19 มีนาคม 2566 ณ ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเสวนาวิชาการและนิทรรศการ “เปิงใจ๋ เก่า-ใหม่ สล่าศิลป์ล้านนา” โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์
รองปลัดกระทรวง อว. ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. นาย สัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ดร.สิริกร มณีรินทร์ ผู้อํานวยการสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น อธิการบดี คณบดี และคณาจารย์เข้าร่วม งานดังกล่าว
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ประเทศไทยเกิดจากการรวบรวมหลายเลือดเนื้อหลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรมและหลอมรวมเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นเอกภาพสูงมาก จนเกิดมาเป็นชาติไทย การผสมผสานต่าง ๆ ทำให้เกิดวัฒนธรรมย่อย และร่วมเป็นวัฒนธรรมส่วนกลางที่ยิ่งใหญ่ และเกิดจากการเสริมของสุนทรียภาพ ศิลปะของท้องถิ่น ท้องที่ชุมชน ซึ่งรักษาไว้ได้อย่างยาวนาน ประเทศไทยนอกเหนือจากจะพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการศึกษาแล้ว ยังพัฒนาด้วยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และการท่องเที่ยว คนที่ทำเรื่องศิลปะล้านนาหรือศิลปะไทยต้องยกย่องชมเชยเป็นอย่างยิ่ง
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวต่อไปว่า สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่นจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2560 ตามนโยบาย ขณะนี้ได้ดำเนินโครงการวิจัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ไปจนสําเร็จลุล่วง จํานวน 21 โครงการ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีโครงการวิจัย จำนวน 13 โครงการ ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยชุมชน 28 แห่ง โดยนักวิจัย 159 คน เกิดผลผลิตสรุปได้ดังนี้ (1) การถอดองค์ความรู้เป็นหลักสูตร/ตำรา 54 วิชา เกิดการสร้างงานที่มีคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มแก่ชุมชน (2) การสืบค้นรวบรวมคลังความรู้ 32 ชุด เป็นเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์สร้างสรรค์ที่น่าสนใจเหมาะสำหรับท่องเที่ยว (3) การสืบสานส่งต่อจิตวิทยาช่างศิลป์สู่คนรุ่นใหม่ 657 คน การตั้งศูนย์เรียนรู้หรือเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ศูนย์เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในชุมชนหรือศูนย์เครือข่ายครูภูมิปัญญาออนไลน์อย่างน้อย 4 แห่ง (4) ฐานข้อมูลคลังความรู้ช่างศิลป์ท้องถิ่นไทยและทำเนียบช่างศิลป์ 1 ฐานข้อมูล