“ทีเซลส์ ร่วมกับ วว. และพันธมิตรการวิจัยก่อนคลินิกทั่วประเทศ ยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบตามหลักการ OECD GLP ในการพัฒนายา วัคซีน COVID-19 และรองรับโรคระบาดในประเทศไทย”

1

การอบรมเชิงปฏิบัติการระดับประเทศ การยกระดับห้องปฏิบัติการทดสอบการพัฒนายา วัคซีน รองรับโรคระบาดในประเทศไทย ตามหลักการทดสอบความปลอดภัยของOECD GLP ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศในกลุ่ม OECD และประเทศสมาชิกสมทบ 42 ประเทศ ระหว่างวันที่ 4 - 6 มีนาคม 2563 ณ ชั้น 4 อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก (Pearl Bangkok) กรุงเทพฯ

16

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) จับมือร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และพันธมิตรศูนย์ทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการสนับสนุนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญจากDepartment of Standards Malaysia และ Universiti Kebangsaan Malaysia ในการพัฒนาบุคลากรด้านชีววิทยาศาสตร์ เพื่อรองรับการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะรองรับการทดสอบความปลอดภัยยาและวัคซีน COVID-19 เป็นการพัฒนาบุคลากรและรองรับการยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ในประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตอกย้ำความเชื่อมั่นถึงระบบการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย ที่สามารถให้การรับรองผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพให้เป็นที่เชื่อมั่นจากทั่วโลก  

121411

1315

          โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์(TCELS) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)และพันธมิตรการวิจัยก่อนคลินิกจากทั่วประเทศกว่า 120 คน ร่วมทำ Workshop เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบ การพัฒนายา วัคซีน COVID-19 และรองรับโรคระบาดในประเทศไทย ดำเนินการจัดอบรมทางวิชาการแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาวิจัยระดับก่อนคลินิก เภสัชกร นักพิษวิทยา นักวิทยาศาสตร์ สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลอง นักวิจัย นิสิตนักศึกษาและผู้สนใจจากทั่วประเทศ ในหัวข้อ OECD Good Laboratory Practice (GLP) Workshop 2020” เพื่อยกระดับความสามารถบุคลากรและห้องปฏิบัติการในการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน เภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง ยาสัตว์ สารปรุงแต่งในอาหารและอาหารสัตว์ รวมถึงผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง สารเคมีในอุตสาหกรรมหรือใช้ในครัวเรือน โดยเฉพาะการดำเนินการรองรับการทดสอบยาวัคซีน COVID-19 ซึ่งดำเนินภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ OECD 36 ประเทศและประเทศสมาชิกสมทบอีก 6 ประเทศ เป็นการให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะ OECD Good Laboratory Practice สร้างความสามารถหน่วยทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ และความสามารถห้องปฏิบัติการตามหลักการ OECD GLP ของประเทศไทยด้วย

2

456

          ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและนวัตกรรมศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์กล่าวว่า “โควิด-19 (COVID-19) เป็นเหตุระบาดที่ทั่วโลกต้องช่วยเหลือในการหาทางป้องกันและรักษา OECD Good Laboratory Practice เป็นกระบวนการที่จะรับรองว่ายา หรือวัคซีนเหล่านนั้นมีมาตรฐานในการตรวจรับรอง และมีความเชื่อมั่นว่ามีความปลอดภัยตามกระบวนการของ OECD Good Laboratory Practice ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การผลิตบุคลากรและสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างหลากหลาย บนพื้นฐานของการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาร่วมพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากสิ่งที่ประเทศมีอยู่ ประเทศไทยมีกระบวนการที่ได้รับความชื่อถือจากทั่วโลก ตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อความมั่นคงทางยา วัคซีน มั่งคั่งจากธุรกิจสืบเนื่อง และมีความยั่งยืนส่งต่อไปยังลูกหลานตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”  

3

8910

          ด้าน นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว.กล่าวว่า “ในนามของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ขอขอบคุณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ทั้งนี้ วว. และ ทีเซลส์ (TCELS) ต่างให้ความสำคัญกับ โควิด-19 (COVID-19) และเห็นถึงความสำคัญการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและห้องปฏิบัติการในประเทศ ให้เท่าทันต่อการเตรียมการค้นหาตัวยา วัคซีน บุคลากรมีความรู้และความเข้าใจในหลักการที่เป็นระบบคุณภาพ มีศักยภาพทั้งการวิจัยและการทดสอบวิจัยระดับก่อนคลินิกเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จากความร่วมมือในครั้งนี้ วว., ทีเซลส์ (TCELS) และหน่วยงานทดสอบวิจัยระดับก่อนคลินิกทั่วประเทศ จะสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในสายงานการทดสอบในเซลล์ ในสัตว์ทดลองงานพิษวิทยา/พยาธิวิทยา ที่สามารถรองรับการทดสอบยาวัคซีนจาดทั่วทั่วโลกได้ และเป็นการขับเคลื่อนงานพัฒนายกระดับโครงสร้างพื้นฐานการทดสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ และบุคลากรเพื่อตอบสนองการขับเคลื่อนนโยบายรัฐต่อไป”

ข้อมูลข่าวโดย : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

“สุวิทย์” รมว.การอุดมศึกษาฯ ผนึก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสยามไบโอไซเอนซ์ ส่งมอบชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เป็นมาตรฐานองค์การอนามัยโลก 20,000 ชุดแรกแก่รัฐบาล

1

สุวิทย์ เมษินทรีย์รมว.การอุดมศึกษาฯ ผนึก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสยามไบโอไซเอนซ์ ส่งมอบชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เป็นมาตรฐานองค์การอนามัยโลก20,000 ชุดแรกแก่รัฐบาล นำไปแจกจ่ายให้ใช้ฟรีโรงพยาบาลทั่วประเทศและห้องปฎิบัติการที่มีเครื่องตรวจกว่า100 แห่ง เผยเดินหน้าผลิตพร้อมทยอยส่งมอบทุกสัปดาห์ให้ครบ100,000 ชุดภายใน เม.ย. นี้

          เมื่อช่วงเช้า (2 เมษายน 2563) ที่ทำเนียบรัฐบาล ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้แทนบริษัทสนามไบโอไซเอนซ์ เดินทางมามอบชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จำนวน 20,000 ชุดให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

2

345

          จากนั้น ดร.สุวิทย์ ให้สัมภาษณ์ว่า อว. โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ วิจัยและพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก สำหรับการหาเชื้อไวรัสนี้ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน เพราะเป็นการยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสจริง โดยมีเป้าหมายจะผลิตให้ครบ 1 ล้านชุด ภายในระยะเวลา 6 เดือน เพื่อให้รัฐบาลนำไปแจกจ่ายให้ใช้ฟรีตามโรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องตรวจทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง ล่าสุด สามารถผลิตและส่งมอบชุดตรวจฯ 20,000 ชุดแรกให้แก่รัฐบาล และจะทยอยส่งมอบทุกๆ สัปดาห์จนครบ 100,000 ชุดภายในเดือน เม.ย.นี้ พร้อมยังคงเดินหน้าผลิตอย่างต่อเนื่องจนครบตามเป้าหมายภายใน 6 เดือน

67

          ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยยังสามารถตรวจผู้เข้าข่ายว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้น้อย ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ชุดตรวจและน้ำยาจากต่างประเทศมีภาวะขาดแคลน การ พัฒนาชุดตรวจนี้ขึ้นมาก็เพื่อลดปัญหาการขาดแคลน เป็นการสร้างความมั่นคงด้านชุดตรวจของประเทศ  นอกจากนี้ ชุดตรวจนี้ยังมีราคาถูกกว่าชุดตรวจที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างมาก ทั้งนี้ชุดตรวจนี้ได้ผ่านการสอบเทียบกับตัวอย่างไวรัสมาตรฐาน และผลิตในสถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐาน อย. และมาตรฐานสากล โดยโครงการวิจัยพัฒนาและผลิตชุดตรวจนี้ได้รับงบประมาณจากหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้โครงการ BCG-Health ของ อว. เป็นจำนวนเงิน 65 ล้านบาท ร่วมกับเงินลงทุนจากบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ 65 ล้านบาท และในอนาคตยังสามารถขยายการผลิตได้มากขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของการตรวจ RT-PCR ตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์คาดว่าจะมีมากถึง 1 ล้านตัวอย่างต่อปี และจะขยายความร่วมมือกับเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อพัฒนาให้การตรวจ RT-PCR สะดวกมากขึ้น

เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

4 STEPS ดูแลสุขภาพใจง่ายๆ ที่บ้าน กับแอป "OOCA"

1

อย่าปล่อยให้COVID-19 ทำสุขภาพจิตพัง

          หลายคนอาจกำลังให้ความสนใจส่วนใหญ่ไปที่ปัญหา “สุขภาพกาย” อย่างการติดเชื้อไวรัส แต่อีกหนึ่งปัญหาที่ซ่อนอยู่และสร้างผลกระทบกับการใช้ชีวิตโดยที่เราไม่รู้ตัว นั่นคือปัญหา “สุขภาพใจ” ซึ่งมาจากทั้งความหวาดระแวงว่าตัวเองจะติดเชื้อ ความวิตกกังวลจากการเสพสื่อออนไลน์ จนเกิดเป็นความเครียดสะสมและทำให้ใครหลายคนต้องหันไปพึ่งทางออกอย่างการปรึกษากับจิตแพทย์

          แต่ในช่วงที่ทุกคนต้องหลีกเลี่ยงการเดินทางไปโรงพยาบาลเพราะเจ้า COVID-19 นี้ NIA ขอพาไปรู้จัก “OOCA” แอปพลิเคชันที่ใช้นัดปรึกษาปัญหาคาใจกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ด้วยการ Video Call ผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งทุกคนสามารถใช้งานแอปฯ ได้ง่ายๆ ใน 4 ขั้นตอน ไปติดตามกันเลย!

พิเศษ สำหรับน้องนักศึกษา และคนไทยในต่างแดน สามารถขอรับสิทธิ์ใช้บริการ OOCA ได้ฟรี!

2

1. ดาวน์โหลดแอปฯ และลงทะเบียนใช้งาน

          ทำการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “OOCA” มาใช้งานบนสมาร์ทโฟน ซึ่งรองรับทั้งระบบปฏิบัติการณ์ iOS และ Android โดยหลังจากติดตั้งแอปพลิเคชันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการลงทะเบียนผู้ใช้งาน (เฉพาะครั้งแรกเท่านั้น) ซึ่งสามารถสมัครสมาชิกได้ด้วยอีเมลส่วนตัว เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือสามารถล็อกอินผ่านบัญชีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กได้

3

2. เลือกจิตแพทย์ - นักจิตวิทยา ผู้ให้คำปรึกษา

          ทำการนัดหมายกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ผ่านตัวเลือก “สร้างการนัดหมาย” โดยสามารถเลือกพบผู้ให้คำปรึกษาที่ออนไลน์อยู่และพร้อมให้บริการได้ ในกรณีที่ต้องการรับคำปรึกษาทันที หรือสำหรับใครที่ไม่สะดวก ก็สามารถทำการนัดหมายไว้ล่วงหน้าได้ โดยกดเลือกหัวข้อปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องการขอรับคำปรึกษา รวมถึงตรวจสอบข้อมูล เช่น ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ประวัติการทำงาน และตารางวัน - เวลา ที่แต่ละท่านพร้อมให้คำปรึกษาได้

4

3. ยืนยันการนัดหมาย และชำระค่าบริการ

          ตรวจสอบรายละเอียดการนัดหมาย ทั้งชื่อผู้ให้คำปรึกษา วันและเวลานัดหมาย ระยะเวลาในการขอรับบริการ ฯลฯ และทำการชำระค่าบริการออนไลน์ โดยปัจจุบัน OOCA รับชำระค่าบริการผ่านบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตเท่านั้น

          หากใครที่สนใจใช้บริการ OOCA หลายๆ ครั้ง ก็สามารถเติมเงินเข้า e-Wallet ด้วยบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต โดยไม่ต้องเสียเวลากรอกข้อมูลบัตรใหม่ทุกครั้งที่จองคิวใช้บริการ

5

4. VIDEO CALL กับผู้ให้คำปรึกษาได้เลยในแอปฯ

          เมื่อใกล้ถึงคิวนัดหมาย OOCA จะส่ง Notification มาแจ้งเตือนล่วงหน้า และเราสามารถกดเข้าห้อง Video Call ได้ ผ่านแถบตัวเลือก “ห้องรอตรวจ” และเลือกคิวผู้ให้คำปรึกษาที่ทำการนัดหมายไว้ โดยแนะนำว่าให้เข้าแอปฯ มารอคุณหมอล่วงหน้าอย่างน้อย 5 - 10 นาที ตรวจสอบสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือ Wi-Fi ที่ใช้งาน และควรใช้หูฟังเพื่อคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด

          หลังจากรับคำปรึกษาเรียบร้อยแล้ว OOCA จะส่งสรุปบันทึกการให้คำปรึกษา รวมถึงข้อแนะนำในการบริหารสุขภาพจิต มายังอีเมลที่ทำการลงทะเบียนไว้ เพื่อให้เรานำไปปรับใช้บริหารสุขภาพจิตระหว่างวันได้อย่างเหมาะสม

6

5. น้องนักศึกษา - คนไทยในต่างแดน ใช้ฟรี

          สิทธิพิเศษสำหรับน้อง ๆ นิสิตและนักศึกษาวัยเรียน สามารถใช้บริการได้ฟรี ภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า Wall of Sharing ไม่ว่าจะเครียดเรื่องอะไร ก็ให้ OOCA ดูแลสุขภาพใจได้ หายห่วง! เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://bit.ly/2XxovKe

          รวมถึงยังมีโควตาดี ๆ สำหรับคนไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน ที่สามารถขอรับคำปรึกษาสุขภาพจิตกับคุณหมอคนไทยบน OOCA ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันมี 6 ประเทศพื้นที่ที่เข้าร่วม ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมัน มาเลเซีย ฮ่องกง มาเก๊า และสหรัฐอเมริกา ดูขั้นตอนการขอรับสิทธิ์ได้เลยที่ https://bit.ly/2wHDW7Q

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ITAP ผุดโครงการสนับสนุนการทดสอบผลิตภัณฑ์​ทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในสถานการณ์ Covid-19

1

Covid เราต้องรอด!

โครงการดีๆ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทดสอบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในสถานการณ์ Covid-19

ITAP สนับสนุนงบประมาณสูงสุดถึง 70% แต่ไม่เกิน 400,000 บาทต่อโครงการ

หากท่านเป็นผู้ประกอบการด้าน ยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพร เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์ทางการการแพทย์ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

- สามารถกรอกใบสมัครเข้าร่วมโครงการกับเรา กรอกใบสมัคร

- และส่งมาที่ Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  โดยตั้งหัวข้อ Email นำหน้าด้วยคำว่า “COVID-19”

  • กรอบการดำเนินงาน Link สำรอง
  • ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
    เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
    ส่วนสื่อสารองค์กร
    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
    Facebook : @MHESIThailand
    Call Center โทร.1313
 

STeP ต่อยอดเทคโนโลยี 3D Printing ผลิตหน้ากาก Face Shield ส่งต่อให้บุคลากรทางการแพทย์สู้ภัยโควิด - 19

1

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) นำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) จากเครื่อง 3D Printer สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลมาประยุกต์ผลิตหน้ากากชนิดปกป้องทั้งใบหน้า (Face Shield) สำหรับป้องกันละอองฝอยและสารคัดหลั่ง เพื่อมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด - 19 ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

2

          เมื่อวันที่วันที่ 9 เมษายน 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานฯ นำคณะผู้บริหารและบุคลากร มอบหน้ากากชนิดปกป้องทั้งใบหน้า (Face Shield) ซึ่งเป็นผลผลิตจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) ให้แก่ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัยวัฒน์ บำรุงกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อส่งต่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ในการป้องกันละอองฝอยและสาร คัดหลั่งจากการรักษาผู้ป่วย ณ อาคารบุญสม มาร์ติน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

          ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ กล่าวว่า ในสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบให้แพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องเผชิญการทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง อุทยานฯ ได้เล็งเห็นประโยชน์จากเทคโนโลยีและเครื่องมือจากห้องปฏิบัติการ The Brick FABLAB ซึ่งตั้งอยู่ ณ ชั้น 1 อาคาร C อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) จึงดำเนินการผลิตหน้ากาก Face Shield เป็นการเร่งด่วนโดยใช้เครื่อง Prusa i3 MK3 และ Flashforge Creator Pro ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ประเภทระบบฉีดเส้นพลาสติกผ่านหัวฉีดที่มีความร้อนสูงในการสร้างงานแต่ละชั้น (Fused Deposition Modeling: FDM) และเมื่อใช้ควบคู่กับหน้ากากอนามัย สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันละอองฝอยและสารคัดหลั่ง อาทิ น้ำลาย เสมหะ เลือด และน้ำตา ฯลฯ จากผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้เป็นอย่างดี โดยตั้งเป้าหมายจะสามารถส่งมอบหน้ากาก Face Shield ให้กับบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากถึง 500 ชิ้น ภายในระยะเวลา 2 เดือน

 3

          ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ กล่าวเสริมอีกว่า หน้ากาก Face Shield ที่ได้ผลิตขึ้นสามารถนำกลับมาใช้ได้หลายครั้ง โดยการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีการอบก๊าซ ใช้น้ำยาทำลายเชื้อระดับสูง หรือการพาสเจอร์ไรซ์ (Pasteurization) ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้สายรัดศีรษะยังออกแบบมาเพื่อให้สามารถปรับได้พอดีหลายระดับ โดยวัสดุมีความแน่นหนา และคงทน รวมทั้งแผ่นพลาสติกใสที่นำมาใช้ปกคลุมใบหน้านั้นได้ผ่านกระบวนการตัดจากเครื่องตัดเลเซอร์ MC70 ซึ่งสามารถตัดวัสดุได้ทั้งที่เป็นไม้ ยาง ผ้า และอะคลิริค

4

          สำหรับห้องปฏิบัติการ The Brick FABLAB อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในการสนับสนุนจัดซื้อเครื่องพิมพ์ 3D Printer และจัดตั้งโครงการวิจัยร่วม เพื่อให้บริการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยรูปแบบ 3 มิติ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ นักศึกษา และผู้สนใจที่ต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือผลงานต้นแบบ โดยการผลิตหน้ากาก Face Shield ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ดังกล่าว นับเป็นตัวอย่างของการสร้างผลงานต้นแบบจากเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของอุทยานฯ เชิงประจักษ์สู่การช่วยเหลือและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างแท้จริง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายสร้างสรรค์และการสื่อสาร อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรืออีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข้อมูลข่าวโดย : อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

WIN MASK ชุดแรกผ่านการฉายรังสี จากศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ เรียบร้อยแล้ว พร้อมส่งให้โรงพยาบาลศิริราชใช้เป็นที่แรก

1

วิน - มาสก์ (WIN - MASK) หน้ากากนวัตกรรม ที่คิดค้นร่วมกันระหว่าง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล้านนา, ศูนย์บริการและวิจัยไรฝุ่น โรงพยาบาลศิริราช, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน.

          WIN - MASK มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาค ที่สามารถป้องกันหรือกรองฝุ่นละอองฝอยขนาด 5 ไมครอนได้ สามารถป้องกันการซึมผ่านของละอองฝอยเสมหะ หรือสารคัดหลั่งที่เป็นของเหลวจากภายนอกสู่ผู้สวมใส่ และจากผู้สวมใส่สู่ภายนอก มีความกระชับ สามารถสวมใส่ได้แนบกับใบหน้า ป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าได้ มีการซึมผ่านของอากาศได้ดี ทำให้มีการระบายของอากาศได้ดีและไม่ทำให้การหายใจลำบาก และสามารถซักซ้ำได้โดยไม่สูญเสียคุณสมบัติตามที่กล่าวข้างต้น

          วิน - มาสก์ ผลิตโดย บริษัท ซาบีน่า ฟาร์อีส จำกัด หรือผู้ผลิตชุดชั้นในสตรีแบรนด์ ซาบีน่า ซึ่งมีโรงงานตัดเย็บที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน หลังจากดำเนินการตัดเย็บ วิน - มาสก์ ชุดแรกเรียบร้อย ทางบริษัทฯได้นำส่งหน้ากากชุดดังกล่าวจำนวน 7,000 ชิ้น เพื่อนำมาฆ่าเชื้อโรคด้วยการฉายรังสีอิเล็กตรอน ที่ศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) เทคโนธานี คลอง 5 จ.ปทุมธานี

          หลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ และทำการกำหนดรูปแบบและปริมาณรังสีที่จะฉายโดยการทำ dose mapping แล้ว ทางศูนย์ฉายรังสีจะทำการฉายรังสีอิเล็กตรอน ในปริมาณเฉลี่ย 10 กิโลเกรย์ และใช้ระยะเวลาในการฉายรังสีประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากฉายรังสีเสร็จเรียบร้อยแล้ว หน้ากากชุดนี้จะถูกนำส่งไปยังบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราชทันที ซึ่งทางศูนย์ฉายรังสีจะให้บริการฉายรังสี โดยไม่คิดมูลค่าสำหรับผลิตภัณฑ์ วิน - มาสก์ จนครบ 100,000 ชิ้นตามแผนการผลิตที่ได้กำหนดไว้

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

กรมควบคุมโรค ใช้แอปฯ DDC-Care ของ สวทช. (อว.) ติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด - 19 ป้องกันคนไทย เพื่อคนไทย

1

          ในปี 2563 มีเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาฝุ่น PM2.5 หรือแม้กระทั่งไฟป่าที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ไม่น้อย แต่หนึ่งเหตุการณ์ที่มีผลกระทบกันทั้งโลกคงหนีไม่พ้น การระบาดของโรคอุบัติใหม่ ที่รู้จักกันดีในชื่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไวรัสโควิด-19 ที่คร่าชีวิตของผู้คนทั่วโลกไปแล้วกว่า 8 หมื่นราย และส่งผลมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจและเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่กำลังเผชิญกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตัวเลขของผู้ติดเชื้อในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 2,862 ราย เสียชีวิตแล้วกว่า 49 ราย (โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2563) ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อรวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องรับมือในการเฝ้าระวังผู้มีความเสี่ยงไม่ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนัก

          ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เข้ามาช่วยคัดกรองผู้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมควบคุมโรค สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาแอปพลิเคชัน DDC-Care: ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินสุขภาพผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 และเริ่มใช้งานจริงที่สถาบันบำราศนราดูรที่แรก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา

2

          ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า DDC-Care เป็นระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินสุขภาพผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด -19 ซึ่งจะต้องกักตัวเองอยู่ภายในที่พักอาศัยเป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งกรมควบคุมโรคจะประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลสุขภาพที่ได้จากระบบ เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อมีอาการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่มาตรวจที่โรงพยาบาล และโรงพยาบาลพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง จะได้รับคำแนะนำให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน DDC-Care กลุ่มที่ 2 คือผู้ป่วยที่เดินทางเข้ามาตรวจและผลตรวจออกเป็น Positive และกลุ่มผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น ญาติที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน จะได้รับคำแนะนำให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน DDC-Care เพื่อติดตามประเมินสุขภาพตลอด 14 วัน ทั้งนี้ต้องรายงานสุขภาพทุกวัน ซึ่งกรมควบคุมโรค ได้นำมาใช้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้วที่สถาบันบำราศนราดูร และในส่วนภูมิภาคสำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ได้ดำเนินการระดับจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ สคร. 2 (พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย) สคร. 8 (อุดรธานี บึงกาฬ) ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยเจ้าหน้าที่ของกรมฯ จะทำการส่ง link ผ่านทาง SMS ซึ่งจะต้องมีการสมัครและ Log in เข้าไปใช้งาน กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจะต้องรายงานสุขภาพให้กับกรมฯ ได้ทราบในทุกวัน ปัจจุบันได้ส่งแอปฯ ให้กับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงฯ จำนวน 1,305 ราย และมีผู้ที่ความเสี่ยงมากกว่า 495 ราย ได้รายงานผลของสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบัน ในระบบ Dashboard ซึ่งแอป DDC-Care นี้รองรับ 3 ภาษา (ไทย อังกฤษ และจีน)

34

          สำหรับแอปพลิเคชัน DDC-Care มีวัตถุประสงค์อยู่สองประการคือ ประการแรกจะมีการปักหมุดบริเวณที่คุณจะกักตัวในระยะเวลา 14 วัน ว่าคือบริเวณใด ระบบจะส่งสัญญาณติดตามทุก ๆ 10 นาที ด้วยการส่ง Location เพื่อยืนยันว่าคุณอยู่ในบริเวณที่กักตัวจริง ถ้าออกนอกบริเวณในระยะ 50 เมตร ระบบจะขึ้นเตือนว่าคุณออกนอกบริเวณที่กักตัว และส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่รับทราบได้เช่นกัน ประการที่ 2 ในระยะ 14 วัน ทางกรมควบคุมโรค ต้องการให้บุคคลที่มีความเสี่ยงตรวจเช็กและประเมินสุขภาพตนเอง โดยจะมีรายละเอียดของคำถาม เช่น วัดอุณหภูมิได้เท่าไร มีอาการเจ็บคอ หรือไอบ้างไหม เป็นต้น เมื่อได้รับข้อมูลจะประเมินผล หากมีความเสี่ยงสูงว่าจะติดเชื้อโควิด-19 ทางกรมฯ ก็จะติดต่อกลับไป เพื่อช่วยเหลือในขั้นตอนอื่นต่อไป สำหรับในส่วนของข้อมูลที่กรอกเข้าระบบนั้น ข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับ และผู้ที่เข้าใช้ข้อมูล จะมีเพียงโรงพยาบาล ซึ่งจะเห็นแค่ข้อมูลคนไข้ของตนเองเท่านั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะเห็นเฉพาะผู้มีความเสี่ยงที่อยู่ในจังหวัด สำนักของกรมควบคุมโรคที่มี 13 เขตทั่วประเทศ จะเห็นข้อมูลแค่ในเขตของตนเอง และสุดท้ายคือ กรมควบคุมโรค ที่จะเห็นข้อมูลตรงนี้เพื่อจะได้บริหารจัดการรับมือการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ดร.จุฬารัตน์ กล่าวเพิ่มเติม

5

          นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาณสุข กล่าวว่า กรมควบคุมโรค ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด-19 โดยมุ่งเน้นเป้าหมายสำคัญเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน ลดการแพร่ระบาด ลดความสูญเสียทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และอาจรวมไปถึงเรื่องความมั่นคงของประเทศด้วย กรมควบคุมโรคให้ความสำคัญเรื่องของการติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงสูงไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ หรือผู้ที่สัมผัสจากตัวผู้ป่วยโดยตรงเป็นเรื่องที่ต้องทำ ถือเป็นมาตรการทางสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดที่จะช่วยตัดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งในส่วนของการติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในอดีตเราใช้วิธีการส่งบุคลากรเข้าไปตรวจสอบผู้ที่มีความเสี่ยงถึงที่พักอาศัยเพื่อสอบถามอาการ และตรวจสอบว่ามีการเดินทางออกนอกที่พักหรือไม่ ซึ่งมีข้อเสียคือ ไม่สามารถทำได้หลาย ๆ ครั้งใน 1 วัน ฉะนั้นการมีแอปพลิเคชันนี้ถือว่าช่วยได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสื่อสารทั้ง 2 ทาง โดยที่ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถสอบถามข้อมูลและแจ้งอาการกับเจ้าหน้าที่เวลาใดก็ได้ ส่วนเจ้าหน้าที่ก็สามารถติดตามและเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา

67

          DDC-Care เป็นเพียงหนึ่งผลงานที่เกิดจากการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ แม้ว่าในปัจจุบันการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะยังไม่มีแนวโน้มว่าจะจบในเร็ววันนี้ แต่เหตุระบาดในครั้งนี้ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ทุกหน่วยงานในประเทศพร้อมที่จะนำความรู้ความสามารถที่มีเข้ามาช่วยเหลือด้านระบบสาธารณสุขอย่างเต็มที่ เพื่อทำให้การระบาดจบได้โดยเร็ว และเพื่อให้คนในประเทศกลับมาใช้ชีวิตในสังคมร่วมกันได้อย่างปกติสุขอีกครั้งหนึ่ง

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ใส่ใจความปลอดภัยคุมเข้มการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19

1

          เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ความสำคัญกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้มาติดต่อขอรับบริการ และข้าราชการ พนักงานทุกคน จึงได้มีการดำเนินการเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสฯ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขและประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ฯ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสฯ อย่างเคร่งครัด

          กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ดำเนินการติดตามให้หน่วยงานภายในทุกสำนัก/กอง ควบคุมดูแลการปฏิบัติตามประกาศมาตรการดังกล่าวอย่างเข้มงวด หากมีเจ้าหน้าที่เดินทางกลับจากประเทศที่ถูกประกาศ เช่น ประเทศกลุ่มเสี่ยง ให้ปฏิบัติงาน ณ ที่พักเป็นเวลา 14 วัน และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด

          ในการนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้จัดให้มีจุดบริการเจลล้างมือภายในศูนย์บริการ One Stop Service และบริเวณหน้าลิฟต์ชั้น 1 ทุกอาคาร และแจกจ่ายเจลล้างมือขนาดพกพาให้แก่บุคลากรทุกคน รวมทั้งมีการดูแลทำความสะอาดบริเวณจุดเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไวรัสอย่างเข้มงวด ขอให้ผู้มาขอรับบริการกรมวิทยาศาสตร์บริการมีความมั่นใจในการดำเนินการตามมาตรการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ

ข้อมูลข่าวโดย : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

กลุ่มนวัตกรเครือข่าย FabLab สวทช. นำองค์ความรู้และเครื่องมือห้องปฏิบัติการ พัฒนาโล่หน้ากาก และกล่องป้องกันเชื้อกระจาย มอบสู่บุคลากรการแพทย์

1

          “โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab)” โดยการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ได้สนับสนุนโรงเรียนและวิทยาลัยเทคนิครวม 150 แห่งทั่วประเทศ เพื่อมุ่งเสริมและพัฒนานวัตกร ด้วยการสนับสนุนเครื่องมือทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องพิมพ์ 3 มิติ และเครื่องตัดเลเซอร์ แก่สถานศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาทักษะทางด้านวิศวกรรม เกิดแนวคิดในการออกแบบ คิดค้น สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จนเกิดเป็นชิ้นงานที่สามารถตอบโจทย์แก้ไขปัญหาหรือช่วยเหลือสังคมในชุมชนของตนเองได้ และล่าสุดกลุ่มนวัตกรเครือข่าย FabLab ที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคต่าง ๆ ได้นำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นและเครื่องมือทางวิศวกรรมในห้องปฏิบัติการ FabLab ร่วมใจกันพัฒนาโล่หน้ากากป้องกันเชื้อ (Face Shield) และกล่องป้องกันเชื้อกระจาย (Aerosol Box) มอบแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในขณะปฏิบัติงาน มุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งเพื่อให้กำลังใจและเสริมความมั่นใจให้บุคลากรการแพทย์ไทยกับบทบาทนักรบแนวหน้าในวิกฤตโรคระบาด COVID-19

          ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยว่า โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย หรือ ‘FabLab’ เป็นโครงการภายใต้ Big Rock ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยได้สนับสนุนเครื่องมือทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ให้แก่สถานศึกษาจำนวน 100 โรงเรียน และ 50 วิทยาลัยเทคนิค เช่น 3D Printer (เครื่องพิมพ์ 3 มิติ), Laser Cutter (เครื่องตัดเลเซอร์) ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์พี่เลี้ยงจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 10 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยได้พัฒนาทักษะด้านวิศวกรรม ส่งเสริมความเป็นนวัตกร เกิดแนวคิดในการออกแบบ คิดค้น สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม จนเกิดเป็นชิ้นงานที่สามารถตอบโจทย์แก้ไขปัญหาหรือช่วยเหลือสังคมในชุมชนของตนเองได้ และล่าสุดกลุ่มนวัตกรเครือข่าย FabLab ที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคต่าง ๆ ได้นำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นและเครื่องมือทางวิศวกรรมในห้องปฏิบัติการ FabLab มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์โล่หน้ากากป้องกันเชื้อ COVID-19 (Face Shield) และกล่องป้องกันเชื้อกระจาย (Aerosol Box) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุขจากการติดเชื้อจากผู้ป่วย ป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อจากผู้ป่วยสู่บุคลากรการแพทย์ โดยได้ส่งมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์แล้วหลายพื้นที่ และกำลังประดิษฐ์เพื่อนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ ต่อไป

2

          โดยโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ที่มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้ทำการพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์การแพทย์ พร้อมมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์แล้วด้วยกันหลายแห่ง และจนถึงปัจจุบันยังมีการผลิตนวัตกรรมชิ้นงานที่ถูกพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง จากต้นแบบปรับปรุงที่ทีมแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่าสามารถใช้ป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ เพื่อส่งเพิ่มเติมให้กับโรงพยาบาลในการป้องกันและลดความเสี่ยงในขณะปฏิบัติงาน เช่น ที่โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (FabLab) บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. ได้ทำการทดลองพิมพ์ชิ้นงาน Face Shield ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ จากต้นแบบที่ได้รับการสนับสนุนมาจากกลุ่ม Makers สู่การปรับแบบให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ซึ่งอุปกรณ์หลักประกอบด้วยแผ่นใสและยางยืด โดยได้เตรียมส่งมอบให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลปทุมธานี โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลสามโคก และแผนกแพทย์กองบริการ หน่วยบัญชาการทหารอากาศโยธิน เป็นต้น

3

          ที่ จ.ลำพูน โรงเรียนประจำจังหวัด 2 แห่ง ได้ผนึกกำลังโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรมและสะเต็มศึกษา (Fabrication Lab CKK & STEM Education) คือ โรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน และโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สวทช.ภาคเหนือ ร่วมกันสร้างอุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยง (Aerosol box) เพื่อคัดกรองผู้ป่วย COVID-19 ซึ่งจะส่งมอบให้ห้องฉุกเฉิน (ER) โรงพยาบาลลำพูน ตามรายนามสถานพยาบาลที่แสดงความจำนงขอรับการสนับสนุน

4

          ที่โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FabLab Satit CMU) ภายใต้โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาสาสมัครร่วมระดมทุนนับแสนบาท ดำเนินการผลิต Aerosol box เพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมและป้องกัน ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ในการต่อสู้กับ COVID-19 โดยจะส่งมอบให้กับโรงพยาบาลในเขตภาคเหนือ ตามความต้องการของทีมแพทย์ที่แจ้งความจำนง

5

          ที่วิทยาลัยเทคนิคลำปาง ผู้บริหารและคณะครูแผนกเมคคาทรอนิกส์ ส่งมอบอุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยง Aerosol box เพื่อคัดกรองผู้ป่วย COVID-19 และใช้ป้องกันเชื้อของเจ้าหน้าที่มอบให้กับโรงพยาบาล จ.ลำปาง ด้วยการสร้างอุปกรณ์โดยโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (FabLab) วิทยาลัยเทคนิคลำปาง ผ่านการประสานงานจากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สวทช.ภาคเหนือ

6

          ที่โครงการ FabLab โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ภายใต้โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการผลิต Face Shield แบบโครงพลาสติก โดยปริ้นท์จาก 3D printer ของ FabLab เพื่อนำไปบริจาคให้โรงพยาบาลที่ขาดแคลน

7

          ที่มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมมือกับ สวทช.ภาคเหนือ และ FabLab-CMU มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการผลิตกล่องป้องกันเชื้อกระจายแบบสอดท่อ (Aerosol Box) โดยใช้อุปกรณ์และเครื่องมือห้องปฏิบัติการ FabLab ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ในการสร้าง เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลพะเยา และโรงพยาบาลเชียงคำ

8

          ในส่วนภาคกลาง ที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 จ.ฉะเชิงเทรา ทางผู้บริหารและคณะครูห้องปฏิบัติการ FabLab ได้ส่งมอบกล่อง Aerosol box จำนวน 2 ใบ และ Face Shield จำนวน 30 ชิ้น ให้แก่แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลพุทธโสธร เพื่อใช้ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยผลงานทั้ง 2 ชิ้นนี้ได้ประดิษฐ์จากเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ FabLab และหลังจากนี้ยังจะคงเดินหน้าประดิษฐ์ต่อไป เพื่อนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ

9

          รวมถึงที่เขตภาคใต้ อย่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ผสานพลังรวมกับ FabLab ในความดูแล ดำเนินการผลิตและจัดทำอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ อาทิ FabLab วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี ผลิตและจัดทำกล่อง Aerosol box จำนวน 70 กล่อง และ Face shield จำนวน 200 ชิ้น ส่งมอบให้โรงพยาบาลในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ และมอบให้หน่วยกู้ชีพกู้ภัยในพื้นที่ จ.ปัตตานี รวมถึงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปัตตานี เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจ พร้อมจัดทำต้นแบบเครื่องกดเจลล้างมืออัตโนมัติ ส่งมอบให้ที่ปรึกษา รมช.ศธ. จำนวน 5 เครื่อง เพื่อส่งมอบให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ จ.สงขลา ต่อไป

          “ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่กลุ่มนวัตกรเครือข่าย FabLab สวทช. ทั่วประเทศ ได้นำองค์ความรู้และเครื่องมือห้องปฏิบัติการ FabLab มาใช้เพื่อพัฒนาและประดิษฐ์นวัตกรรมอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อร่วมด้วยช่วยกัน ฝ่าวิกฤตนี้ไปให้ได้ ปัจจุบันยังมีชิ้นงานที่กำลังจัดพิมพ์และผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องชิ้นแล้วชิ้นเล่า เพื่อส่งเพิ่มเติมให้กับโรงพยาบาล นอกจากนี้ นับเป็นข่าวดีเพราะบริษัท XYZprinting Thailand ได้ให้การสนับสนุนโครงการ FabLab สำหรับภารกิจครั้งนี้ ด้วยการมอบเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพิ่มเติมให้กับบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรจำนวน 5 เครื่อง และมอบให้กับโรงเรียน วิทยาลัยเทคนิค และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอีก 15 เครื่อง เพื่อดำเนินภารกิจทำอุปกรณ์เพื่อป้องกันการสัมผัสกับเชื้อไวรัส COVID-19 อีกด้วย” ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ กล่าวทิ้งท้าย

          ทั้งนี้ Face Shield เป็นโล่หน้ากากที่สวมไว้เพื่อป้องกันฝอยละอองเชื้อ COVID-19 แพร่กระจายโดนใบหน้า ขณะที่ Aerosol Box เป็นกล่องป้องกันเชื้อกระจายแบบสอดท่อ ในรูปแบบกล่องอะคริลิกใส ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่ทำการเจาะช่องให้สอดมือเข้าไปได้ โดยวิธีใช้จะใช้ครอบบริเวณศีรษะของผู้ป่วย ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถสอดมือเข้าไปในช่องเพื่อทำการรักษาหรือใส่ท่อช่วยหายใจให้กับผู้ป่วย ซึ่งอุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิดที่ทางสถานศึกษาในโครงการ FabLab ได้พัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้และเครื่องไม้เครื่องมือทางวิศวกรรมที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นอีกหนึ่งพลังที่จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันบุคลากรการแพทย์ในการรับเชื้อ COVID-19 ที่กระจายมาจากผู้ป่วยได้ เพิ่มความมั่นใจขณะปฏิบัติงานของบุคลากรการแพทย์

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

กิจกรรมสนับสนุนเพื่อเร่งการนำผลงานวิจัยมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินต้านภัยไวรัสโควิด-19 (Research Gap Fund fights COVID-19)

1

กิจกรรมสนับสนุนเพื่อเร่งการนำผลงานวิจัยมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินต้านภัยไวรัสโควิด-19 (Research Gap Fund fights COVID-19) เปิดรับข้อเสนอโครงการถึง 20 เมษายน 2563

1. อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม  คลิกที่นี่

2. ดาวน์โหลด แบบข้อเสนอโครงการ คลิกที่นี่

3. ดาวน์โหลด ตารางคำนวณรายละเอียดค่าใช้จ่ายโครงการ คลิกที่นี่

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

งานแถลงข่าว นวัตกรรมหน้ากากผ้านาโนกันไรฝุ่น (WIN-Masks : Washable Innovative Nano-Masks) เพื่อป้องกัน COVID-19

1

          โดยการสนับสนุนของ วช. ดำเนินการร่วมวิจัยและพัฒนา “นวัตกรรมหน้ากากผ้านาโนกันไรฝุ่น WIN-Masks” เพื่อป้องกัน COVID-19 @ งานแถลงข่าว "นวัตกรรมหน้ากากผ้านาโนกันไรฝุ่น WIN-Masks เพื่อป้องกัน COVID-19" ณ อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 2  รพ.ศิริราช / วันที่ 17 มี.ค. 2563 

          คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์ความเป็นเลิศชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล้านนา และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (สทน.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ได้ดำเนินการพัฒนา “นวัตกรรมหน้ากากผ้านาโนกันไรฝุ่นWIN-Masks” โดยใช้ผ้ากันไรฝุ่นศิริราชชนิดทอแน่น ที่มีรูผ้า (Pore size) ขนาด 4-5 ไมครอน ที่สามารถกรองฝุ่นและละอองฝอยจากเสมหะขนาดเล็กได้ ซักล้างได้ มีคุณภาพมาตรฐานที่ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้น ยังเคลือบสารนาโนกันน้ำ (water repellent) เพื่อป้องกันการซึมผ่านของละอองไอจาม และ ZnO ที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เพื่อเป็นหน้ากากทางเลือกให้กับบุคลกรทางการแพทย์ที่ไม่ได้สัมผัสกับผู้ป่วย (confirm cases) โดยตรง ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ความเสี่ยงต่ำและประชาชนที่ต้องอยู่ในกลุ่มชน หรือ พบปะผู้คนจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนาแล้ว ยังเป็นการลดขยะปนเปื้อนจากหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง(disposable) ได้อีกด้วย

          โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ ทีเซลส์ (TCELS) มีแผนที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับโรงงานผลิตหน้ากากผ้าที่ได้มาตรฐาน ขยายผลการผลิตนวัตกรรมหน้ากาก WIN-Masks โดยอาศัยกลไก Crowd Funding เพื่อขยายผลการผลิตให้กับประชาชน ในระยะต่อไปด้วย

2

354

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับCOVID-19

          1. ไวรัส COVID-19 มีขนาด 0.05-0.2 ไมครอน ขนาดเฉลี่ย 0.1 ไมครอน

          2. ติดต่อผ่านการสูดดมละอองฝอยจากเสมหะ (Droplet) ที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ หรือสัมผัสเสมหะหรือสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัส แล้วมาสัมผัสจมูกปากหรือขยี้ตา ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อไวรัสนอกจากการสวมหน้ากากอนามัยแล้ว ต้องร่วมกับการล้างมือ ทุกครั้งอย่างน้อย 20 วินาทีก่อนสัมผัสจมูกปากหรือขยี้ตา

          3. ละอองฝอย (Droplet) จากเสมหะที่ไอ (coughs) จาม (sneezes) มีขนาด > 5-10 ไมครอน แต่ส่วนใหญ่มีขนาด 50 ถึง 100 ไมครอน ขนาด 100 ไมครอน มีระยะรัศมีเคลื่อนที่ได้ไกล 1-2 เมตร ขนาด 50 ไมครอน มีระยะรัศมีเคลื่อนที่ได้ไกลถึง 4 เมตร และละอองฝอยขนาด 5 ไมครอน อาจมีระยะรัศมีได้ไกล > 8 เมตร

          4. ผู้ที่ได้รับเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการสามารถแพร่เชื้อได้ แต่มีปริมาณเชื้อและโอกาสแพร่เชื้อได้ต่ำกว่าผู้ที่แสดงอาการ

          5. การพูดคุย 5 นาทีสามารถพ่น ละอองฝอยได้ถึง 3,000 หยด (Droplets) กระจายในระยะรัศมีไม่เกิน 1 เมตร ดังนั้นการหลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชนจึงเป็นวิธีที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ

          6. ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อไวรัสที่เข้าไปสู่เนื้อปอดและภูมิต้านทานของผู้รับเชื้อ

          7. จากการศึกษาเทียบเคียงด้วยโคโรนาไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ พบว่าเชื้อมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อม บนพื้นผิวทั่วไป เช่น เหล็ก แก้ว พลาสติก ที่อุณหภูมิปกติได้นานสูงสุดถึง 9 วัน และที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ได้ 4-96 ชั่วโมง หากเชื้ออยู่ในตู้เย็น หรือ สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส อยู่ได้นานกว่า 1 เดือน สามารถทำความสะอาดฆ่าเชื้อได้ด้วยแอลกอฮอล์ 70% และ 0.1% sodium hypochlorite

678

การเลือกใช้หน้ากากผ้าในการป้องกันไวรัสCOVID-19 ต้องพิจารณาคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้

          1. ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของหน้ากาก (Particle filtration efficiency: PFE) ที่สามารถป้องกันหรือกรองฝุ่นละอองฝอยขนาด 5 ไมครอนได้

          2. สามารถป้องกันการซึมผ่านของละอองฝอยเสมหะ หรือ สารคัดหลั่งที่เป็นของเหลว (Fluid resistance) จากภายนอกสู่ผู้สวมใส่และจากเสมหะผู้สวมใส่สู่ภายนอกได้

          3. ความกระชับของหน้ากาก (Fit test) สามารถสวมใส่ได้แนบกับใบหน้า ป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าได้

          4. มีการซึมผ่านของอากาศได้ดี (Permeability Test) ไม่ทำให้การหายใจลำบาก

          5. สามารถซักซ้ำได้โดยไม่สูญเสียคุณสมบัติทั้ง 4 ด้าน

คุณสมบัติผ้ากันไรฝุ่นศิริราช

  •           - ทําจากผ้าทอแน่นพิเศษ (Tightly woven) โดยใช้เส้นด้ายขนาดจิ๋ว (Microfibers) ให้มีจํานวนเส้นด้าย (Thread count) มากกว่า 270 เส้น/ตร.นิ้ว
  •           - มีขนาดรูผ้า (Pore size) 4-5 ไมครอน ซึ่งเล็กกว่าละอองฝอยของเสมหะ (droplet)
  • 11109

ส่วนประกอบ 3 ชิ้นที่สำคัญของหน้ากากอนามัยจากผ้านาโนกันไรฝุ่น WIN-Masks

          1. ผ้ากันไรฝุ่นศิริราชเคลือบสาร Nano มีคุณสมบัติกันน้ำ และกรองฝุ่นละอองฝอยขนาด 5 ไมครอนได้

          2. ผ้าไมโครไฟเบอร์ ผสม ZnO มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

          3. ผ้า cotton เบอร์ 30 คุณสมบัติดูดซับสารคัดหลั่งหรือความชื้นที่มาจากผู้ใช้

การออกแบบและดีไซน์ เพื่อให้แนบกับใบหน้าและสวมใส่สบาย

          แนวคิดและรูปแบบในการออกแบบ หน้ากาก WIN-Masks ออกแบบโดย ทีมออกแบบของ ทีเซลส์ (TCELS) มุ่งเน้นการออกแบบที่ทันสมัยและสวมใส่สบาย มี 3 ขนาด คือ Small Medium และ Large

13

ผลการทดสอบคุณสมบัติหน้ากากWIN-Masks

ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของหน้ากาก (Particle filtration efficiency)

    •           เบื้องต้น หน้ากากต้นแบบสามารถป้องกันหรือกรองฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 65% ซึ่งมีค่าใกล้เคียง Surgical mask ทั่วไป และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ไม่ต่ำกว่า 80% ในชุดส่งมอบหน้ากาก 5,000 ชิ้น
  • ความสามารถในการป้องกันการซึมผ่านของเหลว (Fluid resistance)
    •           - ผลการทดสอบโดยการหยดน้ำลงบนพื้นผิวผ้ากรองไรฝุ่นที่เคลือบด้วยสารนาโน พบลักษณะน้ำกลิ้งบนใบบัว โดยที่น้ำไม่ซึมไปในเนื้อผ้า
  •           - ความกระชับของหน้ากากเมื่อสวมใส่ (Fit test)
    •           - ค่า Fit efficiency คือ การทดสอบประสิทธิภาพการกรองอากาศจากภายนอกเมื่อสวมใส่ในคนทั่วไป พบว่า WIN-Masks สามารถป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าได้ประมาณ 68% ซึ่งดีกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไปที่สามารถป้องกันอากาศจากภายนอกได้เพียง 62%
    •           - ค่า Fit Factor เท่ากับ 3.11 หมายความว่า อากาศภายในหน้ากากมีความสะอาดมากกว่าอากาศภายนอก 3 เท่า ซึ่งมีค่าดีกว่า หน้ากากอนามัยทั่วไป (Surgical Mask) ซึ่งได้ค่า 2.65
  •           - ทดสอบการซึมผ่านของอากาศ (Permeability Test)
    •           - ผลทดสอบการซึมผ่านของอากาศ ของผ้ากันไรฝุ่นศิริราช ตามมาตรฐาน ISO 9237 : 1995 (E) โดยสถาบันพัฒนาสิ่งทอ แห่งประเทศไทย ได้ค่าเฉลี่ย 0.709 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต่อตารางเซนติเมตร ต่อวินาที (โดยค่า = 0 แปลว่าไม่สามารถซึมผ่านได้ ค่า = 1 แปลว่ามีอากาศซึมผ่านที่ดีมาก)
    •           - ทดสอบการหายใจด้วยอาสาสมัครในสภาพการทำงานในที่ร่ม พบว่าสามารถใส่ได้นานไม่รู้สึกอึดอัด
  •           - สามารถซักซ้ำได้ หลายครั้งโดยไม่สูญเสียคุณสมบัติ
    •           - ผลการทดสอบคุณสมบัติหลังการสักซ้ำที่ 0 ครั้ง มีประสิทธิภาพการกรองที่อนุภาค 0.3 ไมครอน ประมาณ 34%
      • 30 ครั้ง มีประสิทธิภาพการกรองที่อนุภาค 0.3 ไมครอน ประมาณ 45%

หมายเหตุ: ประสิทธิภาพการกรองดีขึ้นหลังผ่านการซัก อาจเป็นเพราะการพองตัวและเป็นขุยของใยผ้าฝ้าย ซึ่งสามารถดักจับฝุ่นได้ดีขึ้น

17

หน้ากากอนามัยWIN-Masks ควรใช้กับกลุ่มเสี่ยงใด

  •           กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ที่ให้บริการผู้ป่วยทั่วไป ทั้งที่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และไม่ได้ดูแลผู้ป่วย (confirm cases) อย่างใกล้ชิด เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร พนักงานเคลื่อนย้าย เจ้าหน้าที่เวชระเบียนประชาสัมพันธ์และการเงิน เป็นต้น
  • กลุ่มบุคลากร (Non Healthcare) ที่ต้องให้บริการประชาชนจำนวนมากแบบเผชิญหน้า ( Face to Face) เช่น พนักงานบนเครื่องบิน คนขับแท็กซี่ และพนักงานท่าอากาศยาน เป็นต้น ประชาชนทั่วไป ที่ต้องอยู่ในกลุ่มชน หรือ พบปะผู้คนจำนวนมาก
  • อย่างไรก็ตามการป้องกันการติดเชื้อไวรัสนอกจากการสวมหน้ากากแล้ว ต้องร่วมกับการล้างมือ ทุกครั้ง หรือ ล้างด้วย 70% แอลกอฮอล์ อย่างน้อย 20 วินาที ก่อนสัมผัส จมูกปาก หรือ ขยี้ตา และการปฏิบัติสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด กินร้อน ช้อนฉัน แยกภาชนะบรรจุอาหาร ไม่ใช้อุปกรณ์การรับประทานอาหารร่วมกัน และการหลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชนคนหมู่มาก คือ วิธีที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ

ข้อควรระมัดระวังและการเก็บรักษา ทำความสะอาด

  •           1. หากใส่หน้ากาก มีอาการหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย ให้ถอดหน้ากากออก
  •           2. เมื่อหน้ากากฉีก ขาดชำรุด หรือ ปนเปื้อนด้วยเสมหะ หรือ สารคัดหลั่ง ควรเปลี่ยนหน้ากากอันใหม่
  •           3. หน้ากากผ้าใช้แล้ว ควรใส่ถุงพลาสติก หรือ ถุงซิปล็อค เพื่อปิดปากถุงให้แน่นสนิทและนําไปซักทำความสะอาด
  •           4. การทำความสะอาดใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไปด้วยน้ำอุ่นและใช้ภาชนะทำความสะอาดแยกจากผ้าทั่วไป
  •           5. หลังทำความสะอาด ไม่ควรรีดด้วยเตารีด เพราะจะทำให้สารนาโนที่เคลือบผิวผ้ากันไรฝุ่นเสื่อมสภาพได้
  • ข้อมูลข่าวโดย : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS)
    เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
    ส่วนสื่อสารองค์กร
    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
    Facebook : @MHESIThailand
    Call Center โทร.1313

จิสด้า ชวนทุกคนร่วมแจ้งเบาะแส COVID-19 ประเทศไทย

1

มาร่วมกันทำความดี ด้วยการแจ้งเบาะแส COVID-19 ประเทศไทย

ผ่านไลน์แอด เปิดรับทุกเบาะแส เกี่ยวกับโควิด ทั้ง พรบ., พรก. แจ้งผู้ป่วย หรือแหล่งเสี่ยง ข่าวสารอื่น ๆ เกี่ยวกับโควิด ผ่านช่องทางนี้ฟรี https://lin.ee/ksp6Bzq

          ข้อมูลที่แจ้งจะส่งตรงไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง แบบเรียลไทม์ แล้วทุกเบาะแสจะได้รับการแก้ไข ด้วยความร่วมมือจากคนไทยทุกคน โครงการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน คืนรอยยิ้มสยาม รอคอยวันที่เปิดหน้ากากของคนไทย ร่วมกันเป็นหูเป็นตาให้บ้านของเรา

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ซินโครตรอน ร่วมกับนักวิจัย มทส. ผ่านวิกฤต COVID-19 ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ วิจัยไกลถึงไต้หวัน

1

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลกระทบโดยทั่วไปในหลากหลายวงการไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ การแพทย์ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เห็นจะมีความสำคัญต่ออนาคตของมวลมนุษย์คงหนีไม่พ้นคือวงการด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย โดยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้บางส่วนของการศึกษาวิจัยหยุดชะงักลง ด้วยเหตุที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเดินทางไปใช้อุปกรณ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในสถาบันวิจัยที่ต่างประเทศได้ เพราะการเดินทางมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐประชาชนจีน

2

          Prof. Dr.James R.Ketudat-Cairns หัวหน้าสาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นหนึ่งในนักวิจัยที่ประสบปัญหาดังกล่าว ต้องการที่จะทำการทดลองเพื่อหาโครงสร้างสามมิติของโปรตีน ณ ระบบลำเลียงแสง Protein microcrystallography TPS05A : National Synchrotron Radiation research Center (NSRRC) สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) จึงเข้ามาปรึกษากับนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนว่าจะมีเทคโนโลยีใดที่จะช่วยให้ได้ทำการทดลองโดยไม่ต้องไปเดินทางไปถึงไต้หวันได้ และจึงได้มีความร่วมมือกับนักวิจัยของระบบลำเลียงแสงที่ 7.2W: Macromolecular Crystallography และห้องปฏิบัติการตกผลึกโปรตีน เพื่อทำการทดลองและเก็บข้อมูลโดยวิธีการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายจากระยะไกล (remote access)

          โดยทางสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนให้การสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการจัดส่งตัวอย่างผลึกโปรตีน ไปที่ซินโครตรอนไต้หวัน และทางสถาบันมีความพร้อมทางด้านระบบอินเตอร์เนต คอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ต่างๆ รวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์ของทางสถาบันมีประสบการณ์ในการทำการทดลองที่ NSRRC ก่อน ทำให้สามารถทำการทดลองเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ผ่านผลึกโปรตีนที่ไต้หวันโดยไม่ต้องเดินทางไป ช่วยลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ด้วย

34

          ผลการทดลองส่วนหนึ่งที่ได้ทำให้เราสามารถหาโครงสร้างสามมิติของโปรตีน เบต้า-กลูโคซิเดส (Beta Glucosidae GH116) จากแบคทีเรีย ที่คล้ายกับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงในมนุษย์ (Human glucosylcerebrosidase 2)  ซึ่งจะทำให้เราสามารถเข้าใจกลไกการเกิดโรคต่อไปได้ในอนาคต

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (สซ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ซินโครตรอนทั่วโลกเร่งวิจัยสู้วิกฤตโควิด-19

B0A42994 78D2 4C23 B172 939EE3375AF7

          ในขณะที่เชื้อไวรัสโควิด-19 (Covid-19) ได้ทวีความรุนแรงไปทั่วโลกจากที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่มกราคม 2563 ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกไม่ได้นิ่งนอนใจต่างพยายามที่จะหาทางหยุดยั้งการแพร่ระบาดนี้

          การที่จะได้มาซึ่งยารักษาจำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างของโปรตีนที่สำคัญในเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนจากสถาบันแสงซินโครตรอนในประเทศจีน (Shanghai Synchrotron Radiation Facility) ร่วมกับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซียงไฮเทค (ShanghaiTech University) ได้ถอดรหัสโครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ชนิดโปรตีเอส(Main Protease) ที่เป็นกุญแจสำคัญในการก่อโรคของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกปัจจุบันได้มีการเผยแพร่โครงสร้างสามมิตินี้ให้แก่ทีมนักวิจัยต่างๆทั่วโลกแล้วมากกว่า 300 ทีมเพื่อช่วยกันพัฒนาการออกแบบยาต้านไวรัสชนิดนี้  

          ทางสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนของประเทศอังกฤษ (Diamond Light Source) ได้ค้นพบกลุ่มสารอนุพันธ์ยา 55 ตัวที่มีความเป็นไปได้สูงในการยับยั้งการทำงานของโควิด-19 จากฐานข้อมูลของยาที่มีอยู่มากกว่า 1,000 ชนิด

          นอกจากนี้สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนของประเทศอิตาลี (Elettra Sinchrotrone Trieste) ได้ร่วมกับ 18 หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนในสหภาพยุโรปก่อตั้งโครงการวิจัยชื่อ ‘EXSCALATE4CoV (E4C)’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหายาต้านไวรัสโควิด-19 และพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ต่อสู้ไวรัสที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

          ในขณะเดียวกันสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนจากสหรัฐอเมริกา (Argonne’s Advanced Photon Source) ร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐฯค้นพบว่าโปรตีน Nsp15 ของโรค SARS มีความคล้ายกับโควิด-19 ถึง 89% จึงได้ทำการศึกษาโครงสร้างสามมิติของโปรตีน Nsp15 นี้จากไวรัสโควิด-19 และมีความเป็นไปได้ที่จะใช้อนุพันธ์ของยาที่คล้ายกันมาใช้ยับยั้งโควิด-19 

          แม้ว่าการออกแบบยาและพัฒนาวัคซีนนับว่ามีความสำคัญในการจัดการกับไวรัสชนิดนี้การป้องกันให้ห่างไกลไวรัสก็สำคัญไม่แพ้กันสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนของประเทศไทย (Synchrotron Light Research Institute) ได้ทำการศึกษาโครงสร้างของวัสดุที่ใช้ทำหน้ากากอนามัยด้วยเทคนิคการถ่ายภาพสามมิติด้วยรังสีเอกซ์ความเข้มสูงเพื่อต่อยอดในการออกแบบหน้ากากต้านไวรัสต่อไปโดยผลการทดลองนั้นจะมีการนำเสนอในโอกาสต่อไป

          ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างเร่งวิจัยและเปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาอย่างรวดเร็วที่สุดเพื่อที่จะหยุดการระบาดในครั้งนี้เราต้องผ่านมันไปให้ได้เมื่อคุณอ่านบทความนี้แล้วอย่าลืมล้างมือบ่อยๆนะคะ

ผู้เรียบเรียง : ดร.รัตนาเจริญวัฒนาเสถียรดร.จักรีรดาอัตตรัถยาดร.นันทพรกมลสุทธิไพจิตรดร.แคทลียา  โรจนวิริยะ
ประสานงานส่วนสื่อสารองค์กรโทร 0-4421-7040 ต่อ 1601,1252
เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (สซ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ดร.สุวิทย์ ชี้โลกเปลี่ยน คนปรับ และการใช้ชีวิตหลังวิกฤตโควิด-19 อย่างเป็นปกติสุข

1

          (24 เมษายน 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม วุฒิสภา และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมหารือความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาโควิด-19 ครั้งที่ 10/2563 ณ ห้องประชุม 311 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา (เกียกกาย)

“โลกเปลี่ยน คนปรับ” จะอยู่ในโลกหลังวิกฤตโควิด-19 อย่างเป็นปกติสุขได้อย่างไร”

43

          ดร.สุวิทย์ (รมว.อว) กล่าวนำเสนอแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาโควิด-19 และภายหลังจากที่สถานการณ์ดังกล่าวหมดไปทั้ง 5 เรื่อง ได้แก่ (1) 7 รอยปริ ปั่นป่วนโลก, (2) 7 ตราบาป หลังโควิด, (3) 7 ขยับ ปรับเปลี่ยนโลก, (4) เหลียวหลัง แลหน้า ประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน, (5) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ในโลกหลังโควิด

รอยปริ ปั่นป่วนโลก (Systemic Divides)

          ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตซ้ำซาก ทำให้โลกกำลังเรียกหากระบวนทัศน์การพัฒนาชุดใหม่ จาก “โลกที่มุ่งพัฒนาสู่ความทันสมัย” (Modernism) สู่ “โลกที่มุ่งพัฒนาสู่ความยั่งยืน” (Sustainism) ซึ่งประชาชนคนไทยยังคงยึดหลักคิดที่ว่า “ตัวกูของกู” จนนำไปสู่ 7 รอยปริในระบบ ดังนี้

1. ความไร้สมดุลระหว่างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอยู่ดีมีสุขทางสังคม ความยั่งยืนของธรรมชาติ และภูมิปัญญาของมนุษย์

2. เศรษฐกิจการเงิน ที่ครอบงำเศรษฐกิจที่แท้จริง

3. ความต้องการอย่างไม่สิ้นสุดของมนุษย์ กับทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในโลกใบนี้

4. ผู้ครอบครองทรัพยากร กับ ผู้ต้องการใช้ทรัพยากร ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน

5. ความเหลื่อมล้ำของรายได้ สินทรัพย์ และ โอกาส ระหว่าง “คนมีและคนได้” กับ “คนไร้และคนด้อย”

6. ดาบสองคมของเทคโนโลยีในการตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์

7. ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ระหว่าง รัฐ, เอกชน กับ ประชาสังคม

โดย 7 รอยปริในระบบนี่เองที่ก่อให้เกิดโลกที่ไร้สมดุล นำไปสู่โลกแห่งความเสี่ยง ภัยคุกคาม และวิกฤตซ้ำซากดังที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน

2

7 ตราบาป หลังโควิด (Deadly Sins) มีดังนี้

1. ไม่มีสันติภาพในโลกอย่างถาวร หากผู้คนยังไร้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

2. ไม่มีทุนนิยมที่ยั่งยืน หากไม่มีการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม

3. ความร่ำรวยทางวัตถุจะไร้ประโยชน์ หากปราศจากซึ่งความรุ่มรวยทางจิตใจ

4. งานทที่ทำจะไร้ประโยชน์ หากขาดซึ่งนัยแห่งความหมาย

5. มีผลประกอบการที่ดีก็ไร้ค่า หากไม่สามารถเป็นผู้ประกอบการที่ดีได้

6. จะเพรียกหาเจตจำนงร่วมจากที่ใด หากไม่คิดเปิดพื้นที่ให้ร่วมอย่างจริงใจ

7. อย่าหวังการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง หากปราศจากการเปิดหู เปิดตา และเปิดใจ

7 ขยับ ปรับเปลี่ยนโลก (Major Shifts)

          หากมองวิกฤตเป็นโอกาส โควิด-19 อาจเป็นสิ่งนำโชคในสถานการณ์ที่เลวร้าย โดยเปลี่ยน “โลกที่ไม่พึงประสงค์” เป็น “โลกที่พึงประสงค์” ทำให้ผู้คนต้องหันกลับมาทบทวนสมมติฐานในความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ จากตัวกูของกู กลายเป็นการผนึกกำลังร่วม ไปจนถึงการคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้เกิดคุณค่าอย่างสุดด้วยเช่นกัน

          กล่าวโดยสรุป การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของมนุษยชาติ ได้แก่ (1) โมเดลร่วมรังสรรค์, (2) การผลิตและการบริโภคที่มุ่งเน้นการผนึกกำลังความร่วมมือ, (3) มุ่งเน้นการพัฒนาที่สมดุล, (4) สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของมนุษย์, (5) ชีวิตที่รุ่มรวยความสุข, (6) เศรษฐกิจหมุนเวียน, (7) การรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม

56

เหลียวหลัง แลหน้า ประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน

          ประเด็นท้าทายของประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่านจากนี้ไป คือ การต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การเรียนรู้ โอกาส รายได้และทรัพย์สิน โรคระบาด เครือข่ายยาเสพติดข้ามชาติ เครือข่ายการก่อการร้ายข้ามชาติ โซเชียลมีเดีย และสงครามไซเบอร์ โดยหลักคิดการขับเคลื่อนประเทศไทยในโลกหลังโควิด คือ การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เชื่อมไทยสู่ประชาคมโลก, การเดินหน้าไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง, และหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ในโลกหลังโควิด

          การพัฒนาที่สมดุลตามหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (2) ความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในสังคม (3) ศักยภาพและคุณค่าของมนุษย์ และ (4) การรักษ์สิ่งแวดล้อม โลกจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาครั้งสำคัญจาก “โลกที่มุ่งพัฒนาสู่ความ ทันสมัย” (Modernism) สู่ “โลกที่มุ่งพัฒนาสู่ความยั่งยืน” (Sustainism)

          สำหรับสัญญาประชาคมชุดใหม่ จะต้องเป็นสังคมที่เป็นธรรม (Clean & Clear Society), สังคมแห่งโอกาส (Free & Fair Society), และสังคมที่เกื้อกูลแบ่งปัน (Care & Share Society) โดยใช้โมเดลการขับเคลื่อนประเทศไทยในโลกหลังโควิด คือ BCG (Bioeconomy, Circular Economy, Green Economy) ใช้หลัก : SEP ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการใช้กลไก : STI ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย : SDGs การพัฒนาที่ยั่งยืน

8

สำหรับการนำ BCG มาใช้เพื่อตอบโจทย์ทั้ง 6 มิติ ได้แก่

1. ต่อยอดจุดแข็งประเทศไทย ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

2. เชื่อมโยงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. ตอบโจทย์ 10 ใน 17 เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs

4. ครอบคลุม 5 ใน 10 อุตสาหกรรม S-Curve

5. กระจายโอกาสและความมั่งคั่งสู่เศรษฐกิจฐานราก และเศรษฐกิจภูมิภาค

6. สานพลังมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ชุมชน เอกชน หน่วยงานภาครัฐ และเครือข่าย ต่างประเทศ

          โดยมี 4 สาขายุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ อาหารและการเกษตร, สุขภาพและการแพทย์, พลังงาน วัสดุและเคมี,ชีวภาพ, รวมทั้งการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมกันความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม

79

          อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อน BCG เชิงพื้นที่ ถือเป็นสิ่งที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พยายามผลักดันมาโดยตลอด เพื่อให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพในแต่ละพื้นที่มากที่สุด ได้แก่

- ล้านนา 4.0 : ยกระดับข้าวคุณค่าด้วยนวัตกรรม, ระบบเกษตรปลอดภัยมาตรฐานส่งออก, ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเชื่อมโยงวัฒนธรรม, นำวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ เช่น วัฒนธรรมล้านนา มาสร้างพื้นที่ สร้างสรรค์ พัฒนาสินค้าและบริการ

- อีสาน 4.0 : โปรตีนทางเลือกจากแมลง, ระบบแก้ไขปัญหาและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ, ระบบบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็ก, ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อริมฝั่งโขง

- ภาคตะวันออก 4.0 : พัฒนาผลผลิตทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มไม้ผล, การพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอนาคต, สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่

- ภาคกลาง 4.0 : ประเทศไทยไร้ขยะ, นวัตกรรมเพื่อสังคมสูงวัย (Active Ageing), พัฒนาวัฒนธรรม ต่อยอดกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่

- ด้ามขวาน 4.0 : นวัตกรรมด้านฮาลาล, ท่องเที่ยวมูลค่าสูงใน 3 จังหวัดภาคใต้, นวัตกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Precision Aquaculture), และนำเสนอเรื่องราวของปักษ์ใต้ยุคใหม่ พัฒนาพื้นที่และกิจกรรมสร้างสรรค์ เชิงพหุวัฒนธรรม ดร.สุวิทย์ กล่าว

เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
วิดีโอ : นายสุเมธ บุญเอื้อ
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ดร.สุวิทย์ ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลวชิรพยาบาล พร้อมเยี่ยมชมนวัตกรรมใช้ได้จริง เพื่อต่อสู้กับ COVID-19

1

          (27 มีนาคม 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลวชิรพยาบาล เยี่ยมชมนวัตกรรมที่บุคลากรทางการแพทย์ร่วมกับเครือข่ายคณะวิศวกรรมศาสตร์ และภาคเอกชน พัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ต่าง ๆ ในวิกฤต COVID-19 ในขณะนี้

234

75

          ดร.สุวิทย์ รมว.อว. กล่าวว่า ประทับใจกับผลงานของทางวชิรพยาบาลเป็นอย่างมาก เพราะภายใต้สภาวะที่ต้องแข่งกับเวลา งบประมาณที่จำกัด และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ขาดแคลน แต่ทางวชิรพยาบาลกลับสามารถสร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง จนเป็นความหวังสำคัญในการต่อสู้กับ COVID-19 ได้ ซึ่ง 6 นวัตกรรมของวชิรพยาบาลได้แก่ 1. เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแรงดันลบ, 2. กล่องแรงดันลบสำหรับป้ายเก็บเชื้อ, 3. หมวกปรับแรงดันบวกสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด, 4. หน้ากากอนามัยไส้กรอง N99, 5. ชุดป้องกันส่วนบุคคล และ 6. Face shield

          ซึ่งทั้งหมดสามารถผลิตได้ในประเทศและพร้อมที่จะขยายผล เพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของไทย โดยในวันนี้ทางโรงพยาบาลได้มอบเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแรงดันลบ และเครื่องมืออุปกรณ์บางส่วนให้แก่ 8 โรงพยาบาล ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล, โรงพยาบาลราชวิถี, สถาบันโรคทรวงอก, โรงพยาบาลตำรวจ, โรงพยาบาลราชบุรี, สถาบันราชประชาสมาสัย, สำนักการแพทย์ และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

          นอกจากนั้น ทางโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ได้เร่งสร้างจุดตรวจคัดกรอง COVID-19 ที่นำนวัตกรรมทั้ง 6 มาใช้งานจริง และสร้างห้อง ICU เพิ่มเติม เพื่อให้พร้อมรองรับผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง ถือเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นและเป็นหลักประกันว่าประชาชนจะได้รับการรักษาที่ดีและได้มาตรฐาน

698

11

เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ดร.สุวิทย์ ประชุมหารือกับคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ พัฒนาโรงพยาบาลสนาม และเครื่องช่วยหายใจ (Ventilators)

1

234

          วันนี้ (26 มีนาคม 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ประชุมหารือกับคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลสนาม และเครื่องช่วยหายใจ (Ventilators) ณ ห้องประชุมวิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาคารถนนศรีอยุธยา

          ดร.สุวิทย์ รมว.อว. กล่าวว่า ต้องแยกให้ชัดว่าสิ่งใดที่มีความจำเป็นต้องใช้ในขณะนี้ อาทิ หน้ากากอนามัย อีกกลุ่มก็เป็นในเรื่องของห้องแยกพิเศษหรืออื่นๆ รวมถึงเรื่องของบุคลากรจากด้านวิศวกรรมกับด้านการแพทย์ที่จะมาร่วมมือกัน หากเป็นมหาวิทยาลัยอย่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ให้คณะแพทยศาสตร์กับวิศวกรรมศาสตร์ทำงานร่วมกันไปเลย สำหรับส่วนกลาง บางเรื่องต้องงานทำเดี๋ยวนี้ วางแผน และให้ดูเป็นกรณีไป ส่วนใครจะทำงานร่วมกับใครอาจจะต้องมาดูกันอีกที เราจะต้องทำงานไปก่อน ขึ้นรูปก่อน วาง Spec ถึงเวลาค่อยมา adjust ถ้าหากว่าลงตัวก็ Scale up ดังนั้นจะต้องมีงบประมาณ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับการวางแผนเป็นกรณีๆไป อาจจะมี 7 - 8 กรณีในกรุงเทพ แล้วต่างจังหวัด งบก้อนที่สอง คือ ถ้าอันไหนมาตรฐานดี ก็ปฏิบัติตามนั้นไป เรื่องของเครื่องช่วยหายใจ ต้องดูว่ามี capacity ที่สามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งอันนี้ควรจะเป็นมาตรฐานกลาง รวมถึงเรื่องของหน้ากากอนามัย ควรจะเป็นการทำงานแบบ consortium คือต้องดึงเอกชนร่วมด้วย ต้องมีข้อมูลว่าในประเทศไทย อุตสาหกรรมใดที่สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้

56

798

          รมว.อว. กล่าวโดยสรุปคือ เรื่องแรก Camp Isolation เรื่องของ Home Isolation ต้อง Identify ว่า Home Isolation มี equipment อะไร มีในประเทศหรือไม่ ถ้าไม่มีสามารถพัฒนาเองได้มากน้อยแค่ไหน โจทย์นี้จะมอบให้ทางวิศวกรรมไปช่วยคิด ในทำนองเดียวกันคือในโรงพยาบาลสนาม ก็มี equipment หลายอย่าง อันนี้ต้อง Identify ใหม่ ส่วนที่สองก็คือว่า หากถึงจุดหนึ่งแล้วก็อาจจะต้องใช้ราชภัฏ หรือราชมงคล นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์ที่อยู่ตามภูมิภาค หรือในกรุงเทพฯ ส่วนข้อมูลก็จะต้องเป็นเชิงลึก เป็นรายภาค รายจังหวัดแล้ว หากมองในบริบทของ อว. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) สามารถเข้าไปช่วยจัดการในแต่ละภูมิภาคนั้นได้หรือไม่ ส่วนเรื่อง lab ต้องดูว่าทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะเข้ามาช่วยตรงนี้ได้อย่างไร

          สำหรับเรื่องของหน้ากากอนามัย อยากให้มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน สามารถนำเข้ามาได้หรือไม่อย่างไร หรือว่าสามารถผลิตในประเทศได้มากน้อยแค่ไหน และเรื่องของเครื่องช่วยหายใจ (Ventilators) กับเรื่องห้องแยกพิเศษ โจทย์คือ ในกรณีของห้องแยกพิเศษ ให้มหาวิทยาลัยในภูมิภาควิศวกรรมศาสตร์ กับ แพทยศาสตร์ร่วมมือ แต่ในกรุงเทพฯ เนื่องจากมีวิศวกรรมศาสตร์ ที่ไม่มีหมอ ไม่มีโรงเรียนแพทย์ ให้ทำในลักษณะที่เป็น prototype ขึ้นมา โดยที่ของบประมาณจากทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ช่วยสนับสนุนในส่วนนี้ เมื่อทำเสร็จ ให้มาดูในเรื่องของมาตรฐาน สิ่งสำคัญคือ เรื่องของเครื่องช่วยหายใจ (Ventilators) คงต้องร่วมมือกันในหลายส่วน ซึ่งจำเป็นจะต้องร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย

เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ดร.สุวิทย์ รัฐมนตรีว่าการ ก.การอุดมศึกษาฯ ตรวจเยี่ยมการผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ

1

          วันนี้ (3 เมษายน 2563) ณ วิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, รศ.นพ.อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คณะทำงาน และคณาจารย์ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมตรวจเยี่ยมการผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์ ซึ่งเป็นผลงานการประดิษฐ์คิดค้นจากชิ้นส่วนที่มีอยู่ในประเทศ โดยอาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ในช่วงวิกฤต COVID-19 และจะดำเนินการส่งมอบอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ

1378

          สำหรับวันนี้ได้ดำเนินการส่งมอบให้กับ 6 โรงพยาบาลด้วยกัน ได้แก่ โรงพยาบาลสมุทรปราการ, โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า, โรงพยาบาลปทุมธานี, โรงพยาบาลนครปฐม, โรงพยาบาลภูเก็ต และโรงพยาบาลยะลา โดยที่แต่ละโรงพยาบาลนั้น จะได้รับหน้ากากอนามัยที่ทำจากซิลิโคน ชนิด N99 จำนวน 20 ชุด และหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลมพร้อมชุดกรองอากาศ (PAPR) จำนวน 2 ชุด

24

1. หน้ากากอนามัยที่ทำจากซิลิโคน ชนิด N99 (Silicone Mask Respirator N99) ผลิตจากซิลิโคนที่ได้มาตรฐานทางการแพทย์ พร้อมสายรัดกระชับใบหน้า นำมาประกอบให้เข้ากันกับชุดกรองเชื้อโรคในอากาศคุณภาพสูงที่ใช้กับเครื่องช่วยหายใจหรือเครื่องดมยาสลบ ที่มีคุณสมบัติในการกรองเชื้อแบคทีเรียและไวรัสมากกว่าร้อยละ 99 สามารถใช้ทดแทนหน้ากากอนามัย N95 ที่ขาดแคลนในปัจจุบันได้

2. หน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลมพร้อมชุดกรองอากาศ หรือ Powered Air-Purifying Respirators (PAPR) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยดัดแปลงหน้ากากคลุมหน้าให้มีแรงดันบวกภายในหน้ากากไม่ต่ำกว่าที่มาตรฐานสากลกำหนด พร้อมกับติดตั้งพัดลมและชุดกรองอากาศคุณภาพสูง เพื่อป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ไม่สัมผัสเชื้อ ในกรณีที่ต้องทำงานในห้องที่มีผู้ป่วยโรค COVID-19 หรือโรคติดต่อทางเดินหายใจอยู่เป็นจำนวนมาก และสามารถใช้ในห้องผ่าตัดได้อีกด้วย

10614

นี่ถือเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมการแพทย์จากความร่วมมือของสหสาขาวิชา โดยคนไทย เพื่อคนไทย เป็นการพลิกวิกฤต ให้เป็นโอกาส เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในความพยายามให้ความช่วยเหลือตามกำลังและความสามารถ ขอให้ทุกท่านมั่นใจว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะร่วมสนับสนุนความพยายามของทุกท่านในการแก้ไขปัญหาโรค COVID-19 เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” ดร.สุวิทย์ กล่าว

ด้าน นายกสภา ม.นวมินทราธิราช เผยว่า เป้าหมายการผลิตหมวกอัดอากาศความดันบวก (PAPR) ตั้งไว้ว่าจะจัดทำให้ได้จำนวน 200 ชุดภายในสองสัปดาห์แรกของเดือนเมษายนและจัดส่งให้โรงพยาบาลต่างๆให้ครบ 100 โรงพยาบาลก่อนช่วงสงกรานต์ ซึ่งได้ระดมนักศึกษาและบุคลากรของวิทยาลัยชุมชนเมือง ม.นวมินทราธิราช และอาจารย์ รวมทั้งนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์มาช่วยดำเนินการผลิตจนได้จำนวนมากขึ้น และในขณะนี้บริษัท PTTGC ในกลุ่ม ปตท. และพันธมิตรได้นำต้นแบบ PAPR ที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลผลิตขึ้น ไปขึ้นรูปและจะเร่งผลิตในระบบอุตสาหกรรมแล้ว คาดว่าในช่วงปลายเดือนเมษายน PAPR จำนวนมากจะถูกผลิตขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะสามารถแจกจ่ายให้แกโรงพยาบาลทั่วประเทศในระดับ 500-1,000 ชุดภายในสิ้นเดือนเมษายน 2563 อย่างแน่นอน

เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
วิดีโอ : นายสุเมธ บุญเอื้อ
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ดร.สุวิทย์ รัฐมนตรีว่าการ ก.การอุดมศึกษาฯ ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์

1

          การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ส่งผลให้มีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งต้องเข้ารับการักษาที่โรงพยาบาล และในอนาคตอันใกล้อาจเกินศักยภาพที่โรงพยาบาลต่างๆ รับไหวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานมหาวิทยาลัยของประชาชน จึงได้ประชุมหารือและวางแนวทางร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์อีก 4 สถาบัน จัดตั้ง "โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์" ขึ้น ทำหน้าที่แบ่งเบาภาระจากโรงพยาบาลใหญ่ โดยจะรองรับผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแล้ว แต่ยังต้องกักตัวดูอาการอีกอย่างน้อย 14 วัน เพื่อทำให้โรงพยาบาลใหญ่มีเตียงว่างสำหรับดูแลผู้ป่วยรายใหม่

          โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ มีทั้งสิ้น 30 เตียง โดย มธ. ได้ปรับปรุงอาคารหอพัก DLUXX (หอพักเอเชี่ยนเกมส์) ให้มีความเหมาะสมกับภารกิจ มีโซนที่สามารถแยกออกจากส่วนอื่น โดยเริ่มดำเนินการรับผู้ป่วยรายแรกตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เพื่อความพร้อมอย่างถึงที่สุด ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชและคณาจารย์ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน ณ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ (อาคาร DLUXX) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

2

365

          ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า ธรรมศาสตร์เป็นผู้ริเริ่มทำโรงพยาบาลสนาม เพื่อตอบโจทย์รับมือกับ COVID-19 และเชื่อมั่นว่าความร่วมมือร่วมใจเช่นนี้ จะทำเราทุกคนในประเทศสามารถก้าวข้ามวิกฤตนี้ไปพร้อมกันได้ ซึ่งในส่วนนี้เท่ากับว่าธรรมศาสตร์ได้มองเห็น 2-3 step ข้างหน้า ที่ในอนาคตนั้นถ้าเกิดเหตุการณ์วิกฤตมากขึ้นมา จะแยกคนไข้ผู้ป่วยหนัก กับผู้ป่วยเบาออกจากกันได้อย่างไร concept ของโรงพยาบาลสนามที่เป็นความคิดริเริ่มอย่างเป็นรูปธรรมของทางธรรมศาสตร์ เป็นความร่วมมือกับอีก 4 สถาบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

          ณ ตอนนี้คาดว่า อีก 1 - 2 อาทิตย์ข้างหน้า จะมีคนไข้เข้ามาเยอะมาก ถ้าสามารถแยกแยะคนไข้ที่มีอาการไม่หนักมากออกโดยใช้โรงพยาบาลสนามจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี อีกส่วนคือ Facility ของที่นี้มีความพร้อมมาก ในส่วนแรกแต่ละห้องมี Air Condition ที่แยกออกจากกัน ตรงนี้เป็น concept ที่เมื่อเปรียบเทียบกับโรงแรมแล้วสามารถตอบโจทย์ความปลอดภัยได้มากกว่า ในส่วนที่สอง คือ แต่ละคนจะถูกแยกออกมาใช้ชีวิตปกติ โดยที่มีการนำเรื่องของดิจิทัล-ไอที มาใช้เพื่อมอนิเตอร์ ดูว่าคนไข้แต่คนเป็นอย่างไร ซึ่งธรรมศาสตร์ได้ให้ความใส่ใจอย่างมาก นอกเหนือจากการให้ใช้ชีวิตแบบปกติแล้ว สภาพจิตใจของคนไข้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ได้จัดหมอที่เข้ามาให้คำปรึกษาในเรื่องของการใช้ชีวิตอยู่อย่างไรด้วย

784

9

          ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อว่า ณ วันนี้ มาเพื่อให้กำลังใจและชื่นชมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอย่างยิ่งคือโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ได้ริเริ่มในสิ่งนี้ อีกส่วนหนึ่งกำลังมองไปข้างหน้าว่า หากเหตุการณ์หนักขึ้นไปกว่านี้ จะรองรับคนไข้ COVID-19 ที่มีอยู่ทั่วประเทศได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ในกระทรวง อว. มีมหาวิทยาลัยเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งจะนำโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เป็นต้นแบบเพื่อขยายผลไปยังภูมิภาคได้อย่างไร นอกจากนนี้ยังมีราชภัฏโดยประมาณ 38 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีโอกาสที่จะแปลง Facility ต่างๆ ของราชภัฏให้กลายเป็นโรงพยาบาลสนามเช่นเดียวกับที่ธรรมศาสตร์

          นอกจากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่ผลิต “หน้ากากผ้ากันน้ำ THAMMASK เพื่อใช้ในทางการแพทย์” คิดค้นโดยทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ทั้งในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย และยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่ทำงานเพื่อประชาชนอีกด้วย

1011

131516

1720

เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ดร.สุวิทย์ เผยกระบวนทัศน์การศึกษาไทยในโลกหลังโควิด-19

1

          (5 พฤษภาคม 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, นางสุวรรณี คำมั่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, คณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาในกำกับ, ผู้แทนจากโรงเรียนสาธิตในกำกับ และผู้แทนจากผู้ประกอบการด้านการศึกษา อาทิ Saturday School Foundation, BASE Playhouse, a-chieve social enterprise co.,ltd. และอื่น ๆ ร่วมประชุมหารือความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็น “กระบวนทัศน์การศึกษาไทยในโลกหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด-19” ผ่านระบบ VDO Conference - ZOOM Cloud Meetings ตามมาตรการ Social distancing ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 อาคารอุดมศึกษา 1 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา)

โดยมีประเด็นของการหารือ เพื่อดำเนินงานและผลักดันให้สู่ผลสำเร็จที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

1. การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสาร โลกเปลี่ยน คนปรับ

2. การเสนอแนวทางแผนการปฏิบัติ (Action Plan) เพื่อปฏิรูปกระบวนทัศน์การศึกษาไทย

3. การเตรียมคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในโลกหลังโควิด จะเป็นอย่างไร

4. แนวทางปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม

5. อะไรคืออุปสรรคสำคัญที่ต้องปลดล็อก

6. อะไรคือนวัตกรรมทางการศึกษาและการเรียนรู้ที่น่าจะผลักดัน

2

734

          ดร.สุวิทย์ กล่าวสรุปสำหรับการประชุมหารือกระบวนทัศน์การศึกษาไทยในโลกหลังสถานการณ์วิกฤตโควิด-19ในครั้งนี้ว่า สำหรับการรับฟังความคิดจากหลายภาคส่วนในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การผนึกกำลังในการปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างเป็นรูปธรรม และมีเป้าหมายของการดำเนินที่ชัดเจน โดยเฉพาะการศึกษาไทยหลังสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 จะเตรียมพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร ณ ปัจจุบันการวิจัยของโรงเรียนสาธิตต่าง ๆ ถูกแยกส่วน ไม่มีการบูรณาร่วมกันอย่างหลากหลาย โรงเรียนสาธิต จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของการวิจัยเสียใหม่ คัดสรรงานวิจัยที่เป็นเรื่องสำคัญ ที่สามารถต่อยอดให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม พยายามออกจากการคิด การวิจัยในรูปแบบเดิม ต่อยอดนวัตกรรม จนเกิดเป็น Platform ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทที่แตกต่างกันได้ ซึ่งโรงเรียนสาธิตถือเป็นต้นน้ำของการศึกษาไทย

6

          กระทรวง อว. มีหน้าที่ในการสนับสนุนและผลักดัน ตั้งแต่เรื่องของ SandBox และทำให้การศึกษาเกิด Out Come เป็นหลักไม่ใช่อยู่แต่ในกรอบเดิม ๆ Agenda Based ของระบบการศึกษาไม่ใช่แค่หลักสูตรของการเรียน Online หรือ Offline การศึกษาไม่จำเป็นจะต้องแยกส่วนออกจากสังคม แต่ให้ดึงอัตลักษณ์ และความแข็งแกร่งของแต่ละที่มาบูรณาร่วมกัน แต่สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ การเตรียมคนที่สมบูรณ์สู่ศตวรรษที่ 21 และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในภายภาคหน้าของโลกด้วย ส่วนปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่วันนี้ได้หารือกัน อว. จะพยายามขับเคลื่อนและหาแนวทางการปลดล็อกให้ได้ อาทิ กฎหมาย วัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรและการทำงาน เป็นต้น นอกเหนือจากการพัฒนานักเรียน นักศึกษา หรือหลักสูตรด้านต่าง ๆ แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นความสำคัญของการศึกษาก็คือ ครู อาจารย์ ผู้สอน ที่จะต้องมีการพัฒนาตนให้เท่าทันกับโลก จำเป็นจะต้อง Re skill - Up skill หรือเปลี่ยน Mine set แบบเดิม

“มองปัญหาให้เป็น Challenge ให้เด็กเป็นพลังที่จะเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง เราจะมา Reset ประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน”

เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก
วิดีโอ : นายสุเมธ บุญเอื้อ
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ทีเซลส์ จับมือร่วมกับ ควอลิตี้ พลัส จัดทำโครงการบริจาคเจลแอลกอฮอล์จำนวน 1,000 ลิตร

1

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) จับมือร่วมมือกับ บริษัท ควอลิตี้ พลัส จำกัด ผู้ผลิตเครื่องสำอางชั้นนำของประเทศไทย จัดทำโครงการบริจาคเจลแอลกอฮอล์จำนวน 1,000 ลิตร ทั้งในรูปแบบเจลและน้ำ (Ethyl Alchohol 72.4%) แก่องค์กร หรือ หน่วยงานที่มีความเสี่ยงและต้องการรับบริจาค

*Make Every Life Better ร่วมแบ่งปันความรักความห่วงใยให้สังคมไทย*
#TCELSMakeEveryLifeBetter
#TCELSTHAILAND
#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
ข้อมูลข่าวโดย : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

ประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ำเสียครัวเรือน ทางรอดหลัง Social Distancing

1

          สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัจจุบันตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นสัญญาณที่ดี และปฏิเสธไม่ว่าได้ส่วนหนึ่งเป็นผลลัพธ์จากมาตรการ social distancing ที่ทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชนชาวไทยร่วมมือกันในการหยุดยั้งไวรัสนี้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มาตรการนี้ลดระดับความเข้มข้นลง นั่นก็หมายความว่าประเทศไทยก็ยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะกลับมามีผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้นได้ทุกเมื่อ

          ดร.จุฑาทิพ บุญสมบัติ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ นักวิจัยโครงการสนับสนุนข้อมูลวิจัยเชิงลึกด้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า จากการที่ศึกษารวบรวมข้อมูลจากวารสารวิจัยนานาชาติ พบว่า ปัจจุบันมีนักวิจัยทั่วโลกมากกว่า 12 กลุ่ม เริ่มศึกษาการวิเคราะห์น้ำเสียที่ถูกปล่อยทิ้งจากครัวเรือนเพื่อตรวจหาไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการประมาณการจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละชุมชน โดยวิธีการวิเคราะห์น้ำเสียจะใช้น้ำจากระบบระบายน้ำทิ้งจากครัวเรือนที่จะส่งต่อไปยังโรงบำบัดน้ำเสีย ซึ่งใช้ในการติดตามเชื้อโรคที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะหรืออุจจาระ เช่น เชื้อไวรัสโควิด-19 โรงบำบัดน้ำเสียแต่ละแห่งรองรับน้ำเสียจากคนจำนวนมาก ดังนั้นการติดตามตรวจสอบน้ำเสียแบบนี้จะทำให้สามารถประมาณการแพร่ระบาดของเชื้อ และมีความแม่นยำกว่าการทดสอบด้วยชุดทดสอบทางคลินิก เพราะการใช้น้ำเสียจะรวมผลจากคนที่ไม่ได้ตรวจเชื้อและมีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเข้ามาด้วย ตัวอย่างเช่น กลุ่มวิจัยของ de Roda Husman นักวิจัยด้านโรคติดเชื้อ สถาบันสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในปริมาณเล็กน้อย ในน้ำเสียจากสนามบิน Schiphol ในเมือง Tilburg ในเวลาเพียง 4 วัน หลังจากที่ทางการเนเธอร์แลนด์ยืนยันผู้ติดเชื้อรายแรกจากวิธีการตรวจเชื้อทางคลินิก ปัจจุบันกลุ่มวิจัยของ de Roda Husman มีแผนที่จะขยายการตรวจสอบไปยังเมืองใหญ่ ในทั้ง 12 จังหวัดในเนเธอร์แลนด์ รวมถึงอีก 12 แห่งที่ยังไม่มีการยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อ

2

          ข้อดีของวิธีการประเมินการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากน้ำเสียครัวเรือน คือตามที่มาตรการ social distance ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวิธีการที่ดีที่ช่วยลดการระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มาตรการนี้ลดระดับความเข้มงวดลง ก็มีโอกาสกลับมาของการระบาด ดังนั้นการเฝ้าติดตามด้วยการวิเคราะห์น้ำเสียจึงเป็นวิธีการที่ช่วยในการเฝ้าระวังและเพื่อเตือนภัยในกรณีที่การระบาดโควิด-19 กลับมาในชุมชน

          เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 จะปรากฏในอุจจาระภายใน 3 วัน หลังติดเชื้อ ซึ่งเป็นเวลาที่เร็วกว่าเวลาที่กว่าผู้ติดเชื้อจะแสดงอาการเข้าข่ายต้องสงสัยแล้วไปรับการการตรวจหาเชื้อทางคลินิค ดังนั้นการเฝ้าติดตามด้วยการวิเคราะห์น้ำเสีย จึงเป็นวิธีการที่ช่วยบ่งชี้สถานการณ์ได้เร็ว ทำให้การออกมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การระบุได้อย่างรวดเร็วว่ามีผู้ติดเชื้อในชุมชน จะช่วยจำกัดความเสียหายจากการระบาดได้มาก โดยเฉพาะหากมีการระบาดของเชื้อโควิด-19 กลับมาในอนาคตข้างหน้า วิธีการนี้ยังสามารถช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของมาตรการณ์ต่างๆ ที่มีในช่วงของการระบาดได้ด้วย

3

          การใช้การวิเคราะห์น้ำเสียเพื่อประเมินการระบาดของเชื้อโควิด-19 น่าจะเป็นมาตรการระยะยาวที่ทางรัฐสามารถนำมาใช้ เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมิน การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนั้นการสนับสนุนงานวิจัย เพื่อหาวิธีการทดสอบที่เหมาะสม ใช้ได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ น่าจะเกิดประโยชน์ โดยผลจากการวิจัยนี้ไม่เพียงจะใช้กับสถานการณ์ระบาดโควิด-19 แต่ยังอาจจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการติดตาม ประเมิน ด้านสาธารณสุขในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย

อ้างอิงข้อมูล

10.Mallapaty (2020) How Sewage Could Reveal True Scale of Coronavirus Outbreak. Nature. 10.1038/d41586-020-00973-x

ภาพจาก : statnews

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

มธ. อว. โชว์ศักยภาพ “Tham – UV Clean” ตู้อบฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัย 100 % ช่วยเหลือแพทย์ไทยสู้ COVID – 19

20200430 ๒๐๐๔๓๐ 0001

          30 เมษายน 2563 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดตัว “Tham - UV Clean” ตู้อบฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัย ด้วยรังสียูวีซี พร้อมประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อไวรัสได้ 100% ใน 5 นาที และใช้ซ้ำได้ขึ้นอยู่กับสภาพและประเภทของหน้ากากอนามัย บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้ได้ทันทีหลังอบเสร็จ โดยตู้อบดังกล่าว ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปอดบวม ไขสันหลังอักเสบ และการติดเชื้อที่ผิวหนังบนหน้ากากอนามัย พร้อมคงคุณภาพการป้องกันเชื้อไวรัสเข้าสู่หน้ากากอนามัยได้ไม่ต่ำกว่า 90% หลังการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดำเนินการส่งมอบ “Tham - UV Clean” ล็อตแรก แก่โรงพยาบาลทั่วไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

20200430 ๒๐๐๔๓๐ 0012 20200430 ๒๐๐๔๓๐ 0015

          รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - 19 ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอย่างต่อเนื่องและด้วยข้อจำกัดด้าน “หน้ากากอนามัย” ที่มีจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานในปัจจุบัน ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้น เพื่อให้หน้ากากอนามัยที่มีจำนวนจำกัด สามารถใช้ซ้ำได้อย่างปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. จึงพัฒนา “Tham - UV Clean” ตู้อบฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัย ด้วยรังสียูวีซี (UV-C) ที่มาพร้อมประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัสได้ 100% ใน 5 นาที และใช้ซ้ำได้ 5-10 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพและประเภทของหน้ากากอนามัย โดยที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำหน้ากากกลับมาใช้ได้ทันทีหลังอบเสร็จ

          สำหรับการอบหน้ากากอนามัย ด้วยตู้อบดังกล่าว จะเป็นการใช้คลื่น “รังสียูวีซี” (UV-C) ที่เป็นคลื่นความร้อน ในการอบหน้ากากจำนวน 3 ชิ้นต่อ 1 รอบการอบ โดยเว้นระยะห่างต่อชิ้นที่ 2-3 เซนติเมตร พร้อมตั้งเวลาการอบไว้ที่ 5 นาที เพื่อให้คลื่นรังสียูวีซี แผ่กระจายและฆ่าเชื้อไวรัสบริเวณหน้ากากอนามัย ทั้งด้านในและด้านนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ตู้อบฆ่าเชื้อ “Tham - UV Clean” จะแจ้งเตือนผู้ใช้งานให้สามารถนำหน้ากากอนามัยไปใช้ต่อได้ ซึ่งผลลัพธ์หลังการทดสอบประสิทธิภาพจากห้องปฏิบัติการ Thammasat University Molecular Innovation Research (TUMIR) คณะสหเวชศาสตร์ มธ. พบว่า ตู้อบดังกล่าว สามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม ไขสันหลังอักเสบ และการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่อยู่บนหน้ากากอนามัย พร้อมทั้งคงประสิทธิภาพของเส้นใย และคุณสมบัติสำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัสที่จะผ่านหน้ากากอนามัย ไม่ต่ำกว่า 90% หลังการฆ่าเชื้อ

20200430 ๒๐๐๔๓๐ 0022 20200430 ๒๐๐๔๓๐ 0023

          รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล กล่าวต่อว่า “Tham - UV Clean” ตู้อบฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัย ด้วยรังสียูวีซี เป็นผลงานการพัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรดา สโมสรสุข คณะสหเวชศาสตร์ มธ. อย่างไรก็ดี คณะฯ เตรียมผลิตตู้อบดังกล่าว จำนวนไม่ต่ำกว่า 100 ชุด เพื่อมอบแก่โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 และขาดแคลนหน้ากาก N95 เป็นลำดับต่อไป อาทิ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เป็นต้น

20200430 ๒๐๐๔๓๐ 0002 20200430 ๒๐๐๔๓๐ 0005 20200430 ๒๐๐๔๓๐ 0014

          ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย รศ.พรชัย ตระกูลวรานนท์ ผู้แทน ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นางสาวนุชนภา รื่นอบเชย ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา อว. ผู้แทนสำนักปลัด อว. ได้ดำเนินการส่งมอบ “Tham - UV Clean” ล็อตแรกจำนวน 100 เครื่อง แก่โรงพยาบาลที่มีความต้องการสูงทั่วประเทศ ผ่านระบบการขนส่งที่ได้คุณภาพและได้มาตรฐาน “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท)” เมื่อเร็วๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

          สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. (TSE) โทรศัพท์ 094-664-7146 หรือ ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT  และ www.engr.tu.ac.th

 

ข้อมูลข่าวโดย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

ข่าวโดย : นายจิรายุ รุจิพงษ์วาที

ภาพโดย : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก

วิดีโอโดย : นายสุเมธ บุญเอื้อ

ส่วนสื่อสารองค์กร

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834

Facebook : @MHESIThailand

Call Center โทร.1313

มว. จับมือประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก วิจัยจีโนมิกส์ พัฒนาวิธีการตรวจ COVID -19 ที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำสูง

1

          เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นภาวะโรคระบาดรุนแรง (Pandemic) ทั่วโลก  ดังนั้นนักวิจัยในกลุ่ม Bio Analysis จากประเทศชั้นนำจึงได้ร่วมมือศึกษาวิจัยในระดับจีโนมิกส์ (Genomics) เพื่อวางแผนพัฒนาวิธีการตรวจ SARS-CoV-2 RNA  หรือ การตรวจ Covid-19 โดยวิธีเปรียบเทียบผลการวัด เพื่อให้ได้วิธีการตรวจวัดที่รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำสูง และนำไปสู่การผลิตวัสดุอ้างอิงรับรองมาตรฐาน (Certified Reference Material) ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ทั่วโลกที่ใช้ในการตรวจวัด COVID-19 ด้วยเทคนิค PCR  โดยมีนักวิจัยจากสถาบันมาตรวิทยาทั้งหมด 15 ประเทศจากทั่วโลก  รวมถึงสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ประเทศไทย เข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศดังกล่าว ด้วยเทคนิค digital PCR  (Polymerase Chain Reaction) หรือ qPCR ในครั้งนี้ด้วย

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

มว. มอบแอลกอฮอล์ล้างมือให้กับ รพ.สต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก

1

          นางอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการ มว. นายอนุสรณ์ ทนหมื่นไวย รองผู้อำนวยการ และ ร.ท.อุทัย นรนิ่ม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ  พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน มว. ได้นำแอลกอฮอล์สเปรย์ 75% บรรจุขวดไปมอบให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี รับมอบโดยนายวิจิตร์ พรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบางดังกล่าว และนางศิริวรรณ ปิยะพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เพื่อไว้ใช้งาน และแจกจ่ายให้กับผู้ที่สนใจต่อไป ซึ่งแอลกอฮอล์สเปรย์ดังกล่าวได้รับการผสมโดยนักมาตรวิทยาของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้ว่า เป็นแอลกอฮอล์สเปรย์ 75% ที่สามารถนำไปฉีดพ่นเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้  ทั้งนี้การบรรจุใส่ขวดสเปรย์ ก็ยังได้ความร่วมแรงร่วมใจจากจิตอาสา มว. นอกจากนี้เรายังต้องขอขอบคุณ บริษัท ราชบุรี เอทานอล จำกัด ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคแอลกอฮอล์ (เอทานอล 95%) มาที่ อว. เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น สำหรับป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงรากน้อย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

234

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

มว. ร่วมตรวจสอบค่าความเข้มแสงยูวีซีตู้อบฆ่าเชื้อ

1

54

          สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) โดยนางสาวโรจนา ลี้เจริญ นักมาตรวิทยาชำนาญการพิเศษ และกำกับดูแลกลุ่มงานแสงและสี ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง ร่วมตรวจสอบค่าความเข้มแสงยูวีซีของตู้อบฆ่าเชื้อที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติได้รับบริจาคมาจากบริษัท พัฒนาอินเตอร์คูล จำกัด เพื่อให้ทราบค่าความเข้มแสงยูวีซีที่แม่นยำซึ่งจะช่วยกำหนดระยะเวลาการบ่มฆ่าเชื้อที่เหมาะสม เป็นไปตามกำหนดโดยหน่วยงานสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานสากล ณ อาคารผดุงมาตร สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) จ.ปทุมธานี

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

มว. หารือกับ รพ.ธรรมศาสตร์ เรื่องการตรวจสอบหน้ากากอนามัย N95 ด้วยมาตรวิทยา

1

234

          นายอนุสรณ์ ทนหมื่นไวย รองผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) พร้อมด้วยผู้บริหารและนักมาตรวิทยา มว. ให้การต้อนรับ พ.ท.ดร.นพ.กฤติณ ศิลานันท์ ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, นายสหชัย แสงเรือง ประธานสภานักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์วัชระ อมศิริ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสเข้าพบเพื่อหารือเรื่องการตรวจสอบหน้ากากอนามัย N95 และชุด PPE ที่ได้รับมาด้วยมาตรวิทยา พร้อมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของสถาบันด้วย ณ อาคารผดุงมาตร สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) จ.ปทุมธานี

567

8910

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

รมว.อว. ตรวจความพร้อม รพ.ศิริราช รับมือโควิด-19 พร้อมส่งมอบชุดตรวจเชื้อโควิด-19 20,000 ชุดแรกให้ สธ. ในสัปดาห์หน้า

รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0051

รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0040 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0006 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0003

          วันนี้ (27 มี.ค.63) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (รมว.อว.) เดินทางไปที่โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อตรวจเยี่ยมความพร้อมของโรงพยาบาลในการรับมือสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั้งในด้านการรักษาพยาบาลและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ ดร.สุวิทย์ฯ กล่าวว่า ตนขอยืนยันว่าโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์จะเป็นกำลังสำคัญร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการดูแลคนไทย อว. ซึ่งดูแลมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศมีคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ในสังกัดกระทรวง ฯ จำนวนกว่า 23 แห่ง ซึ่งมีความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งในด้านกำลังคน แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยจำนวนมากเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการรองรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยวันนี้ ได้มี ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้นำตนดูการปฏิบัติงานของคลินิกโรคอุบัติใหม่ (EID Clinic) ที่เป็นด่านหน้าในการรองรับผู้ป่วยและติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลศิริราชต่อการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 ทั้งด้านการบริหารจัดการเวชภัณฑ์ และการเตรียมโรงพยาบาล การจัดกำลังคน ตลอดจนการดูแลความปลอดภัยทั้งส่วนของผู้ปฏิบัติงาน แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และบุคคลภายนอกด้วยมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ภายนอกโดยจัดเตรียมและใช้ห้องผู้ป่วยความดันลบ (Negative Pressure Room) และมีหอผู้ป่วยโรคโควิด-19 แยกออกมาไว้สำหรับการปฏิบัติงานโดยเฉพาะ รวมทั้งเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ BSL-3 ของโรงพยาบาลซึ่งใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคโควิด-19 โดยวิธีทางพันธุกรรม ขณะนี้ได้รองรับการตรวจเป็นจำนวนมากแล้ว

รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0084 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0076 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0073

รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0078 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0064 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0079

           รมว.อว. กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ อว. โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคโควิด-19 เพื่อให้ห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยของประเทศไทยมีน้ำยาตรวจเพียงพอ สามารถผลิตน้ำยาตรวจมาตรฐานได้ในประเทศและมีราคาถูก และให้ทุนวิจัยและพัฒนาชุดการตรวจแบบใหม่ๆ ทั้งการตรวจหาแอนติบอดีและแอนติเจน ในส่วนน้ำยาตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อด้วยเทคนิค RT-PCR (Real time Reverse transcription polymerase chain reaction) ที่เป็นวิธีมาตรฐานสากลนี้ อว. ได้สนับสนุนให้บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาชุดตรวจมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันพร้อมสำหรับการส่งมอบเป็นครั้งแรกจำนวน 20,000 ชุดให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ภายในสัปดาห์หน้า โดยมีกำลังการผลิต 100,000 ชุดต่อเดือน และเตรียมที่จะขยายกำลังการผลิตให้เป็น 200,000 ชุดต่อเดือนในระยะต่อไปเพียงพอกับการใช้งานของประเทศ

รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0009 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0019 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0022

รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0025 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0029 รมว.อว. ประชุม ตรวจเยี่ยมรพ.ศิริราช 27 03 63 ๒๐๐๓๒๗ 0050

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ข่าวและภาพโดย : นายจิรายุ รุจิพงษ์วาที

ส่วนสื่อสารองค์กร

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834

Facebook : @MHESIThailand

Call Center โทร.1313

รมว.อว. ร่วมเสวนา “โลกและสังคมหลังโควิด – 19 (Way Forward 2020)” กับเอกอัครราชทูตและนักเรียนไทย ณ กรุงปักกิ่ง

IMG 3447

วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ร่วมการเสาวนาบรรยาย ในหัวข้อ “โลกและสังคมหลังโควิด – 19 (Way Forward 2020)” นำโดย นางสาวพสุภา ชินวรโสภาค อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง พร้อมด้วยนักเรียนและคนไทยในประเทศจีน จำนวน 110 คน เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ video conference ตามมาตรการ Social distancing ณ ห้องประชุมชั้น 22 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา)

ดร.สุวิทย์ (รมว.อว.) กล่าวว่า “ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตซ้ำซาก ทำให้โลกกำลังเรียกหากระบวนทัศน์การพัฒนาชุดใหม่ จาก โลกที่มุ่งพัฒนาสู่ความทันสมัย สู่ โลกที่มุ่งพัฒนาสู่ความยั่งยืน ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนหลักคิดที่ประชาชนยังยึดติดแบบเดิม (Ego-Centric Mental Model) ส่งกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ และ มนุษย์กับธรรมชาติ จนนำไปสู่ 7 รอยปริในระบบ ดังนี้

  1. ความไร้สมดุล ระหว่างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอยู่ดีมีสุขทางสังคม ความยั่งยืนของธรรมชาติ และภูมิปัญญาของมนุษย์
  2. เศรษฐกิจการเงิน ที่ครอบงำ เศรษฐกิจที่แท้จริง
  3. ผู้ครอบครองทรัพยากร กับ ผู้ต้องการใช้ทรัพยากร ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน
  4. ความต้องการอย่างไม่สิ้นสุดของมนุษย์ กับ ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในโลกใบนี้
  5. ความเหลื่อมล้ำของรายได้ สินทรัพย์และโอกาส ระหว่าง “คนมี” กับ “คนไร้”
  6. ดาบสองคมของเทคโนโลยีในการตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์
  7. ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ระหว่าง รัฐ, เอกชน กับ ประชาสังคม

โดย 7 รอยปริในระบบนี่เองที่ก่อให้เกิดโลกที่ไร้สมดุล นำไปสู่โลกแห่งความเสี่ยง ภัยคุกคาม และวิกฤตซ้ำซากดังที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน”

IMG 3444 IMG 3439 IMG 3449

ดร.สุวิทย์ (รมว.อว.) กล่าวต่อว่า “หากมองวิกฤตเป็นโอกาสเหตุการณ์โควิด – 19 อาจเป็นตัวแปรในสถานการณ์ที่เลวร้ายเปลี่ยน โลกที่ไม่พึงประสงค์ เป็น โลกที่พึงประสงค์ ทำให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนสมมติฐานในความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ กลายเป็นการผนึกกำลังร่วม การคำนึงถึงประโยชน์จากธรรมชาติ ก่อให้เกิดคุณค่าอย่างไม่สิ้นสุด การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ตามกลไกล 7 ขยับ ปรับเปลี่ยนโลก (Major Shifts) ได้แก่

  1. โมเดลตลาดเสรี (Free Market Model) เปลี่ยนไปสู่ โมเดลร่วมรังสรรค์ (Co-Creative Model)
  2. การผลิตและการบริโภค ในโหมดการช่วงชิงและแข่งขัน (Competitive Mode of Production & Consumption) ปรับเปลี่ยนเป็น การผลิตและการบริโภค ในโหมดการเกื้อกูลและแบ่งปัน (Collaborative Mode of Production & Consumption)
  3. มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) แท้จริงแล้วควรมุ่งเน้นการขับเคลื่อนที่สมดุล (Thriving in Balance)
  4. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ (People for Growth) ควรสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของมนุษย์ (Growth for People)
  5. ชีวิตที่ร่ำรวยทางวัตถุ (Economic Life) เปลี่ยนไปสู่ชีวิตที่รุ่มรวยความสุข (Balanced Life)
  6. เศรษฐกิจเส้นตรง (Linear Economy) ปรับเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
  7. การตักตวงผลประโยชน์จากส่วนรวม (Exploitation of the Commons) ควรจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม (Remedy of the Commons)”

ข่าวโดย : นายจิรายุ รุจิพงษ์วาที

ภาพโดย : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก

วิดีโอโดย : นายสุเมธ บุญเอื้อ

ส่วนสื่อสารองค์กร

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834

Facebook : @MHESIThailand

Call Center โทร.1313

รมว.อว. รับมอบเจลล้างมือแอลกอฮอล์ 1,000 หลอด จาก วว. สนับสนุนจีน ป้องกันการระบาดไวรัส Covid -19

1

2

1213

          วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) รับมอบ “เจลล้างมือแอลกอฮอล์” สูตรเพิ่มสารมือนุ่มลื่น จำนวน 1,000 หลอด จาก ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ( วว.) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีอาเซียน เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดโรคติดเขื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “Covid-19” โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวง อว. พร้อมผู้บริหาร อว. และ วว. ร่วมเป็นเกียรติด้วย ณ อาคารอุดมศึกษา 2 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา)

7

54

8109

ข้อมูล : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ( วว.)
เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพ : นายจิรายุ รุจิพงษ์วาที
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

รมว.อว. หารือ 13 กลุ่มสตาร์ทอัพเสนอ 5 แนวทางกู้วิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID -19

หารือกลุ่ม startup ๒๐๐๕๐๗ 0004

          วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ดรสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมคณะผู้บริหาร หารือร่วมกับ 13 กลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ)​ และหน่วยงานที่อยู่ในระบบนิเวศ เพื่อหามาตรการช่วยเหลือในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ (COVID–19) นำเสนอ 5 แนวทางช่วยเหลือในช่วงภาวะวิกฤต ขอการสนับสนุนทุนให้เปล่า สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพิ่มสภาพคล่องธุรกิจ ปรับลดเงื่อนไขให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น โดยมีสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เป็นแกนนำในการเชื่อมประสาน เพื่อผลักดันให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพอย่างเป็นรูปธรรม ณ ห้องประชุม ชั้น 22 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา)

หารือกลุ่ม startup ๒๐๐๕๐๗ 0009 หารือกลุ่ม startup ๒๐๐๕๐๗ 0010 

          ดรสุวิทย์ (รมว.อว.) “เผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจสตาร์ทอัพ พบว่ากว่า 95% ประสบปัญหาสภาพคล่อง จึงอาจส่งผลกระทบให้มีการเลิกจ้างและมีการผิดนัดชำระหนี้ อันเกิดจากความผันผวนในตลาดเดิมทำให้ขาดกำลังซื้อจากผู้บริโภคบนช่องทางการขายแบบเดิม จนกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนและลดประสิทธิภาพในการระดมทุน จึงได้เสนอแนวนโยบายการพัฒนา วิสาหกิจเริ่มต้นในสภาวะวิกฤต 5 แนวทางดังนี้

  1. แนวทางการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่วิสาหกิจเริ่มต้น ขอมาตรการสนับสนุนทางการเงินและการลงทุน ได้แก่ การสนับสนุนเงินให้เปล่า (Grant) จากภาครัฐ โดยการปรับเปลี่ยนและลดเงื่อนไขให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ และดอกเบี้ยจากธนาคารภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการระดมทุนจากแหล่งต่างๆ อาทิ โครงการนวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย เป็นต้น ผ่านกลไกที่ NIA ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานของแพลตฟอร์มสตาร์ทอัพไทย สนับสนุนเรื่องของเงินเดือนพนักงานเพื่อรักษากำลังคนที่มีคุณภาพและธุรกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้
  2. แนวทางการเสริมสภาพคล่องของตลาดและการพัฒนาตลาดใหม่ เชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้บริโภค และกลุ่มสตาร์ทอัพ ด้วยการจัดทำ Marketplace สร้างการรับรู้และให้เข้าถึงบริการของสตาร์ทอัพให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า B2B, B2C ตลอดจนสนับสนุนบริการของสตาร์ทอัพไทย และการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับสตาร์ทอัพ ที่ NIA ดำเนินการอยู่ เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนใช้บริการสตาร์ทอัพมากขึ้น
  3. แนวทางการสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจ (Ease of Doing Business) ขอมาตรการสนับสนุนทางการคลัง อาทิ นิติบุคคลที่ซื้อบริการจากสตาร์ทอัพสามารถหักภาษีนิติบุคคล 200% สร้างมาตรการทางภาษีสนับสนุนการใช้งานของสตาร์ทอัพไทย เช่น บุคคลที่ซื้อบริการจากสตาร์ทอัพสามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15,000 บาท ลดข้อจำกัดบางประการของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ให้สตาร์ทอัพมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ช่วยเจรจากับผู้ให้บริการเรื่องการลดราคาในส่วนที่กระทบกับค่าใช้จ่ายของสตาร์ทอัพในช่วงนี้ และผลักดันกฎหมายเพื่อสนับสนุนการให้บริการของสตาร์ทอัพ เช่น เรื่อง Telemedicine ให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดการพัฒนาบริการได้
  4. แนวทางการส่งเสริมความรู้และการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นรายใหม่ พัฒนาองค์ความรู้การบริหารจัดการองค์กรในสภาวะวิกฤต ทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ การบริหารบุคลากร รายได้และต้นทุน การบริหารจัดการคู่ค้า เป็นต้น พัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพรายใหม่ เพื่อทดแทนสตาร์ทอัพที่ปิดกิจการไป เช่น การ Re-skill และ Upskill เพื่อช่วยพัฒนาความสามารถของกำลังคนที่มีศักยภาพ
  5. แนวทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและสร้างแนวทางใหม่ สนับสนุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพ สามารถดำเนินธุรกิจได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จัดทำ Thailand National Startup Team เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน และเป็นตัวเลือกในการพิจารณาของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมใหม่เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน เช่น อุตสาหกรรมคอนเทนต์ เป็นต้น”

หารือกลุ่ม startup ๒๐๐๕๐๗ 0008 หารือกลุ่ม startup ๒๐๐๕๐๗ 0002 หารือกลุ่ม startup ๒๐๐๕๐๗ 0006

          ดรสุวิทย์ (รมว.อว.) กล่าวต่อว่า “อย่างไรก็ดี จากข้อเสนอที่กลุ่มสตาร์ทอัพเสนอมานั้น กระทรวง อว. พร้อมรับไว้พิจารณา โดยจะมุ่งเน้นในการพิจารณาในการเยียวยาเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง พร้อมทั้งพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยจะต้องผนึกกำลังในกลุ่มสตาร์ทอัพเพื่อสร้างความเข็มแข็งให้อยู่รอดได้ หรือร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ และจะต้องสร้างงาน (Job Creation) ให้ตรงกับความต้องการของอุปสงค์ใหม่ (Demand Creation) เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระยะยาว ซึ่งขณะนี้ตลาดมีความต้องการในเรื่องของ สังคมไร้เงินสด (Cashless Society), AI Economy, BCG Model และ Reinventing University ซึ่งจะสอดรับกับธุรกิจ Edtech การศึกษาครูของครู เป็นต้น”

 

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) NIA

ข่าวโดย : นายจิรายุ รุจิพงษ์วาที

ภาพโดย : นายภูมินทร์ ปั้นเล็ก

วิดีโอโดย : นายสุเมธ บุญเอื้อ

ส่วนสื่อสารองค์กร

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834

Facebook : @MHESIThailand

Call Center โทร.1313

รู้ทันการอยู่รอดไวรัสโคโรนา ลดความเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19

1

          ทราบกันดีแล้วว่าโรค COVID-19 ที่กำลังระบาดรุนแรงทั่วโลกขณะนี้ เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งโรค COVID-19 มีสัญญาณการแสดงออกของโรคที่กว้างมาก โดยมีทั้งผู้ป่วยที่อาการรุนแรง มีอาการไม่รุนแรงเหมือนเป็นไข้หวัดทั่วไป หรืออาจไม่มีอาการเลย ที่สำคัญคือเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ง่ายจากคนสู่คนผ่านฝอยละอองที่เกิดจากการไอ จาม หรือการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ติดอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ

การอยู่รอดของไวรัสโคโรนา

          ล่าสุดมีงานวิจัยพบว่า ไวรัส SARS-CoV-2 ที่ปะปนอยู่ในฝอยละออง (Aerosal) จากการไอหรือจามของผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลา 3 ชั่วโมง แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเชื้อในละอองฝอยที่เกิดจากการไอจามของผู้ป่วยเหล่านั้นจะมีปริมาณมากพอที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อในคนอื่นได้หรือไม่

2

          ทว่านักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเชื้อไวรัสแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ติดอยู่บนพื้นผิวต่าง เช่น พลาสติก สเตนเลส กระจก ได้มากกว่า โดยไวรัสสามารถอยู่บนพื้นผิวและจะค่อยลดลงเรื่อยๆ จนไม่พบไวรัสเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน แต่ไวรัสจะลดลงอย่างรวดเร็ว หากอยู่บนพื้นผิวที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหรือมีคุณสมบัติในการดูดซับ เช่น กระดาษแข็ง กล่องพัสดุ กระดาษ ผ้า กระสอบ โดยจะอยู่ได้สูงสุดเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น

8 วิธีลดความเสี่ยงติดเชื้อก่อโรค COVID-19

          ในเมื่อทุกสถานที่ทั้งในบ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน ร้านค้า ล้วนมีวัสดุอย่างพลาสติก สเตนเลส กระจก รายล้อมรอบตัวไปหมด ไม่ว่าจะม้านั่ง ราวบันได ลูกบิดประตู ปุ่มกดในลิฟต์ ซึ่งพื้นผิวต่างๆ เหล่านี้อาจจะเต็มไปด้วยเชื้อไวรัส เมื่อเราสัมผัสย่อมมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ วิธีที่ป้องกันที่ดีที่สุดคือการอยู่บ้าน เว้นระยะห่างจากสังคม และหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยให้คิดเสมอว่านิ้วมือของคุณคือแหล่งเชื้อโรค ที่ต้องคอยล้างให้สะอาดและล้างให้มากกว่าปกติ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสเนื้อเยื่อต่างๆ ที่นำไปสู่ระบบทางเดินหายใจ นั่นคือห้ามนำมือไปขยี้ตา แคะจมูก หรือสัมผัสที่ริมฝีปากเป็นอันขาด และหากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้านก็ให้นึกถึงเคล็ดลับเหล่านี้ไว้

3

เมื่อต้องออกไปซื้อของ

          แน่นอนว่าคงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องสัมผัสพื้นผิวและสิ่งของต่างๆ ทั้งรถเข็น ตะกร้า ดังนั้นควรพกเจลแอลกอฮอล์ หรือกระดาษชุบแอลกอฮอล์ เพื่อเช็ดทำความสะอาด และใช้ล้างมือหลังซื้อของเสร็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการนำเชื้อไวรัสกลับบ้าน

การจ่ายเงิน

          ทั้งบัตรเครดิตและเงินสด สามารถนำเชื้อไวรัสมาสู่คุณได้ แต่การจ่ายด้วยบัตรเครดิตอาจจะมีความเสี่ยงที่น้อยกว่าเนื่องจากคุณเป็นผู้พกบัตรเครดิต ทำให้ไม่ถูกสัมผัสโดยคนอื่นมากเท่าเงินสด แต่หากเป็นไปได้การจ่ายเงินผ่าน Mobile Banking คือวิธีที่ปลอดภัยที่สุด

การจัดการอาหารสดและอาหารกระป๋อง

          ด้วยอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารกระป๋องสูงกว่าอุณหภูมิที่ใช้ฆ่าเชื้อไวรัสอย่างมาก อาหารกระป๋องจึงมีความปลอดภัย และปราศจากเชื้อไวรัสอย่างแน่นอน แต่สำหรับอาหารสดหรือบรรจุใหม่ มีความเสี่ยงขึ้นอยู่กับว่าผู้ขายหรือผู้ที่บรรจุนั้นป่วยหรือไม่ ซึ่งหากมีความกังวล อาจใช้วิธีล้างผักและผลไม้ด้วยสบู่อ่อนๆ และต้องล้างให้สะอาด ทั้งนี้ไม่ควรล้างผักผลไม้ที่มีผิวนุ่ม เช่น สตรอว์เบอร์รี่ เพราะอาจจะทำให้ล้างสบู่ออกได้ไม่หมด พยายามปลอกเปลือกผลไม้ก่อนรับประทาน รวมทั้งพยายามใช้ความร้อนสูงในการปรุงอาหารเพื่อฆ่าเชื้อไวรัส

การสั่งอาหารกลับบ้าน หรืออาหารออนไลน์

          หากคุณเป็นผู้ประกอบการ แนะนำว่าให้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำวัสดุที่เป็นเส้นใย เช่น กระดาษ ผ้า และหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติก เพราะนักวิจัยไม่พบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 บนกระดาษแข็งหลังผ่านไป 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ระวังการรับส่งอาหารโดยไม่ให้มีการสัมผัสโดยตรงกับพนักงาน

การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ, บันไดเลื่อน, ลิฟต์ และห้องน้ำ

          พื้นผิวสัมผัสที่แข็งและมีความมันวาว เช่น ปุ่มกดลิฟต์ ราวบันไดเลื่อน มีความเสี่ยงสูงมากกว่าการนั่งบนเบาะผ้า หรือเดินขึ้นบันได แม้ว่าขณะนี้จะมีความพยายามทำความสะอาดพื้นผิวเหล่านี้ให้มีความถี่มากขึ้นก็ตาม คุณก็ยังต้องพยายามดูแลตนเอง โดยหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสพื้นผิวเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำสาธารณะ

โทรศัพท์มือถือ

          หากคุณใช้โทรศัพท์เวลาออกนอกบ้านบ่อยครั้ง ย่อมมีโอกาสที่มือของคุณจะสัมผัสเชื้อจากสถานที่ต่างๆ แล้วมาสัมผัสที่หน้าจอ ดังนั้นหมั่นทำความสะอาด ใช้แอลกอฮอล์เช็ดโทรศัพท์มือถือของคุณอย่างสม่ำเสมอและทันทีเมื่อถึงบ้าน

สิ่งของที่ยากต่อการทำความสะอาด

          แสงแดดอาจช่วยคุณได้ เช่น การนำรองเท้าที่ใส่ทุกวันตากแดดไว้ด้านนอก ไวรัสโคโรนาจะถูกทำลายอย่างรวดเร็วในอุณหภูมิที่สูงกว่า 56 องศาเซลเซียส หรือภายใต้แสงยูวีโดยตรง อย่างไรก็ดีวิธีที่ดีสุดที่จะช่วยหยุดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การเว้นระยะห่างทางสังคม โดยการอยู่บ้าน และหมั่นล้างมือ กินร้อน ช้อนตัวเอง

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วว. ประกาศ “ลดค่าบริการ”งานบริการเพื่ออุตสาหกรรม ช่วยเหลือผู้ประกอบการผ่านพ้นวิกฤตสถานการณ์ COVID-19

 

1

         กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ประกาศลดค่าบริการของกลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ครอบคลุมงานบริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือวัด งานตรวจประเมิน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 30 มิถุนายน 2563 สนองตอบนโยบายรัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทย ให้ผ่านพ้นวิกฤตสถานการณ์ COVID-19

         ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว.ชี้แจงว่า จากสถานการณ์การระบาดไวรัส  COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อผลกิจการของของภาคธุรกิจในวงกว้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมของไทย ดังนั้น วว. โดยกลุ่มบริการอุตสาหกรรม จึงได้ประกาศลดค่าบริการของศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ และสำนักรับรองระบบคุณภาพ โดยครอบคลุมงานด้านงานบริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือวัด งานตรวจประเมิน นับเป็นการช่วยเหลือและลดค่าใช้จ่ายของภาคอุตสาหกรรม จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมผ่านพ้นวิกฤตจากสถานการณ์ดังกล่าวได้อีกแนวทางหนึ่ง

         “... วว. ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตไวรัสCOVID -19 ด้วยการลดค่าบริการของกลุ่มบริการอุตสาหกรรม 10 - 20 เปอร์เซ็นต์  หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรการนี้จะสามารถช่วยภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ดังกล่าวอีกทางหนึ่ง...” ผู้ว่าการ วว. กล่าวเพิ่มเติม

         นายวิรัช จันทรา รองผู้ว่าการกลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว.ชี้แจงเพิ่มเติมถึงรายละเอียดของรายการค่าบริการของงานบริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือวัด งานตรวจประเมิน ที่จะลดราคานั้นประกอบด้วย

2

งานบริการวิเคราะห์ ทดสอบของศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ ได้แก่

         - Pitting corrosion test

         - Intergranular corrosion test Hardness

         - Wear test, Friction rest

         - Residual stress measurement

4

งานบริการทดสอบของศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย ได้แก่ ทดสอบบรรจุภัณฑ์ทุกรายการตามมาตรฐาน มอก.

5

งานบริการวิเคราะห์ ทดสอบ และสอบเทียบ ของศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ได้แก่

         - ทดสอบด้านฟิสิกส์ มูลค่า 30,000 บาทขึ้นไป ไม่รวมงานตามมาตรฐาน มอก.

         - ทดสอบน้ำและน้ำเสีย   

         - ทดสอบสารก่อภูมิแพ้มูลค่า 20,000 ขึ้นไป

         - สอบเทียบเครื่องมือวัดทางแสงอุณหภูมิและทางกล มูลค่า 3,000-15,000 บาท  ไม่รวม on site

         - สอบเทียบเครื่องมือวัดทางแสงอุณหภูมิและทางกล มูลค่า 15,000 บาท ขึ้นไป  ไม่รวม on site

         - สอบเทียบเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

3

งานตรวจประเมินของสำนักรับรองระบบคุณภาพ ได้แก่

         - ค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินเพื่อให้การรับรอง ระบบมาตรฐานสากล ISO 9001  ISO 14001 ISO 45001 ISO 22000  GMP(codex) HACCP (codex)

         สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. โทร. 0 2577 9000 www.tistr.or.th หรือติดต่อโดยตรงที่ ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ โทร. 0 2577 9266, ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย โทร. 0 2579 1121-30 ต่อ 3101, ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา โทร. 0 2323 1672-80 ต่อ 115, 116, สำนักรับรองระบบคุณภาพ โทร.0 2577 9344 ต่อ 9374

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วว. มอบผลิตภัณฑ์งานวิจัย “เจลล้างมือแอลกอฮอล์” แก่ BOI เพื่อป้องกันการระบาดไวรัส Covid -19

1

          ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบผลิตภัณฑ์ “เจลล้างมือแอลกอฮอล์” ผลงานวิจัยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร วว. ให้แก่ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI เพื่อป้องกันการระบาดไวรัส Covid-19 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ณ BOI

          ทั้งนี้ เจลล้างมือแอลกอฮอล์ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีนั้น เมื่อเปิดใช้ต้องมีกลิ่นแอลกอฮอล์ สามารถใช้เจลล้างมือได้บ่อยครั้งตามต้องการ เนื่องจากแอลกอฮอล์ (เอทิลแอลกอฮอล์) มีคุณสมบัติเป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรีย รวมทั้งไวรัสและเชื้อรา โดยสามารถฆ่าหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ และแอลกอฮอล์ที่นำมาใช้จะต้องมีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70% โดยอายุการเก็บรักษาของเจลล้างมือจะอยู่ที่ประมาณ 2 ปีนับจากวันที่ผลิต

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วว. แชร์ไอเดีย ปลูกอย่างไร ให้มีผักกินตลอดระยะเวลา 3 เดือน เน้นสด สะอาด ปลอดภัย ด้วยมือของท่านเอง

1

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แชร์ไอเดียผ่านการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาโดย สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานภูมิภาคของ วว. ว่า เราจะมีผักสดๆ สะอาด ปลอดภัยกินได้ตลอด 3 เดือน เพียงเราใช้เวลาว่างพักจากเรื่องเครียดๆ จากสถานการณ์ปัจจุบันของไวรัสโควิด-19 มาเพาะปลูกผักนานาชนิดที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมด้วยเส้นใยอาหาร โดยการปลูกผักจากแนวคิดนี้มุ่งเน้นตามความเหมาะสมของบ้านหรือที่พักอาศัยของแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเพาะไว้ในห้องครัว ปลูกในแปลงปลูก สำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อยปลูกในกระถาง วางไว้ข้างบ้าน ระเบียงห้อง หรือออกแบบพื้นที่ปลูกสวนครัวแนวตั้ง ก็สามารถปลูกได้ไม่ยาก เพียงเรารู้อายุเก็บเกี่ยวของพืช และมีแผนแบ่งพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม ก็จะได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อความต้องในครัวเรือน หรือหากท่านใดมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก อาจจะเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้เสริมต่อไป

          ข้อแนะนำสำคัญในการปลูกให้มีผักกินตลอดระยะเวลา 3 เดือนก็คือ การเตรียมหรือเลือกซื้อวัสดุปลูก ดินปลูก ที่มีความร่วน โปร่ง ระบายน้ำดี และเลือกใส่ปุ๋ยให้ธาตุอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตที่เหมาะสมต่อช่วงอายุของพืช รวมถึงการให้น้ำ ควรเลือกใช้กระถางที่เหมาะสม และการได้รับแสงของพืชก็ต้องเหมาะสมด้วย เนื่องจากหากอายุผักมากขึ้นความต้องการน้ำก็มากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้เมื่อปลูกผักไประยะหนึ่งหากพบว่าวัสดุปลูกในกระถางยุบตัวลง ให้ใส่ดินผสมลงไปด้านบนเพิ่ม พืชผักของเราก็จะเจริญเติมโตให้ผลผลิตต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุการให้ผลผลิตของผักแต่ละชนิดด้วย

          ไอเดียที่ วว. นำมาแนะนำถ่ายทอดในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยให้ท่านมีงานอดิเรก ช่วยผ่อนคลายจากภาวะตึงเครียดแล้ว ยังจะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระเศรษฐกิจในครัวเรือนได้ด้วย และเหนือสิ่งอื่นใดจะช่วยให้ท่านมีสุขภาพดีทางอ้อมจากการทานผักที่สด สะอาด ปลอดภัย อันจะส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานที่ดีต่อไป

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วว. แนะคลายเครียดด้วย “แตงโม” อุดมด้วยโภชนาการ ช่วยป้องกันการติดเชื้อ

1

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แนะทาน “แตงโม” เพื่อช่วยคลายร้อน คลายความเครียด ด้วยคุณสมบัติอุดมด้วยสารอาหาร ที่ให้ประโยชน์กับร่างกาย ส่งผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อ รักษาแผลให้หายเร็ว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ในสภาวะที่มีแรงกดดันมากมายในยุคปัจจุบัน การรับประทานแตงโมสามารถช่วยลดความตึงเครียดได้ เพราะสารโพแทสเซียมในแตงโมจะช่วยควบคุมความดันโลหิตทำให้รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดี เย็นชื่นใจ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้แตงโมยังมีสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆ ดังนี้

2

- “ช่วยป้องกันการติดเชื้อ” เพราะการดื่มน้ำแตงโมจะช่วยเพิ่มเบต้าแคโนทีน (Beta Carotene) ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ในการสร้างวิตามินเอ หากร่างกายมีวิตามินเอในปริมาณมากๆ จะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ รวมถึงยังช่วยบำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้แข็งแรงอีกด้วย

- “ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น” แตงโมมีสารซิตรัลลีน (citrulline) อยู่มาก โดยสารนี้จะไปช่วยในการรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น ทั้งนี้ในการรับประทานแตงโมไม่ใช่เพียงจะดื่มน้ำแตงโมอย่างเดียว เราควรกินเนื้อแตงโมเข้าไปด้วย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นเนื้อสีขาวที่อยู่ลึกลงไป แม้รสชาติจะไม่ค่อยหวาน แต่มีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย

- “ช่วยต้านมะเร็ง มีประโยชน์ต่อหัวใจ” แตงโมมีสารสำคัญสีแดงที่มีชื่อว่า “ไลโคปีน” (Lycopene) ที่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งสารนี้จะมีอยู่มากในมะเขือเทศด้วยเช่นกัน แต่เมื่อเทียบกันแล้วแตงโมจะมีมากกว่าถึง 40% นอกจากนี้วารสารวิชาการ “โรคมะเร็ง” แห่งเอเชียแปซิฟิก ได้ระบุว่าสารไลโคปีนนี้จะช่วยเป็นโล่ปกป้องผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด เพื่อไม่ให้เป็นมะเร็งผิว

          นอกจากนี้ทีมนักวิจัยจาก Florida State University พบว่าแตงโมมีกรดอะมิโน L-Citrulline อยู่มาก ซึ่งกรดชนิดนี้เป็นสารตั้งต้นของ L-Arginine ที่ช่วยควบคุมการทำงานของหลอดเลือดหัวใจและช่วยให้การไหลเวียนโลหิตเป็นไปโดยสะดวก จำเป็นต่อการสร้างกรดไนตริก ซึ่งเป็นก๊าซที่ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยลดความดันโลหิตและป้องกันเส้นเลือดสมองแตกได้

3

- “มีประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรคอ้วนและเบาหวาน” แตงโมมีแคลอรี่ต่ำและยังอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ วารสารโภชนาการของต่างประเทศ “Journal of Nutrition” ได้ให้ข้อมูลว่า กรดอะมิโนในแตงโมที่มีชื่อว่า “อาร์จินิน (Arginine)” มีอยู่มากมายในเนื้อแตงโม เป็นสารที่ช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่ได้ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันและกลูโคส ส่วนไขมันในแตงโมมี 96 แคลอรี่เท่านั้น ฉะนั้นการกินแตงโมที่ชุ่มฉ่ำด้วยน้ำ จะช่วยทำให้เราอิ่มได้เร็วขึ้น

- “แตงโมกับความงาม” ความเย็นของแตงโมจะช่วยผ่อนคลายผิวหน้าภายนอกให้ดูสดชื่น ส่วนสารสีแดงจากแตงโม คือ ไลโคปีน ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) จะสามารถดูดซับความมันบนใบหน้าได้เป็นอย่างดี และวิตามินเอที่มีในแตงโมจะช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างใสขึ้น และวิตามินซีจะช่วยให้ผิวกายสดใสขึ้น แตงโมสีแดงสดยังเต็มไปด้วยโพแทสเซียมที่จะช่วยควบคุมระบบการไหลเวียนของโลหิตในบริเวณผิวหน้าให้เป็นปกติ อีกทั้งยังช่วยให้รูขุมชนมีความยืดหยุ่น ชุ่มชื่น น้ำของแตงโมก็มีประโยชน์ต่อผิวสวยของทุกคน เพราะในน้ำของแตงโมจะมีโมเลกุลของน้ำตาล รวมทั้งมีกรดอะมิโนอยู่เล็กน้อย ซึ่งจะช่วยในการบำรุงผิวของสาวๆ ให้สวยใสยิ่งขึ้น

          แม้นว่าแตงโมแช่เย็นจะให้ความสดชื่นแก่ผู้รับประทาน แต่อาจมีคุณค่าทางโภชนาการลดลงเมื่อเทียบกับแตงโมที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง เนื่องจากแตงโมยังผลิตสารอาหารต่อเนื่องแม้ถูกเก็บมาจากต้นแล้ว ซึ่งกระบวนการนี้จะลดลงหากนำแตงโมไปเก็บในอุณหภูมิเย็น อย่างไรก็ตามรสเย็นของแตงโมก็มีส่วนช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ “แตงโม” ยังมีคุณค่าทางสมุนไพร อาทิ “ราก” มีน้ำยางใช้กินแก้อาการตกเลือดหลังการแท้ง “ใบ” ใช้ชงเป็นยาลดไข้ ผลที่แสนอร่อยนั้นมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ ช่วยย่อย แก้เบาหวาน และดีซ่าน จากคุณประโยชน์ที่หลากหลายนี้แตงโมจึงเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกทางเลือกหนึ่งของคนรักสุขภาพทุกๆท่าน

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วว.เปิดรับสมัครบัณฑิตอาสา 70 อัตรา หวังบ่มเพาะผู้ประกอบการหน้าใหม่ แก้ปัญหาว่างงาน จากสถานการณ์วิกฤติโควิด - 19

1

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ช่วยแก้ปัญหาการว่างงานจากสถานการณ์โควิด-19 เปิดรับสมัครบัณฑิตอาสาจำนวน 70 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 23 เมษายน 2563 ระบุผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินเดือน 9,000 บาทต่อราย ในระยะเวลา 6 เดือน เริ่มปฏิบัติงานวันที่ 1 พฤษภาภาคม 2563 เป็นต้นไป

          ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. ได้รับมอบหมายจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำเนินโครงการจ้างงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคราน่า 2019 (โควิด-19)” ตามมติ ครม. (เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563) เพื่อร่วมพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ แก้ปัญหาการว่างงานของประเทศ โดย วว. เปิดรับสมัครบัณฑิตอาสาจำนวน 70 อัตรา ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจในการพัฒนาทักษะใหม่และได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 เป็นบัณฑิตจบใหม่ระดับปริญญาตรี ไม่เกิน 5 ปี ทางด้านเทคนิค วิศวกรรม การบริหารการจัดการ การวางแผนการผลิต การตลาด การเกษตร และวิทยาศาสตร์การอาหาร  มีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน 9,000 บาท ในระยะเวลาจ้างงาน 6 เดือน ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ที่  www.tistr.or.th  ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 23 เมษายน 2563 ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะเริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 พฤษภาคม 2563   

2

          “...วว. มีโครงสร้างพื้นฐาน (Shared Service) ครอบคลุมใน 7 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี แพร่ ลำพูน น่าน ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ และสงขลา ที่ได้พัฒนาเทคโนโลยี พร้อมให้บริการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยงานวิจัยและยกระดับการผลิตหรือทดลองผลิตเพื่อทดลองตลาด ก่อนยกระดับสู่เชิงพาณิชย์แก่ประชาชนหรือผู้ประกอบการในพื้นที่ ทั้ง OTOP และ SMEs โดยแต่ละพื้นที่จะมีนักวิจัย วว. ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีหลากหลายด้าน เช่น เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีด้านเครื่องสำอาง เป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ความช่วยเหลือ 

          ดังนั้นในสถานการณ์ปัจจุบันจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการดำเนินชีวิตอย่างมากนั้น เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการได้เห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ วว. จึงพร้อมเป็นแหล่งบ่มเพาะบัณฑิตอาสาที่จบใหม่ ซึ่งยังว่างงานอยู่ขณะนี้ ให้สามารถเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี เพื่อนำเอาองค์ความรู้ เทคโนโลยีที่ได้รับถ่ายทอดเชิงปฏิบัติการผ่านโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวในแต่ละพื้นที่  ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรในแต่ละพื้นที่  อีกทั้งยังสามารถนำประสบการณ์ที่ได้จาก วว. ผ่านโครงการนี้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือพัฒนาเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ต่อไป ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อเศรษฐกิจได้...” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ผู้สนใจติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองบริการธุรกิจและนวัตกรรม วว. โทร. 02 577 9300 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 23 เมษายน 2563

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วว.เปิดรับสมัครบุคลากรเพิ่ม 70 อัตรา สนองนโยบายรัฐ แก้ปัญหาว่างงาน สู้วิกฤตโควิด-19

1

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดรับสมัครบุคลากรเพิ่มอีก 70 อัตรา ภายใต้ “โครงการ อว. สร้างงาน” สร้างรายได้ 9,000/เดือน ระยะเวลาการจ้าง 5 เดือน ช่วยเหลือผู้ว่างงานจากสถานการณ์โควิด-19 เปิดรับสมัครออนไลน์ทาง www.tistr.or.th ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2563

          ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. ได้รับมอบหมายจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำเนินโครงการจ้างงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคราน่า 2019 (โควิด-19) หรือ “โครงการ อว. สร้างงาน” เพื่อรองรับผู้ที่ว่างงานจากสถานการณ์ COVID-19 และเสริมสร้างศักยภาพให้กับกำลังแรงงานสมัยใหม่ และส่งเสริมการพัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่างๆ ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของการจ้างงานในเฟสแรก ช่วงปลายเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา วว. ได้รับสมัครบุคลากรที่สนใจเข้าร่วมงานในโครงสร้างพื้นฐาน วว. 7 แห่งทั่วประเทศไปแล้วจำนวน 70 อัตรา และจะเริ่มปฏิบัติงานจริงในเดือนพฤษภาคมนี้แล้วนั้น

          บัดนี้ วว. ประกาศสรรหาและรับสมัครบุคลากรเพิ่มเติมอีกจำนวน 70 อัตรา เพื่อปฏิบัติงาน ณ โรงงานนำทางแปรรูปอาหารและวัตถุดิบ (Ingredients) การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตเห็ด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์พืช การผลิตเมล็ดพันธุ์ โดยให้ผู้ที่ได้รับการจ้างงานดำเนินงานเกี่ยวข้องกับวางแผนการผลิต การใช้เครื่องมือในการผลิต การตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน 9,000 บาทต่อราย ในระยะเวลาจ้างงาน 5 เดือน ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ที่ www.tistr.or.th ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะเริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 มิถุนายน 2563

          “…วว. ถือเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้สนับสนุนนโยบายของภาครัฐ โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ อว. สร้างงาน โดยใช้ศักยภาพในด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Shared Service) ครอบคลุมใน 7 จังหวัดทั่วภูมิภาค เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติงานแก่ผู้ประสบปัญหาว่างงานจากวิกฤตโควิด-19 ได้ นอกจากการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจาก วว. แล้ว ยังเป็นโอกาสอันดี ที่ท่านจะได้เพิ่มการเพิ่มพูนทักษะการปฏิบัติงานในโรงงาน ได้ Up skill จากการฝึกปฏิบัติจริง รวมถึงด้านการบริหารจัดการโรงงาน รวมทั้งเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ ในโรงงาน ทั้งนี้แต่ละพื้นที่จะมีนักวิจัย วว. ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีหลากหลายสาขา เช่น เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีการเกษตร วิศวกรรม และอื่นๆ ช่วยเป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ วว. สามารถช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ด้วยดี….” ผู้ว่าการ วว. กล่าวเพิ่มเติม

ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ที่ www.tistr.or.th หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองบริการธุรกิจและนวัตกรรม วว. โทร. 02 577 9300 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2563

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วว.แนะวิธีปลูกผักกูดขาย..เพิ่มรายได้ สู้วิกฤตโควิด-19

                   1                

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยสถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ประสบความสำเร็จพัฒนาระบบการปลูกผักกูดในพื้นที่ร้อน/แล้ง แนะหากจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตสามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย โชว์เคสตัวอย่างเกษตรกรสามารถปลูกผักกูดในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สร้างรายได้ ช่วยลดผลกระทบ สู้วิกฤตโควิด-19

          นายมนตรี แก้วดวง ผู้อำนวยการสถานีวิจัยลำตะคอง วว. เปิดเผยความสำเร็จในการพัฒนาระบบการปลูกผักกูด ของสถานีวิจัยลำตะคอง วว. ว่า ผักกูด [Diplazium esculentum (Retz.) Swartz] เป็นพืชตระกูลเดียวกับเฟิร์น ลักษณะของต้นผักกูดจะขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ 50 - 100 เซนติเมตร รากแตกฝอยเป็นกระจุกใหญ่ ก้านใบแตกจากเหง้าใต้ดิน ใบยาว 50 - 100 เซนติเมตร ส่วนของยอดอ่อนปลายยอดม้วนงอแบบก้อนหอยและมีขน การขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์ที่สร้างขึ้นบริเวณด้านหลังใบ เมื่อสปอร์ปลิวไปตกบริเวณที่มีความชื้นก็จะแตกเป็นต้นใหม่ และขยายพันธุ์โดยใช้ต้นใหม่ที่เกิดจากส่วนเหง้าหรือรากฝอยของต้นแม่ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทราย ในสภาพมีความชื้นสูง แสงแดดไม่ร้อนจัดเกินไป คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าผักกูดจะต้องปลูกในพื้นที่มีฝนตกชุกและความชื้นค่อนข้างสูง อย่างภาคใต้และภาคตะวันออก แต่จากการศึกษาเพื่อพัฒนาระบบการปลูกผักกูดในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พิสูจน์ให้เห็นว่า การปลูกผักกูดให้ได้ผลผลิตที่ดีต้องปลูกในสภาพแสงแดดรำไรและมีความชื้นสูง หากเราจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตก็สามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย

          “สำหรับรูปแบบของการปลูกผักกูดสามารถทำได้ 2 วิธี คือการปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่น เพื่อช่วยในการพรางแสง เช่น การปลูกร่วมกับกล้วย หรือปลูกร่วมกับไม้ผลยืนต้น วิธีที่สองปลูกภายใต้ร่มเงาตาข่ายพรางแสงหรือสแลนที่สามารถพรางแสงได้ตั้งแต่ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ระยะปลูกที่ใช้ระหว่างแถวและระหว่างต้น 50 เซนติเมตร การดูแลรักษาเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก โดยใส่ประมาณ 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ทุก ๆ 3 เดือน/ครั้ง ร่วมกับการพ่นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ 1 - 2 ครั้ง/เดือน ในช่วงที่เริ่มเก็บผลผลิตแล้ว จะช่วยให้ได้ต้นมีการเจริญเติบโตและผลผลิตดีขึ้น หลังปลูกผักกูดประมาณ 6 - 8 เดือน จึงเริ่มเก็บผลผลิตได้ โดยเก็บส่วนยอดความยาว 25 - 30 เซนติเมตร ผลผลิตที่ได้เฉลี่ยประมาณ 200 กิโลกรัม/ไร่/เดือน นอกจากนี้ผักกูดไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน การปลูกจึงไม่มีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลง จึงเหมาะอย่างยิ่งในการผลิตเป็นพืชผักปลอดสารพิษ…” ผอ.สถานีวิจัยลำตะคองกล่าวเพิ่มเติม

2

          นายอาคม ทัศนะนาคะจิตต์ เกษตรกรในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ตัวอย่างของเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการปลูกผักกูด กล่าวว่า สนใจและอยากที่จะปลูกผักกูดมานานแล้ว เพราะเป็นผักที่มีรสชาติอร่อย แต่หาซื้อรับประทานยาก หากไม่ใช่ช่วงฤดูกาลที่มีผลผลิตออกตามธรรมชาติ หรือพื้นที่ที่มีการปลูก จากการพูดคุยกับคนรู้จักและผู้ที่ชื่นชอบรับประทานผักเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักปลอดสารพิษ และจากการสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต พบว่ามีงานวิจัยเกี่ยวกับการปลูกผักกูดที่สถานีวิจัยลำตะคอง วว. ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอปากช่อง เช่นกัน จึงได้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำวิธีการปลูก จากนั้นจึงเริ่มต้นหาแหล่งต้นพันธุ์จากคนที่รู้จักซึ่งปลูกอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี นำมาปลูกในพื้นที่ข้างบ้านประมาณ 3 ไร่ โดยปลูกร่วมกับต้นมะเขือพวง ช่วงเดือนแรกที่ปลูกสังเกตว่าต้นกล้ามีอาการเหลือง ไม่เป็นสีเขียว จึงได้ปรึกษากับทางนักวิจัยของสถานีวิจัยลำตะคอง เพื่อเข้าไปดูแปลง ได้รับคำแนะนำว่าแปลงปลูกแสงแดดจัดเกินไป ควรที่จะมีการพลางแสงด้วยสแลนและรดน้ำให้ต้นได้รับความชื้นที่เหมาะสมจะทำให้ต้นโตดี จึงตัดสินใจซื้อวัสดุมาบางส่วนร่วมวัสดุที่มีอยู่แล้วทำเป็นโครงเพื่อขึงสแลน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าหลังจากการพลางแสงและให้น้ำอย่างเหมาะสม ต้นผักกูดเจริญเติบโตดีมาก ตอนนี้ปลูกมาได้ประมาณ 8 เดือน เริ่มเก็บผลผลิตได้แล้ว แต่ละวันจะเก็บยอดผักกูดได้ประมาณ 10 - 15 กิโลกรัม มีคนมารับซื้อถึงหน้าสวน ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม มีรายได้เข้ามาวันละประมาณ 600 - 1,000 บาท ถือว่าช่วยลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้บ้าง และในอนาคตหากช่องทางการตลาดไปได้ดีก็จะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น และผลิตต้นพันธุ์จำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจอยากจะทดลองปลูกผักกูด

          อนึ่ง “ผักกูด” เป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางด้านอาหาร โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็กพบว่ามีปริมาณสูง ซึ่งหากรับประทานผักกูดจะช่วยบรรเทาโรคโลหิตจางและบำรุงเลือดได้เป็นอย่างดี เป็นผักที่มีเส้นใยสูงเมื่อรับประทานแล้วจึงช่วยในการระบาย รับประทานได้ทั้งสดและปรุงเป็นอาหาร เช่น ลวกหรือต้มจิ้มกับน้ำพริก ผักกูดต้มกับกะทิ ยำผักกูด ผัดผักกูดไฟแดง แกงส้ม และแกงเลียง เป็นต้น

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วศ.อว. ทำเจลล้างมือสูตรกรมวิทยาศาสตร์บริการ มอบหน่วยงานในสังกัด อว.บริการประชาชน ต้านไวรัส Covid-19

12

          นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid -19 จึงมีนโนบายให้ผลิตเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือสูตรกรมวิทยาศาสตร์บริการขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันของเชื้อไวรัสฯ และสุขอนามัยที่ดี ตามมาตรการป้องกันการระบาดของโรค

34

          ทั้งนี้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือสูตรดังกล่าว มีกลีเซอรีนและลาโนลีนในส่วนผสมและมีความเข้มข้นแอลกอฮอล์ที่ 71.2% ซึ่งเป็นสูตรที่มีความเข้มข้นเหมาะสมกับการใช้งาน จึงได้ผลิตและมอบให้กับหน่วยงานในสังกัด อว.ไว้บริการบุคลากรภายใน และประชาชนที่มาใช้บริการต่อไป

ข้อมูลข่าวโดย : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วศ.อว. ร่วมมือ สถาบันสิ่งทอพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้า เพื่อต่อยอดงานวิจัยสู้ไวรัส Covid-19

12

          เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยผู้บริหารและทีมนักวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมหารือในประเด็นการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบหน้ากากอนามัย ณ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (กล้วยน้ำไท) โดยมี ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และคณะให้การต้อนรับ การหารือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือพัฒนากระบวนการทดสอบมาตรฐานหน้ากากอนามัยแบบผ้า การทำชุดป้องกันเชื้อโรคให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ป้องกันไวรัส Covid-19 รวมถึงงานวิจัยด้านอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ช่วยลดภาระการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงช่วยเหลือภาครัฐในการรับมือกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

34

          นอกจากนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เข้าศึกษาดูงานด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและดำเนินงานโครงการส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อยเพื่อยกระดับสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐานในพื้นที่ภูมิภาค ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมี นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และคณะให้การต้อนรับ

ข้อมูลข่าวโดย : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วศ.อว. เปิดศูนย์ให้ความรู้ สู้ภัย Covid-19

1

          กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดตั้งศูนย์บริการประชาชน (Call Center) เพื่อร่วมมือร่วมใจให้ความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับข้อสงสัยในเรื่องของเจล แอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อ ฯลฯ โดยจัดให้มีนักวิทยาศาสตร์ตอบข้อมูล ข้อสงสัย เริ่มตั้งแต่วันนี้ สอบถามสายด่วนได้ที่ โทร 02 201 7000

ข้อมูลข่าวโดย : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

วศ.อว. แนะใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารช่วยเก็บรักษาอาหาร สดใหม่ ช่วงวิกฤติอยู่บ้านหยุดเชื้อโควิด-19

1                                   

          เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แนะเลือกใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารช่วยเก็บรักษาอาหาร สดใหม่ ช่วงวิกฤติอยู่บ้านหยุดเชื้อโควิด-19 ที่มีความจำเป็นต้องซื้ออาหารมาเก็บไว้ใช้ให้เพียงพอโดยไม่ต้องออกไปซื้อบ่อยครั้ง เมื่ออาหาร ผักผลไม้ที่ซื้อมาปริมาณมาก และต้องเก็บรักษาในภาชนะปิดสนิท เพื่อให้สดใหม่ ป้องกันฝุ่นละออง หรือ เชื้อจุลินทรีย์ นอกจากการแยกเก็บจัดใส่กล่องแล้ว การเลือกใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารไว้จะช่วยลดพื้นที่การเก็บ และคงความสดใหม่ ที่สำคัญฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารมีหลายชนิดที่ควรรู้จัก เพื่อจะได้เลือกซื้อมาใช้ได้ตรงกับประเภทอาหารที่จะเก็บรักษา โดยนักวิทยาศาสตร์ จากกลุ่มงานพลาสติก กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ให้ข้อมูลชนิดของฟิล์มยืดที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้

1.) โพลีเอทิลีน (PE) มีสมบัติที่ให้ไอน้ำซึมผ่านได้น้อย แต่ก๊าซสามารถซึมผ่านได้ดี เหมาะสำหรับใช้ห่อผัก ผลไม้สด เป็นต้น

2.) โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสมบัติยอมให้ไอน้ำและอ็อกซิเจนไหลผ่านได้เหมาะสม ส่วนใหญ่นิยมใช้ห่ออาหารสด เพื่อช่วยรักษาความสดของอาหารเอาไว้ เช่น เนื้อสัตว์ และปลา เป็นต้น.

3.) โพลีไวนิลิดีนคลอไรด์ (PVDC) มีสมบัติที่เหมือนกับฟิล์มยืดที่ผลิตจาก PVC แต่จะทนความร้อนได้มากกว่า ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำ คงความสดของอาหารไว้ได้เป็นอย่างดี

          อย่างไรก็ตามการใช้ฟิล์มยืดที่ปลอดภัย ควรเลือกซื้อชนิดที่เหมาะสมกับการใช้งาน มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้า (มอก.) ดูรายละเอียดและสัญลักษณ์ข้างกล่องบรรจุ ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานพลาสติก กองวัสดุวิศวกรรม วศ. โทร. 02 201 7000 ในวันและเวลาราชการ หรือติดตามข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวันได้ทางเพจ Doctor D. ซึ่งเป็นเพจที่ให้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ควบคุมดูแลข้อมูลโดยนักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ

ข้อมูลข่าวโดย : กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

สกสว. แนะตรวจสารพันธุกรรมโควิดในน้ำโสโครกช่วยให้เปิดเมืองได้เร็วขึ้น        

1

          นักวิจัย ม.นเรศวร แนะใช้การตรวจหาสารพันธุ์กรรมไวรัสโคโรนาในน้ำโสโครกโดยใช้ประชากรตัวอย่างด้วยวิธีการตรวจเช่นเดียวกับในคน จะช่วยให้เปิดเมืองได้เร็วขึ้น พร้อมเรียกร้องให้หยุดฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ชั่วคราวในช่วงวิกฤตโควิด หลังพบตะกอนตะกั่วที่ดูดขึ้นมาฟุ้งกระจาย ทำให้น้ำขุ่นและมีสารตกค้างในน้ำเกินค่ามาตรฐาน

          ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ หัวหน้าโครงการวิจัย “การใช้โฟมที่ปรับเสถียรด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโนร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยด้วยวิธีสกัดไอดิน” จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสถิติการติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 รายใหม่ของไทยในแต่ละวันค่อนข้างคงที่ ขณะที่หลายจังหวัดรวมถึงพิษณุโลกไม่พบการติดเชื้อรายใหม่มาหลายวัน คำถามคือเมื่อใดจะเปิดเมืองได้อีกครั้ง

2

          บทความในนิวยอร์กไทม์สที่ระบุว่าสหรัฐอเมริกาต้องตรวจการติดเชื้อให้มากกว่าปัจจุบันอีกวันละ 3 เท่าตัวจึงจะกลับมาเปิดเมืองได้อีกครั้ง โดยปัจจุบันสหรัฐมีอัตราการตรวจที่ 10,863 ต่อประชาการ 1 ล้านคน ส่วนของประเทศไทยอยู่ที่ 1,440 การตรวจต่อประชากร 1 ล้านคน ต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาประมาณ 7.5 เท่า อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีอีกหนึ่งทางเลือกในการเปิดเมือง นั่นคือ การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาในน้ำโสโครกเพื่อคัดกรอง ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจการติดเชื้อโดยไม่ต้องตรวจทุกคนในจังหวัด ด้วยการตรวจน้ำโสโครกหรือน้ำเสียของสิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ ได้แก่ อุจจาระหรือปัสสาวะ

          “วัน ๆ หนึ่งคนเราขับถ่ายอุจจาระเฉลี่ยประมาณ 128 กรัมต่อคน และมีน้ำเสียจากสุขาที่รวมกิจกรรมชำระล้างการขับถ่ายอีกประมาณ 25-50 ลิตรต่อคนต่อวัน โดยผู้ติดเชื้อนั้นมีรายงานว่ามีสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสูงตั้งแต่ 630,000 copies ต่อมิลลิลิตรของอุจจาระ ถึง 30,000,000 copies ต่อมิลลิลิตรของอุจจาระ ซึ่งงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาตรวจเจอได้ต่ำที่สุด คือ 10 copies ต่อมิลลิลิตรของน้ำเสีย วิธีการตรวจใช้ RT-qPCR ปกติแบบที่ใช้ตรวจในคน ถ้าใช้ตัวเลข 10 copies ต่อมิลลิลิตรเป็นค่าต่ำสุด และคำนวณจะพบว่าจังหวัดพิษณุโลกซึ่งมีประชากรประมาณ 866,891 คน สามารถตรวจตัวอย่างน้ำโสโครกเพียง 90 ตัวอย่าง สำหรับสมมติฐานว่าอุจจาระของผู้ติดเชื้อมีสารพันธุกรรมของไวรัสที่ 30,000,000 copies ต่อมิลลิลิตร หรือ 4,267 ตัวอย่าง สำหรับสมมติฐานว่ามีสารพันธุกรรมของไวรัส 630,000 copies ต่อมิลลิลิตร ตัวอย่างน้ำโสโครกที่เป็นตัวแทนของทั้งจังหวัดพิษณุโลกยังน้อยกว่าการตรวจทุกคนในจังหวัด ประหยัดงบประมาณและเวลาอย่างมากมาย

3

          นักวิจัยระบุว่า สามารถใช้เทคนิคการเก็บตัวอย่างน้ำแบบผสมรวมในการเก็บตัวอย่างน้ำเสียที่เป็นตัวแทนของคน 1,000 คนได้ เช่น ถ้ามีคอนโด 200 ห้อง มีคนอยู่ 400 คน ให้เก็บตัวอย่างน้ำโสโครกรวมของคอนโดนั้น ๆ มาผสมกับคอนโดอื่นในบริเวณข้างเคียง ไล่ตรวจไปทีละโซนทีละพื้นที่ หรือหากมีจุดที่มีน้ำเสียรวมของตำบลหนึ่งไหลมารวมกันก็เก็บตรงจุดนั้นเป็นตัวแทนของตำบลนั้นได้ หากตรวจแล้วพบก็สืบหากันต่อไปโดยอาจจะต้องแยกตรวจน้ำเสียรายตึก รายคอนโด หรือโซนของหมู่บ้าน จะทำให้เข้าถึงตัวผู้ติดเชื้อได้ไวขึ้น ถึงขั้นนี้การดูประวัติการเดินทาง กิจกรรม และอาการทางสุขภาพร่วมด้วยน่าจะทำให้เข้าถึงผู้ติดเชื้อได้เร็วขึ้น โดยที่ผู้ตรวจใส่ชุด PPE ก็เพียงพอแล้ว

4

          ดังนั้น งานเก็บน้ำเสียจึงเป็นงานที่นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งแวดล้อมภาค สิ่งแวดล้อมจังหวัด แม้แต่สถานีอนามัยก็สามารถทำได้หากได้รับการอบรมพื้นฐานมา ไม่จำเป็นต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ ด้วยเหตุนี้จังหวัดที่มีการล็อกดาวน์จนไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมาระยะหนึ่งแล้วการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาในน้ำโสโครกอาจช่วยให้เราเปิดเมืองได้เร็วขึ้น ทั้งยังช่วยให้เราเฝ้าระวังการกลับมาของไวรัสด้วยหลักการและตรรกะแนวคิดเดียวกัน การตรวจน้ำเสียในโรงพยาบาลหรือโรงแรมที่มีขาจรจากต่างจังหวัดเข้ามาพักหลังเปิดเมืองจะทำให้เราเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงได้ ในทำนองเดียวกันการตรวจน้ำโสโครกจากห้องน้ำในสนามบินหรือแม้แต่จากห้องน้ำของเครื่องบินเองก็จะช่วยเฝ้าระวังได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการวัดอุณหภูมิแบบปัจจุบัน

          นอกจากนี้ ผศ.ดร.ธนพลยังมีความห่วงใยเรื่องสุขภาวะของชาวห้วยคลิตี้ จ.กาญจนบุรี ซึ่งคณะวิจัยและชาวชุมชนได้เข้าไปติดตามเฝ้าระวังโครงการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้จากการปนเปื้อนสารตะกั่วตามคำพิพากษาคดีปกครองตั้งแต่ปลายปี 2560 จนถึงปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการดูดตะกอนตะกั่วใส่ถุงเพื่อนำไปฝังกลบในหลุมฝังกลบ โดยพบว่ามีการฟุ้งกระจายของตะกอนตะกั่วจนท้องน้ำมีความขุ่นระยะทางไกลถึง 4 กิโลเมตร โดยน้ำที่รีดออกจากถุงเก็บตะกอนและไหลกลับลงไปในลำห้วยโดยตรงมีค่าตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานถึงเกือบ 100 เท่า ทำให้ตนและชาวชุมชนกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชุมชนในระยะยาว ซึ่งโครงการฟื้นฟูดังกล่าวดำเนินการในช่วงที่เกิดสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ตามมาด้วยประกาศปิดหมู่บ้าน แทบไม่มีใครออกไปซื้อหาอาหารจากตลาดข้างนอก ไม่มีรถพุ่มพวงวิ่งเข้ามาขายอาหารในหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงต้องจับสัตว์น้ำและเก็บผักตามลำห้วย บางครัวเรือนขาดแคลนน้ำก็ต้องใช้น้ำจากลำห้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน จึงอยากให้ศาลตรวจสอบและหยุดการดูดตะกอนตะกั่วในลำห้วยชั่วคราว และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลจัดหาอาหาร น้ำดื่มให้ชาวบ้านในช่วงที่ต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 และผลพวงจากการฟื้นฟูไปพร้อมกันด้วย

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

สกสว.ชี้ผลวิจัยจีนหลังพบผู้ป่วยโควิด-19 เป็นซ้ำหวั่นเชื้อแพร่กระจาย แนะ รพ.ตรวจซ้ำวิธีต่างกัก 14 วัน

1

          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยผลวิจัยจากจีน ผู้ป่วยโควิด-19 เป็นซ้ำเพราะเชื้อไวรัสยังไม่ได้หายไปไหน เป็นซ้ำหลุดรอด เกิดจากผลลบปลอม “False - Negative”จากหลายปัจจัย แนะโรงพยาบาลเพิ่มมาตรการ ตรวจเชื้อ 2 ครั้ง ภายในระยะห่าง 48 ชั่วโมง แทนระยะห่าง 24 ชั่วโมง ด้วยวิธีการที่ต่างออกไป และคนไข้กักควรตัวเพิ่มหลังออกจากโรงพยาบาล 14 วัน

          ดร.เยาวลักษณ์ มะปราง รสหอม จากคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นักวิจัยโครงการ “สนับสนุนข้อมูลวิจัยเชิงลึกด้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เผยว่า หลังจากที่มีรายงานข่าวเรื่องตรวจพบเชื้อโควิด-19 ซ้ำในผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วทั้งในจีน เกาหลี และไทย ทำให้สังคมเกิดข้อสงสัยว่าการติดเชื้อใหม่เป็นครั้งที่ 2 เกิดจากสาเหตุใด

          ทั้งนี้ได้ศึกษาผลวิจัยจากจีน 3 กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวพบว่า การศึกษาชิ้นที่ 1 ทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 172 คนที่ถูกปล่อยตัวกลับบ้านหลังจากรักษาจนอาการดีขึ้น ซึ่งก่อนปล่อยตัวกลับบ้าน คนไข้กลุ่มนี้มีผลซีทีสแกนปอดดีขึ้น และทำการตรวจด้วยวิธี RT-PCR หรือ การตรวจแม่นยำระดับสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส ไม่พบไวรัส 2 ครั้ง ในระยะเวลาตรวจห่างกัน 24 ชั่วโมง ต่อมาในช่วงกักตัวต่อที่บ้านมีการเก็บตัวอย่างจากทั้งช่องทวารหนัก และคอหอยหลังโพรงจมูกไปตรวจด้วยวิธี RT-PCR ทุกๆ 3 วัน พบไวรัสจากตัวอย่างที่เก็บจากช่องทวาร 14 คน และจากคอหอยหลังโพรงจมูก 11 คน รวม 25 คน จาก 172 คน หรือพบผู้ป่วย 14.5 % เป็นโรคโควิด-19 ซ้ำ จากประวัติการรักษา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาลเฉลี่ย 12 - 18 วัน ได้รับยาต้านไวรัส 10 - 16 วัน (ไม่แตกต่างกับผู้ป่วยอื่นๆ) และออกจากโรงพยาบาลเฉลี่ย 1 - 4 วัน หลังมีผลตรวจเชื้อเป็นลบ ส่วนระยะเวลาที่ตรวจพบเชื้อนับจากวันออกจากโรงพยาบาลเฉลี่ย 1 - 10 วัน อาการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ตอนติดเชื้อเริ่มแรกคือ มีไข้ (68%) และไอ (60%) โดยมี 24 คนที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการที่ไม่รุนแรง

          โดยระหว่างการรักษารอบที่ 2 คนไข้กลุ่มนี้ได้รับยาสมุนไพรจีนสูตรทำความสะอาดปอด (ภายใต้การยินยอมของผู้ป่วย) ผลการตรวจเชื้อพบว่า เฉลี่ยภายใน 2.73 วัน หลังเข้าโรงพยาบาลรอบที่ 2 ผลตรวจไวรัสกลับไปเป็นลบอีกครั้ง จากการศึกษา ทีมวิจัยนี้จึงได้เสนอแนะว่า ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้านควรทำการตรวจเชื้อ 2 ครั้ง ภายในระยะห่าง 48 ชั่วโมง แทนระยะห่าง 24 ชั่วโมง และควรทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยหายดีแล้วจริงๆ

          ส่วนการศึกษาที่ 2 ได้เก็บข้อมูลของผู้ป่วย 1 คน เป็นผู้ชายอายุ 54 ปี ที่รักษาโดยการให้ออกซิเจน ฮอร์โมน และยา หลังจากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสจากตัวอย่างที่เก็บจากบริเวณคอ 2 ครั้งติดต่อกัน (ห่างกัน 24 ชั่วโมง) ผู้ป่วยถูกย้ายไปยังหน่วยกักกันเพื่อสังเกตอาการต่อ แต่หลังจากนั้นอีก 5 วันก็ตรวจพบไวรัสอีกครั้งในทวารหนักและตัวอย่างเสมหะ และมีผลตรวจเป็นบวกไปเรื่อยๆ อีก 16 วัน

          สำหรับการศึกษาที่ 3 ได้วิเคราะห์ผู้ป่วยหญิงอายุ 46 ปี ที่มีไข้ ปอดอักเสบ และได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ ผลตรวจเชื้อจากตัวอย่างที่เก็บจากบริเวณคอหอยเป็นลบ 2 ครั้งติดต่อกัน (การตรวจแต่ละครั้งห่างกัน 48 ชั่วโมง) แต่ 3 วันต่อมาผลตรวจกลับเป็นบวกอีกครั้ง และหลังจากนั้นผลตรวจก็กลับไปเป็นลบต่อเนื่อง

          ทั้งนี้นักวิจัยจากทั้ง 2 การศึกษาให้ความเห็นตรงกันว่า ผลตรวจที่เป็นลบก่อนหน้าที่จะกลับมาเป็นบวก น่าจะเป็น ผลลบปลอม “False - Negative” หมายถึงตรวจพบไม่เจอเชื้อแต่จริงๆ แล้วมีเชื้อ ซึ่งเกิดจากสาเหตุดังนี้ 1.ตำแหน่งและประเภทตัวอย่างที่เก็บ 2.วิธีการในการเก็บตัวอย่าง 3. ผลจากยาต้านไวรัสหรือฮอร์โมน กรณีผู้ป่วยทานยารักษาโรคอื่นๆ พร้อมกับรักษาอาการโควิด-19 4. ความไวของชุดตรวจผลการศึกษาทั้ง 2 เคส นำไปสู่คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ควรมีการตรวจในตัวอย่างอื่นด้วยเช่นเสมหะ อุจจาระ เลือด เพราะไวรัสชนิดนี้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนได้ดีในเซลล์ปอด แต่การเก็บตัวอย่างที่บริเวณคอหรือหลังโพรงจมูกอาจจะได้ไวรัสน้อยและเกิด ผลลัพธ์เทียมได้ รวมทั้งควรตรวจด้วยวิธีการอื่น เช่นตรวจวัดแอนติบอดี ก่อนที่จะปล่อยตัวผู้ป่วยกลับบ้าน และแนะนำว่าผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลควรกักตัวเองที่บ้านต่ออีก 14 วัน

          ดร.เยาวลักษณ์ กล่าวสรุปข้อมูลงานวิจัยว่า การศึกษาทั้ง 3 เคสนี้ ค่อนข้างชี้ชัดไปในทางเดียวกันว่าการตรวจพบเชื้อซ้ำในผู้ป่วยที่รักษาหายดีแล้ว น่าจะเกิดจากผลลบเทียม (False - Negative) ของการตรวจก่อนหน้านี้จากปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าจริงๆแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีไวรัสอยู่ในร่างกาย ซึ่งถ้าปล่อยกลับบ้านโดยไม่ตรวจสอบให้ดีอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อได้ ซึ่งประเทศไทยเองก็อาจต้องพิจารณาปรับวิธีการและเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยตามข้อมูลใหม่ๆ ที่ออกมา ก่อนที่จะปล่อยผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการป่วยซ้ำและการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้อื่น

ข้อมูลอ้างอิง

1. Yuan J, Kou S, Liang Y, Zeng J, Pan Y, Liu L. PCR Assays Turned Positive in 25 Discharged COVID-19 Patients [published online ahead of print, 2020 Apr 8]. Clin Infect Dis. 2020;ciaa398. doi:10.1093/cid/ciaa398

2. Zhang JF, Yan K, Ye HH, Lin J, Zheng JJ, Cai T. SARS-CoV-2 turned positive in a discharged patient with COVID-19 arouses concern regarding the present standard for discharge [published online ahead of print, 2020 Mar 18]. Int J Infect Dis. 2020;S1201-9712(20)30126-0. doi:10.1016/j.ijid.2020.03.007

3. Chen D, Xu W, Lei Z, et al. Recurrence of positive SARS-CoV-2 RNA in COVID-19: A case report [published online ahead of print, 2020 Mar 5]. Int J Infect Dis. 2020;93:297–299. doi:10.1016/j.ijid.2020.03.003

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

สดร. อัพเดทการพลิกโฉมแล็ปดาราศาสตร์ เป็นห้องผลิตเครื่องช่วยหายใจ เตรียมพร้อมรับมือวิกฤติโควิด-19

1

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT อัพเดทการพลิกโฉมแล็ปดาราศาสตร์ เป็นห้องผลิตเครื่องช่วยหายใจ เตรียมพร้อมรับมือวิกฤติโควิด 19 [Ep.2]

          ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลังจาก NARIT เปลี่ยนห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูง ระดมทีมวิศวกรและช่างเทคนิค เดินหน้าผลิตเครื่องช่วยหายใจ สำหรับใช้ในภาวะฉุกเฉิน ต้นทุนต่ำ ผลิตได้ง่ายและรวดเร็ว หวังช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติโควิด 19 ในระยะแรกได้วางแนวทางออกแบบและพัฒนาเครื่องช่วยหายใจ 2 แบบ #แบบแรก ใช้หลักการเดียวกับเครื่องช่วยหายใจแบบมือบีบ (Ambu Bag) และ #แบบที่สอง ใช้หลักการควบคุมการไหลของอากาศแรงดันสูงด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

          จากการทดสอบการทำงานพบว่า แบบแรกที่ใช้หลักการเดียวกับเครื่องช่วยหายใจแบบมือบีบ (Ambu Bag) มีปัจจัยแทรกซ้อนที่ควบคุมได้ยาก จึงเดินหน้าพัฒนาแบบที่สองที่ใช้หลักการควบคุมการไหลของอากาศแรงดันสูงด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ได้คุณสมบัติของอากาศที่ไหลเข้าออกจากผู้ป่วยเป็นไปตามที่แพทย์กำหนด เป็นแนวคิดที่ปรับปรุงมาจากแบบของมหาวิทยาลัยฟลอริดาซึ่งกำลังพัฒนาอยู่ และคล้ายคลึงกับที่หลายหน่วยงานในต่างประเทศกำลังพัฒนาอยู่เช่นกัน

          ทีมวิศวกร ได้สร้างต้นแบบเครื่องช่วยหายใจแบบใช้วาล์วอิเล็กทรอนิกส์ 4 ตัว พัฒนาอัลกอริธึมและอินเตอร์เฟส ให้สามารถควบคุมตัวแปรต่างๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุด เช่น ปริมาตรอากาศที่ไหลเข้าออกจากปอดผู้ป่วยต่อการการใจ 1 ครั้ง (Tidal volume) สัดส่วนของเวลาที่หายใจเข้าต่อเวลาหายใจออก (I:E) กำหนดให้มีแรงดันบวกตอนหายใจออกที่ทำให้มีลมค้างอยู่ในปอด (PEEP value) อัตราการเต้นของหัวใจ (ครั้ง/นาที) (Breaths per minute: BPM) นอกจากนี้ยังได้ออกแบบให้มีวาล์วป้องกันความดันสูง รวมถึงวาล์วที่ทำหน้าที่ป้องกันภาวะขาดออกซิเจน (Anti-asphyxiation) และระบบแจ้งเตือนต่างๆ ในอนาคตยังมีแผนออกแบบเพิ่มเติมให้สามารถปรับสัดส่วนของอ๊อกซิเจนได้อีกด้วย

          การออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องช่วยหายใจดังกล่าว ดำเนินงานโดยทีมวิศวกรจาก NARIT ร่วมกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แพทย์จากโรงพยาบาลนครพิงค์ มาร่วมให้คำแนะนำ รวมถึงศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 1 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข นำอุปกรณ์สอบเทียบ (Calibration) มาใช้ตรวจสอบค่ากำหนดเชิงตัวเลขต่าง ๆ พบว่าหลักการทำงานของเครื่องช่วยหายใจที่เราออกแบบมานั้นใช้ได้จริง และมีค่าตัวแปรต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นใกล้เคียงกับที่ใช้จริงใน รพ. สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวม หรือ Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS ซึ่งเป็นอาการสำคัญของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 ในอนาคตจึงมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถผลิต “เครื่องช่วยหายใจฝีมือคนไทย”

          ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพัฒนาและหาชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ยาวนานขึ้น เป้าหมายคือการเปิดปิดวาล์วต่าง ๆ ต้องทำงานได้ไม่น้อยกว่า 1-2 ล้านครั้ง หรือต่อเนื่องประมาณ 2 เดือน โดยไม่เสียหาย เมื่อเครื่องช่วยหายใจต้นแบบประสบผลสำเร็จ จะนำไปทดสอบประสิทธิภาพอย่างใกล้ชิดกับแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับรองคุณสมบัติต่อไป สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและระมัดระวังอย่างยิ่งคือ ต้องมีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้ป่วย ปัญหาขณะนี้คือชิ้นส่วนอุปกรณ์บางประเภท ต้องสั่งจากต่างประเทศ จำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ในเบื้องต้นได้ใช้ชิ้นส่วนที่เป็นระดับอุตสาหกรรมนำมาประกอบเพื่อทดสอบระบบการทำงาน ยังไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยได้ แต่เมื่อเครื่องต้นแบบเสร็จสิ้น สามารถต่อยอดไปสู่การใช้ชิ้นส่วนในระดับ medical grade หรืออย่างน้อยที่สุดเป็น food grade ต่อไป

          อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังอยู่ในสถานการณ์เฝ้าระวังอย่างเคร่งครัด NARIT ไม่ได้คาดหวังที่จะผลิตขึ้นมาเพื่อแทนที่เครื่องช่วยหายใจที่มีอยู่ในโรงพยาบาล หากเกิดกรณีคับขันมีผู้ป่วยวิกฤตพร้อมกันจำนวนมาก เรามุ่งหวังให้เครื่องช่วยหายใจดังกล่าว จะมีส่วนช่วยผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรงในขั้นวิกฤตให้รอดชีวิตได้

ข้อมูลข่าวโดย : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

สวทช. - จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ “Germ Saber Robot” ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี ภายใน 30 นาที

1

       ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาและทดสอบ นวัตกรรมหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวี หรือ “Germ Saber Robot” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี (UV) สามารถเข้าถึงการฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เฉพาะและจุดเสี่ยงโรคต่างๆ ได้ดี เนื่องจากระหว่างการฆ่าเชื้อโรค พื้นที่เหล่านั้นจะต้องปลอดคน เพราะการใช้แสงยูวีแม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้

          ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สวทช. เปิดเผยว่า หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี หรือ “Germ Saber Robot” ที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วยหลอดยูวี-ซี (UV-C ) ขนาดพลังงานรวม 300 วัตต์ พร้อมชุดควบคุมไฟ มีความพิเศษตรงที่สามารถบังคับให้ขับเคลื่อนไปยังจุดต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ควบคุม “รีโมตคอนโทรล” เพื่อสั่งการให้หุ่นยนต์เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาและหมุนตัวแบบ 360 องศา เพื่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคทุกสภาพพื้นที่ “รังสีอัลตราไวโอเล็ตหรือแสง UV เป็นสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วง 10 นาโนเมตรถึง 400 นาโนเมตร ซึ่งมีความถี่ที่สูงกว่าที่ตาเรามองเห็นได้ โดยหุ่นยนต์ “Germ Saber Robot” ที่พัฒนาขึ้นนี้ ใช้แสง UV-C (ความยาวคลื่นอยู่ในย่านความถี่ประมาณ 250 นาโนเมตร) เป็นแสง UV ที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือเชื้อโรคต่างๆ ที่ความยาวคลื่นนี้แสง UV จะทำลายดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างไวรัส, แบคทีเรีย, เชื้อราและเชื้อโรคชนิดต่างๆ หยุดยั้งประสิทธิภาพในการแพร่พันธุ์และฆ่าพาหะเหล่านี้ในที่สุด การนำหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี หรือ UV “Germ Saber Robot” มาใช้ประโยชน์ในช่วงที่ประเทศไทยมีการระบาดของโรคโควิด-19 จะช่วยให้สถานที่ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากน้ำยาฆ่าเชื้อ ช่วยลดการตกค้างหรือปนเปื้อนของสารเคมีในน้ำยาฆ่าเชื้อ ที่สำคัญหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคสามารถฆ่าละอองฝอยของเชื้อที่ลอยในอากาศได้ และยังสามารถใช้ฆ่าเชื้อบนพื้นผิวของอุปกรณ์เฉพาะ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การแพทย์ ที่ไม่สามารถโดนน้ำหรือน้ำยาเคมีได้ เป็นต้น”

2

          ดร.ศิวรักษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์ “Germ Saber Robot ทีมวิจัยต้องการช่วยบรรเทาสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในยามที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อและน้ำยาฆ่าเชื้อโรคต่างๆ จึงเร่งผลิตหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ขึ้นมา เพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมในการฆ่าเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ที่ใช้งานได้สะดวกทุกที่และตลอดเวลา โดยการฆ่าเชื้อโรคในรัศมีโดยรอบ 1-2 เมตร เป็นระยะเวลา 15-30 นาทีต่อจุด จะช่วยฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวต่างๆ ได้

3

          ทั้งนี้ทีมวิจัยเตรียมความพร้อมของหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยแสงยูวี โดยวางแผนนำร่องทดสอบการใช้งานที่สถานพยาบาลแห่งแรก คือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และหน่วยงานต่างๆ ต่อไป สำหรับหน่วยงานหรือผู้ที่สนใจให้ทีมวิจัยทำการผลิต หรือนำไปทดลองใช้งานสามารถติดต่อได้ที่ ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สวทช. โทร. 02-564-7000 กด 2521

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

สวทช. อว. เผยความก้าวหน้าผลงานแอปพลิเคชัน DDC-Care และ Traffy Fondue สู้ภัยไวรัสโควิด-19

1

         เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาแพลตฟอร์ม DDC-Care: ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ COVID-19 และ Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์) แอปพลิเคชันแจ้งและติดตามปัญหาเมือง โดยมี ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

         พร้อมด้วยทีมนักวิจัยจาก สวทช. ได้แก่ ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล นักวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. และ ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม หัวหน้าทีมวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ร่วมสาธิตและเผยแพร่ผลงาน

2

         ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ให้ความสำคัญกับภาวะการระบาดที่อาจจะยืดเยื้อยาว และร่วมวางแผนรับมือในระยะยาว เพื่อลดความตื่นตระหนกของคนในสังคม สร้างความเชื่อมั่น และเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านการแพทย์ทั้งในส่วนของการติดตามและตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง โดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรทุกภาคส่วน ในขณะนี้ได้พัฒนาแพลตฟอร์มดังนี้ คือ

3

- แอปพลิเคชัน DDC-Care: ระบบติดตามและประเมินผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ COVID-19 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 สวทช. ร่วมกับ กรมควบคุมโรค สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน DDC-Care โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินสุขภาพผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะต้องกักตัวเองอยู่ภายในที่พักอาศัยเป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งกรมควบคุมโรคจะประเมินความเสี่ยงจากข้อมูลสุขภาพที่ได้จากระบบ เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อมีอาการ ทั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่มาตรวจที่โรงพยาบาล และโรงพยาบาลพิจารณาว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง จะได้รับคำแนะนำให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน DDC-Care ขณะที่กลุ่มที่ 2 คือผู้ป่วยที่เดินทางเข้ามาตรวจและผลตรวจออกเป็น Positive กลุ่มผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยจะต้องได้รับการติดตั้งแอปพลิเคชัน DDC-Care ด้วย ทั้งนี้ แอปพลิเคชันนี้ กรมควบคุมโรค ได้ทดสอบกับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้วที่สถาบันบำราศนราดูร โดยเจ้าหน้าที่ของกรมฯ จะทำการส่งลิงก์ผ่านทาง SMS ซึ่งจะต้องมีการสมัครและ Log in เข้าไปใช้งาน กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจะต้องรายงานสุขภาพให้กับกรมได้ทราบในทุกวัน ปัจจุบันได้ทดลองกับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงฯ จำนวน 173 ราย และมีผู้ติดตั้งแอปพลิเคชันแล้ว 20 คน สำหรับการที่มีผู้ติดตั้งน้อยนี้ เนื่องจากเพิ่งเริ่มใช้งานจริงวันที่ 31 มีนาคม 2563

45

         ในส่วนของการแสดงผลข้อมูลประกอบด้วย 2 มิติ คือ มิติแรกในส่วนของเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค จะสามารถติดตามการรายงานสุขภาพของผู้ที่มีความเสี่ยงฯ สถานภาพการกักตัวในที่พักอาศัย หากออกไปนอกพื้นที่จะสามารถติดตามการเดินทางและติดต่อผู้ที่มีความเสี่ยงได้ การนำเสนอข้อมูลผู้ที่มีความเสี่ยงฯ มี 4 ระดับ ได้แก่ ประเทศ เขต จังหวัด และโรงพยาบาล โดยขึ้นกับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ฯ และอีกมิติหนึ่งคือ สำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงฯ จะเป็นผู้ให้ข้อมูล มีแบบประเมินสุขภาพ เมื่อทำแบบประเมินทุกวัน จะมีผลการประเมินตอบกลับว่ามีอัตราความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากเพิ่มขึ้นจะมีคำแนะนำให้โทรฯ มาที่กรมควบคุมโรค นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลแสดงสถานะสุขภาพเพิ่มเติมหลังจากกรอกข้อมูลสุขภาพแล้ว กรมฯ จะมีคำแนะนำซึ่งผู้ใช้ระบบจะได้ประโยชน์ในการปฏิบัติตัวในแต่ละวัน ในส่วนของกรมฯ แล้ว ระบบ DDC-Care จะเป็นเครื่องมือในการควบคุม ตรวจสอบผู้ที่มีความเสี่ยงฯ ให้อยู่ในพื้นที่กักตัวเอง และดูผลของข้อมูลสุขภาพ ทั้งนี้หากมีสุขภาพแย่ลงจะได้ให้ความช่วยเหลือได้ทันที รวมถึงหากมีการแพร่ระบาดรุนแรงจะทำให้สามารถคัดแยกผู้ป่วยได้ ตลอดจนเป็นส่วนที่จะช่วยให้โรงพยาบาลได้จัดสรรเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งข้อมูลที่ได้กรอกเข้าระบบนี้จะเป็นข้อมูลความลับเท่านั้น

6

- Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์) แอปพลิเคชันแจ้งและติดตามปัญหาเมือง เป็นแอปพลิเคชันที่จัดทำขึ้นสำหรับสื่อสารเรื่องปัญหาของเมือง ระหว่างประชาชนและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ประชาชนสามารถแจ้งปัญหาที่พบ เช่น ปัญหาความสะอาด ปัญหาทางเท้า และติดตามสถานะการดำเนินการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ โดยหน่วยงานจะได้รับแจ้งรายงานปัญหาที่มีข้อมูลเพียงพอต่อการดำเนินการ เช่น ภาพถ่าย ตำแหน่งบนแผนที่ และสามารถให้ข้อมูลสถานะการแก้ไขปัญหาแก่ประชาชนได้ ซึ่งจากการเกิดภาวะโรคโควิด-19 ระบาดในเกือบทุกพื้นที่ ทีมวิจัยเนคเทค สวทช. จึงประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน Traffy fondue ในแพลตฟอร์มไลน์แชทบอท ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อรายงานข้อมูลบุคคลเดินทางจากพื้นที่เสี่ยงการระบาดไวรัวโควิด-19 และพื้นที่กรุงเทพฯ เดินทางกลับภูมิลำเนา เนื่องจากกระทรวงมหาดไทย (มท.) ในฐานะหน่วยงานผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าวต้องการทราบว่าคนที่มีความเสี่ยงกับโรคโควิด-19 เดินทางกลับมายังภูมิลำเนามีอยู่ที่ใดของประเทศบ้าง เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองคนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ให้มีส่วนรับผิดชอบสังคมและปฏิบัติตัวตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

7

         ซึ่งประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จะเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันการระบาดด้วยการแจ้งข้อมูลผ่านไลน์แชทบอทเพียงเพิ่มเพื่อน @traffyfondue หากพบคนจากพื้นที่เสี่ยงกลับภูมิลำเนา เริ่มแจ้งข้อมูลพิมพ์ (แฮทแท็ค) #โควิด ตามด้วยชื่อเล่น เพศ ส่งข้อมูลภาพลักษณะที่อยู่หมู่บ้าน ชุมชน (ไม่ต้องส่งภาพคน) และส่งคุยกับไลน์แชทบอท @traffyfondue เพื่อที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องถิ่น ลงพื้นที่ ตรวจสอบ สอบสวน และคัดกรองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8

         ปัจจุบันมีการแจ้งเบาะแสของผู้เข้าข่ายเดินทางจากพื้นที่เสี่ยงที่กลับมายังภูมิลำเนาเข้ามาในระบบแล้วจำนวนมาก เช่น จังหวัดมหาสารคาม ราชบุรี นครพนม ยโสธร หนองคาย และมีอีกหลายภูมิภาคทั่วประเทศ เป็นต้น นับเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรค สุดท้ายนี้หากหน่วยงานใดที่ต้องการเพิ่มช่องในการรับแจ้งข้อมูล หรือเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ผ่านแชทบอทที่มาพร้อมระบบ AI ในการคัดแยกปัญหา ระบบบริหารจัดการสถานะ สามารถติดต่อทีมวิจัยได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 086 901 6124 (วสันต์) หรือ ID Line: joopbu และสามารถดาวน์โหลดได้ที่ QR Code

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

สอวช. ถก SMEs สำรวจผลกระทบจากการระบาดของ โควิด 19 ด้านผู้ประกอบการเสนอรัฐเยียวยา ด้านการเงิน สนับสนุนการอบรม พัฒนาฝีมือแรงงาน ช่วยลงทุนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี

1

          เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 อาคารจัตุรัสจามจุรี - สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นัดผู้ประกอบการรายย่อยถกผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 เก็บข้อมูลเตรียมจัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว

2

          ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า กระทรวง อว. มีแนวทางที่จะจัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) สอวช. จึงได้เชิญผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ทั้งในภาคส่วนการท่องเที่ยว เกษตร ปศุสัตว์ ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงธุรกิจผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค มาพูดคุยถึงผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าว เพื่อรวบรวมผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับเสนอต่อกระทรวงในการหามาตรการช่วยเหลือต่อไป

34

          ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้สะท้อนผลกระทบเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งในเรื่องการบริโภคภายในประเทศที่มีอัตราที่ลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้รับผลกระทบโดยตรงเพราะไม่มีเงินทุนหมุนเวียน และเชื่อว่าหากสถานการณ์ยืดเยื้อต่อไปจะทำให้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่จนกระทบถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ ในส่วนธุรกิจเกี่ยวกับสมุนไพรและยาแม้ว่าจะมีความต้องการสินค้าของตลาด แต่ก็ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศต้นทาง ที่ไม่สามารถนำเข้าในประเทศได้โดยเฉพาะจากจีน ผนวกกับบรรจุภัณฑ์ประเภทหลอด หรือขวดปั๊มขาดตลาด เนื่องจากมีความต้องการสูงในการนำไปเป็นบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทแอลกอฮอล์เจล ส่งผลให้ธุรกิจอื่นที่มีความจำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ลักษณะดังกล่าวได้รับผลกระทบจากบรรจุภัณฑ์ไม่เพียงพอ และผลิตไม่ทันต่อความต้องการของตลาด ซึ่งจากผลกระทบเหล่านี้ ผู้ประกอบการรายย่อยคาดว่าจะได้รับผลกระทบในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายย่อยยังมีความกังวลกรณีหากมีการติดเชื้อโควิดในโรงงาน ที่อาจจะส่งผลให้โรงงานชัตดาวน์ เพราะโรงงานไม่สามารถทำงานแบบ Work from Home ได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นจะกระทบหนักมาก

5

          ในการหารือ ผู้ประกอบการได้เสนอมาตรการที่ต้องการได้รับการเยียวยาจากภาครัฐ ทั้งด้านการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินผ่านการดูแลผู้ประกอบการและพนักงานในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ มาตรการยกเว้นภาษีแก่ผู้ประกอบการ การให้การสนับสนุนเรื่องการให้ความรู้ อบรม พัฒนาฝีมือพนักงานเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ การจัดการคลัง การจัดการออเดอร์ การพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการตลาด และเมื่อจบการ Training อยากให้สนับสนุนเรื่องการให้ทุนต่อเนื่อง  นอกจากนี้ ยังอยากให้ภาครัฐมีมาตรการด้านการสนับสนุนที่ปรึกษาด้านการจัดการเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และสนับสนุนด้านการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ผ่านการสนับสนุนทุนในสัดส่วนร้อยละ 80 - 100 เพื่อช่วยเหลือในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

67

          ในทางกลับกัน ผู้ประกอบการบางส่วนก็มองว่าสถานการณ์วิกฤตช่วงนี้ ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาระบบธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้ช่วงสถานการณ์ที่ธุรกิจชะลอตัวมาพัฒนาสินค้า การบริหารจัดการ เสริมเขี้ยวเล็บธุรกิจด้วยเทคโนโลยี และเมื่อวันหนึ่งสถานการณ์ดีขึ้น เราจะพร้อมขึ้นยิ่งกว่าเดิม

8

          ดร.กิติพงค์ กล่าวว่า มาตรการเยียวยาที่ได้รับการเสนอจากผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมความรู้ การอบรม การจัดการด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นนโยบายที่กระทรวง อว. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว และอยู่ในวิสัยที่กระทรวง อว. จะหามาตรการสนับสนุนได้ โดย สอวช. จะรวบรวมข้อเสนอที่ได้จากการหารือครั้งนี้ เสนอต่อที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงเพื่อหามาตรการเยียวยาต่อไป

9

          ทั้งนี้ สอวช. ได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจผลกระทบที่ผู้ประกอบการรายย่อยได้รับจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ จะรวบรวมนำไปจัดทำมาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวให้แก่ SMEs ทั้งในระยะสั้น และการพัฒนามาตรการสร้างความเข้มแข็งและการสนับสนุนนวัตกรรมสำหรับ SMEs ในการรับมือกับภาวะวิกฤตต่าง ๆ ในอนาคต  โดย SMEs สามารถร่วมตอบแบบสำรวจได้ที่ https://www.nxpo.or.th/SME-COVID-19 หรือ QR Code

10

ข้อมูลข่าวโดย : องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313

สอวช. รวบรวมข้อมูลกรณีศึกษา ถอดมาตรการ จีน - เกาหลีใต้ สู้ภัยโควิด 19

1

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) รวบรวมข้อมูลกรณีศึกษาจากต่างประเทศในการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำ Scenario Planning มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นผลกระทบที่เกิดจาก COVID-19 ของไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อการฟื้นตัวและสร้างภูมิคุ้มกันให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมมีความเข้มแข็ง พร้อมรับมือกับภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

2

          โดยได้หยิบยกกรณีศึกษาของประเทศจีน และเกาหลีใต้ ที่ใช้มาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ จีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการแพร่ระบาดที่เมืองอู่ฮั่น ในช่วงปลายปี 2562 จากนั้นได้แพร่ระกระจายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง จนทางการจีนตัดสินใจใช้มาตรการปิดเมือง เมื่อวันที่ 23 มกราคม จากนั้นปิดบริษัทและโรงงานที่ไม่จำเป็นในมณฑลหูเป่ย และปิดโรงเรียน ในเวลาต่อมา ก่อนจะผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ และให้ประชาชนกลับมาทำงนได้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ จนกระทั่งได้ผ่อนคลายการปิดเมืองอู่ฮั่นในวันที่ 22 มีนาคม

          ส่วนที่เกาหลีใต้ ใช้มาตรการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา จากนั้นใช้มาตรการกักบริเวณและการบรรเทาอาการ โดยทางการได้จัดหาสถานที่การกักตัวตามระดับอาการของโรค และเร่งรีบรักษาผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน ช่วยให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราการตายลดน้อยลง นอกจากนี้ ยังใช้มาตรการคัดแยกผู้ป่วยและจัดระบบการรักษา ที่น่าสนใจคือเกาหลีใต้มีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยบริหารจัดการ เช่น การสร้างระบบตรวจโรคแบบ Drive-Through แห่งแรกของโลก การติดตามข้อมูลผู้ที่อาจจะติดโรคด้วยการสืบค้นประวัติการใช้บัตรเครดิตและการใช้โทรศัพท์มือถือ

3

          มาตรการของเกาหลี มีความน่าสนใจและถูกยกให้เป็นประเทศที่สามารถพัฒนาชุดตรวจ หรือ Test kit ที่สามารถตรวจผู้ป่วยได้มากที่สุดในโลก เรามาไล่เลียงมาตรการของประเทศเกาหลีในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคกันว่า เขาทำอย่างไรกันบ้าง ไล่ตามไทม์ไลน์ให้เห็นชัดกันเลย

          วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ห้ามชาวต่างชาติจากมณฑลหูเป่ย ประเทศจีนเข้ามาในประเทศ พร้อมทั้งเริ่มใช้ชุดตรวจครั้งแรกจำนวน 16 เคส ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงกว่า 1,700 ราย หลังจากการแพร่กระจายของโรคในผู้ป่วยรายที่ 31 (Super Spreader) จากนั้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ทางการได้ประกาศห้ามเข้า-ออก 15 ประเทศ และบังคับใช้กฎหมายในการตรวจหาและทดสอบผู้ที่มีเกณฑ์ติดเชื้อทั้งหมด โดยติดตามจากข้อมูลการใช้บัตรเครดิตและโทรศัพท์มือถือ อย่างที่เกริ่นในตอนต้น

          วันที่ 25 กุมภาพันธ์ มีการบังคับให้อาคารและสถานที่ที่เปิดบริการต้องมีการติดตั้งเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิด้วยกล้องความร้อน จากนั้นอีก 3 วันถัดมาคือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 95 ประเทศยกเลิกหรือโดนจำกัดการเข้ามาในเกาหลี และในวันเดียวกันนี้ มีการใช้ระบบ Drive Though Testing เป็นครั้งแรก ต่อมาวันที่ 3 มีนาคม ได้นำระบบ Drive Though Testing ไปใช้ในร้านอาหาร fast food ก่อนจะยกระดับมาตรการเข้มข้นขึ้นในวันที่ 10 มีนาคม ห้ามนักท่องเที่ยวจาก 109 ประเทศเข้ามาในเกาหลีใต้ จากนั้นได้พัฒนาชุดตรวจจนสามารถตรวจได้ 15,000 เคสต่อวัน โดยชุดตรวจดังกล่าวสามารถตรวจได้กว่า 180,000 ราย เกาหลีใต้แตกต่างจากจีนตรงที่ เน้นการคัดแยกและติดตามผู้ปวยอย่างใกล้ชิด มากกว่ามาตรการปิดประเทศ

          13 มีนาคม เกาหลีใต้ สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายจำนวน 177 ราย ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นเพียง 110 ราย 20 มีนาคม ยกเลิกวีซ่า 171 ประเทศที่จะเข้าเกาหลีใต้ และเป็นประเทศที่สามารถใช้ชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วยได้ถึง 316,664 ราย ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก

ที่มาข้อมูล :
-  COVID-19: Briefing Note, Global Health and Crisis response, Mckinsy&Company, updated: March 25,20202020 coronavirus pandemic in South Korea,
http://en.wikipedia.org/…/2020_coronavirus_pandemic_in_Sout…, 25 มีนาคม 2563
ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
  • 1
  • 2