมหาอำนาจของโลกมาพบกัน สหรัฐเป็นมหาอำนาจของโลกอันดับ 1 จีนเป็นมหาอำนาจของโลกอันดับ 2 จีนมีอัตราเร่งที่สูงมาก เป็นการเติบโตที่แบบในทางวิทยาศาสตร์คุ้นเคย เรามีลู่ทางกับจีนมาก ที่สำคัญมากคือจีนใกล้กับเรามาก จีนแสดงความเป็นพันธมิตร เป็นเพื่อนกับเราสูง ที่สำคัญที่สุดคือเขาเข้ามาหาเรา ในการจะทำอะไรกับจีน เราต้องมีความซับซ้อน ประณีตที่จะไม่ทำให้สหรัฐหรือประเทศตะวันตกอื่นๆ ว่าเราได้ ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโซเวียตไม่ได้มีประโยชน์กับเรามากนัก แต่เราพูดแบบนั้นกับจีนเวลานี้ไม่ได้
“ผมจะอาศัยงานของหน่วยงานที่อยู่ในกำกับ อว. 3 หน่วยงาน มาดูว่าอเมริกากับจีน ใครนำใครในด้านไหน ด้านไหนจีนนำ ด้านไหนอเมริกานำ ด้านไหนสูสีกัน และแนวโน้มว่าใครจะเหนือกว่าใคร ในระยะที่ไม่ไกลนัก (1) รายงานของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใหญ่มากพอสมควร มีนักวิจัยรวมกันเกือบ 2,000 คน มีศูนย์ต่างๆ ที่สำคัญ จำนวน 5 ศูนย์ (1) ศูนย์ไบโอเทค ทำเรื่องชีวภาพ (2) ศูนย์เอ็มเทค ทำเกี่ยวกับเทคโนโลยีโลหะและวัสดุสาร (3) ศูนย์เนคเทค ทำเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ (4) ศูนย์นาโนเทค และ (5) ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ ที่ต้องการพูดถึงห้าศูนย์นี้ เพราะต้องการให้บุคลากรได้เห็นถึงความกว้างของสังคม ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในปี 2020 สหรัฐยังเป็นอันดับ 1 ของโลกในการสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่จีนขึ้นมาเป็นอันดี 8 ถ้ามาดูความเข้มข้นทางวิทยาศาสตร์ ในปี 2020 สหรัฐเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่จีนเป็นอันดับ 2 ถ้ามาดูมาตรที่วัดความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใกล้ความจริงที่สุด มาจาก 7 องค์ประกอบด้วยกัน คือ (1) สัดส่วนของงบวิจัยและงบพัฒนา R&D (2) จำนวนบุคลากรที่อยู่ในด้านการวิจัยต่อหัวของประชากรทั้งหมด (3) ปริมาณของนักวิจัยผู้หญิง (4) ผลิตภาพที่แสดงออกทางด้านตีพิมพ์ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา (5) จำนวนคนที่ทำงานในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (6) สิทธิบัตรที่เกี่ยวกับเรื่องไฮเทคที่เป็นเจ้าของ (7) การใช้หุ่นยนต์ในการศึกษาในทางวิจัยและพัฒนา”
มาตรที่วัดความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญที่สุด ที่จะดูว่าประเทศที่เวลานี้ อันดับความสามารถขนาดนี้ มีขีดความสามารถในด้านองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขนาดนี้ ในอนาคตจะผันแปรไปอย่างไร ซึ่งมองจากตรงนี้แล้ว ชัดเจนว่าสหรัฐเป็นอันดับ 1 จีนเป็นอันดับ 2 แต่ถ้ามาดูผลงานตีพิมพ์ ตั้งแต่ปี 2017 สหรัฐตีพิมพ์ในปีนั้น 409,000 กว่าๆ จีนตีพิมพ์ 426,000 บทความ มากกว่าสหรัฐจำนวนหนึ่ง พุดได้ว่าเมื่อปี 2017-2018 เป็นครั้งแรกๆ ที่จีนตีพิมพ์ผลงานมากกว่าสหรัฐแล้ว และทางด้านจีนที่เหนือกว่าสหรัฐชัดเจนแล้วก็มี เช่น ความเร็วของคอมพิวเตอร์ จีนเข้าสู่ 5G ได้ก่อน และจะทำให้จีนได้เปรียบในเรื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ไร้คนขับ, อุตสาหกรรมโดรน, การใช้โรบอทในการผ่าตัด ในการทำอุตสาหกรรม กิจการต่างๆ เพราะว่าโรบอทจะต้องมี Ai ซึ่งต้องได้มาจากปริมาณ ที่มากับความเร็วของคอมพิวเตอร์ที่คำนวณได้สูงมาก กับจะต้องมีปริมาณข้อมูลที่มากมายมหาศาล จีนได้เปรียบในสิ่งเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ 5G จีนเข้าถึงได้ก่อน ฉะนั้น IOT จีนก็จะได้เปรียบมากขึ้นเรื่อยๆ หมายถึงว่าการทำสมาร์ทฟาร์มมิ่ง เมื่อเข้าถึง 5G ได้ก่อนก็จะทำให้อุตสาหกรรมด้านนี้พุ่งทยานนำหน้าคนอื่นไปมาก จีนอยู่ในวิสัยที่จะนำสหรัฐได้ไม่ยากนัก ถ้าสหรัฐไม่สามารถที่จะเร่งความเร็วของคอมพิวเตอร์ให้เข้ามาสู่ระดับ 5G ได้ปล่อยให้จีนนำไปเรื่อยๆ ซึ่งตอนนี้จีนก็กำลังจะทำ 5.5G แล้ว บางกระแสก็บอกจะทำ 6G และมีแผนที่จะทำควอนตัมคอมพิวเตอร์ นี่ก็เป็นอะไรที่ต้องอาศัยข้อมูลมาดูกัน
รายงานจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ของสหรัฐยังอยู่อันดับ 1 ของโลก จีนเป็นอันดับ 10 แต่ถ้าดูโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่นำไปปฏิบัติได้สหรัฐเป็นอันดับ 6 ของโลก จีนเป็นอันดับ 10 ของโลกความสามารถด้านนวัตกรรมของจีนเข้ามาอยู่ใน Division เดียวกับสหรัฐแล้ว หลังจากที่เคยต่ำกว่ามากๆ ในปี 2020 สหรัฐเป็นหมายเลข 3 ของนวัตกรรม จีนเป็นอันดับที่ 14 ของโลกในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับบริษัทสหรัฐยังเหนือกว่า แต่ถ้ามาดูพื้นที่ในประเทศที่เป็นกลุ่มเมือง ที่ทำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูง 10 อันดับแรกของโลก จะพบว่าอยู่ในจีน 3 แห่งคือ ปักกิ่งและในอาณาบริเวณรอบๆ, เซี่ยงไฮ้และในอาณาบริเวณรอบๆ และอีกแห่งหนึ่งที่พุ่งขึ้นมาเร็วมากๆ คือ เซินเจิน รวมถึงฮ่องกงและกวางโจวด้วย เทคโนโลยีที่จีนมีศักยภาพสูงมี (1) วิทยาศาสตร์กายภาพ (2) ไลฟ์สไตล์และไบโอเทคโนโลยี (3) ดิจิทัลและ Ai (4) AdiCouture (5) อิเล็กทรอนิกส์ (6) รถไฟ
รายงานจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วัดสมรรถนะของจีนและอเมริกาด้วยเนเจอร์อินเด็กซ์ ซึ่งเป็นของโลกตะวันตก วัดจากการตีพิมพ์ที่ปรากฏอยู่ในวารสารวิชาการและวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่มีความกว้าง และเป็นวารสารระดับนำของโลกตะวันตก ประการ 1. ประเทศใดเป็นประเทศที่นำหน้าที่สุดในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีของโลก ในปี 2020 จะเห็นว่าสหรัฐนำเป็นอันดับ 1 จีนเป็นอันดับ 2 เยอรมันเป็นอันดับ 3 แต่ถ้าวัดด้วยหน่วยที่วัดเป็นเชิงปริมาณได้ ดูจากการตีพิมพ์สหรัฐก็นำจีนอยู่แต่ก็หายใจลดต้นคอ ส่วนจีนนำเยอรมัน 3 เท่า แต่ถ้าดูว่าสถาบันไหน มหาวิทยาลัยไหนที่นำหน้าของโลก ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะปรากฏว่าอันดับ 1 คือ Chinese Academy of Sciences ส่วนตอนนี้สถาบันใดที่เป็นดาวรุ่ง ในปี 2018-2019 คือ University of Chinese Academy of Sciences อันดับ 1 ของโลก
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.