4-5 กันยายน 2565 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะ ลงพื้นที่ให้กำลังใจและให้คำแนะนำการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T For BCG) ณ จังหวัดระนอง ในพื้นที่รับผิดชอบของวิทยาลัยชุมชนระนอง โดยมีว่าที่ร้อยตรีกฤษฎา ฉิมพลีวัฒน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนระนอง คุณนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานสภาวิทยาลัยชุมชนระนอง ดร.สุวัฒน์ นวลขาว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาจังหวัดระนอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณาจารย์ และผู้เข้าร่วมโครงการให้การต้อนรับ และร่วมประชุมหารือการดำเนินโครงการ U2T For BCG พร้อมทั้งเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบชุมชน ทั้ง 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางแก้ว ตำบลละอุ่นใต้ ตำบลละอุ่นเหนือ ตำบลลำเลียง ตำบลปากจั่น ตำบลมะมุ โดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ การออกแบบ Packaging การท่องเที่ยววิถีชุมชน สบู่มังคุด ชาใบเหลียง น้ำตาลงวงจาก ยาหม่องกัญชา เครื่องจักสานจากทางปาล์ม เครื่องแกงใต้ ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่
โดยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม กล่าวว่า โครงการ U2T จะทำให้เกิดองค์ความรู้อยู่ในพื้นที่ฝังอยู่กับประชาชนในพื้นที่ โดยโครงการ U2T For BCG ก็ต่อยอด โดยจากผลงานของวิทยาลัยชุมชนระนอง ก็จะพบว่าวิทยาลัยชุมชนระนอง เข้าไปช่วยทั้งในเรื่องผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นและบริการ โดยมีคำแนะนำว่า เรื่องการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรชูอัตลักษณ์ของวัตถุดิบในพื้นที่ และใช้องค์ความรู้และข้อมูลTCD เข้าไปพัฒนา และควรพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
นอกจากนี้ นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรมและคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ ตําบลบางแก้ว อําเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ซึ่งวิทยาลัยชุมชนระนองได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมี นายเจษฎา ชูชาติ นายก อบต. บางแก้ว ร่วมให้การต้อนรับ โดยเป็นการท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงประวัติศาสตร์ ตามความหลากหลาย ของทุนทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล ภายใต้ชื่อ “Amazing 30 ยังแจ๋ว” ด้วยระยะทางจากตัวเมืองระนองถึงตำบลบางแก้ว มีระยะทางรวม 30 กิโลเมตร โดยมีไฮไลท์คือ พิพิธภัณฑ์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และจุดชมวิวเขาฝาชี พร้อมรับประทานอาหารโดยฝีมือชาวบ้าน โดยวิทยาลัยชุมชนระนอง ได้ช่วยจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวบ้านฝาชีรวมทั้งช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อเป็นสินค้าขายนักท่องเที่ยว ได้แก่ คุกกี้กลอย ซึ่งกลอยเป็นพืชพื้นถิ่นที่ใช้เป็นอาหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเป็นของพื้นเมืองในรูปแบบสมัยใหม่ และข้าวหลาม 3 สีจากธรรมชาติ โดยได้นำเทคโนโลยีการทำเตาเผาข้าวหลามพลังงานสีเขียวที่สามารถช่วยลดระยะเวลาในการเผาและลดการใช้ถ่านถึง 4 เท่า เป็นการช่วยเพิ่ม productivity ลดต้นทุนและลดมลพิษจากการเผา ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้จากการขายสินค้า ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น ในเส้นทางการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง
เผยแพร่ : นายธัชนนท์ บุญหล้า
กลุ่มสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#MHESI
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.