ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปอว. เข้าร่วมการประชุมกรอบความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนด้านนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 19 (Policy Partnership on Science, Technology and Innovation - PPSTI) ภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperation - APEC) โดยปฏิบัติหน้าที่ HOST Vice-Chair ในวันที่ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุม ปอว. ชั้น 4 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (โยธี)
การประชุม PPSTI ครั้งที่ 19 ในวันแรก ปอว. ไทยในฐานะ HOST Vice-Chair ได้ให้เกียรติเป็นผู้กล่าวเปิดงานสัมมนาของไทย ซึ่งไทยในฐานะเจ้าภาพการจัดการประชุมเอเปค 2022 นั้น ได้จัดให้มีงานสัมมนาขึ้นจำนวน 2 งาน ขึ้นในระหว่างการประชุม PPSTI ครั้งที่ 19 ได้แก่ การสัมมนาในหัวข้อ Realizing Bio-Circular-Green Economy: Promoting Circular Economy through Technology, Innovation, and Business Models โดยศูนย์ APEC for Technology Foresight (ภายใต้ความดูแลของ สอวช.) และการสัมมนาในหัวข้อ Open, Connect, Balance: Embracing Inclusive STI Leadership amongst Emerging Researchers in the APEC Region โดย สวทช.
- การสัมมนาในหัวข้อ Realizing Bio-Circular-Green Economy: Promoting Circular Economy through Technology, Innovation, and Business Models มีเป้าหมายในการพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง BCG Model โดยเน้นในประเด็นของเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยในการสัมมนาครั้งนี้ได้รับเกียรติ จากวิทยากรทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานระหว่างประเทศ อย่าง UN อีกด้วย
- การสัมมนาในหัวข้อ Open, Connect, Balance: Embracing Inclusive STI Leadership amongst Emerging Researchers in the APEC Region นั้นมีจุดประสงค์ในการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ ระหว่างนักวิจัยรุ่นใหม่ และนักวิจัยผู้หญิง ให้มีมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนจาก SEAMEO RIHED และนักวิจัยรุ่นใหม่จากเม็กซิโกและฟิลิปปินส์
โดยการประชุมในวันแรกนี้ นอกจากงานสัมมนาด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามกำหนดการแล้วนั้น ยังมีวาระการประชุมที่สำคัญ โดยมีการเปิดการประชุม PPSTI ครั้งที่ 19 อย่างเป็นทาง โดย Chair of PPSTI, Ms. Yang Xuemei, Vice Chair of PPSTI, Dr. Park Hwanil, Host Vice Chiar of PPSTI, Prof. Sirirurg Songsivilai และ Principal Advisor, Mr. Nicholas Brooke นอกจากนี้ไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้มีการนำเสนอประเด็นสำคัญ (Priorities) ของไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุม APEC ปี 2022 และมีการนำวาระเรื่องการปฏิรูปกรอบความร่วมมือ PPSTI โดยเสนอแผนโดยออสเตรเลีย เพื่อให้มีความคล่องตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับการประชุมวันที่สองของ PPSTI ครั้งที่ 19 ที่ประชุมมีการประชุมในวาระที่เกี่ยวข้องการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ PPSTI โดยให้เน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น การรับหลักการในหัวข้อของรางวัล ASPIRE ประจำปี 2022 ตามที่ไทยเสนอ ภายใต้ในหัวข้อ Innovation to achieve economic, environmental and social goals เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งสังคมเพื่อนำไปสู่สังคมที่สมดุลและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาในกรอบแนวทางการส่งเสริมบุคคลากรผู้หญิงในสาขา STEM อีกด้วย รวมถึงแนวทางการจัดการประชุม PPSTI ครั้งที่ 20
การประชุม PPSTI นั้น เป็นกรอบการประชุมความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วน ที่เน้นในด้านนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้ APEC โดยในปี 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมเอเปคนั้น จะมีการประชุม PPSTI จำนวน 2 ครั้ง คือ การประชุมครั้งที่ 19 (16-17 กุมภาพันธ์ 2565) และครั้งที่ 20 (ในช่วงเดือนสิงหาคม 2565) ทั้งนี้กรอบการดําเนินงานของ APEC PPSTI ในปัจจุบัน จะส่งเสริมความร่วมมือใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ (2) การส่งเสรมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม และ (3) การเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในภูมิภาค
รางวัล Aspire มีชื่อเต็มว่า APEC Science Prize for Innovation, Research and Education เป็นรางวัลประจำปี ที่มอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ (อายุต่ำกว่า 40 ปี) ที่มีผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นที่ประจักษ์ และมีผลงานที่ทำร่วมกับสมาชิกในเขตเศรษฐกิจเอเปค โดยมีมูลค่ารางวัลที่ 25,000 เหรียญดอลล่าสหรัฐ โดยแต่ละปีหัวข้อของรางวัลจะถูกกำหนดโดยเขตเศรษฐกิจเจ้าภาพ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.